Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45183
Title: | Effects of arm swing walking incorporate with Buddhist meditation exercise program on endothelial dependent vasodilation and physical fitness in elderly with depression |
Other Titles: | ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเดินแกว่งแขนสมาธิตามวิธีพุทธต่อการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดและสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า |
Authors: | Susaree Prakhinkit |
Advisors: | Daroonwan Suksom Siriluck Suppapitiporn Tanaka, Hirofumi |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science |
Advisor's Email: | Daroonwan.S@Chula.ac.th No information provided No information provided |
Subjects: | Older people Hypertension in old age Depression in old age Exercise for older people Physical fitness ผู้สูงอายุ ความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุ ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ สมรรถภาพทางกาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This study was carried out to determine the effects of the novel Buddhism-based walking meditation (arm swing walking incorporating with Buddhist meditation; ASW) program on functional fitness, endothelium-dependent vasodilation and depression scores. A total of 40 participants with mild to moderate depressive symptoms were randomly allocated to the sedentary control (n=13), Traditional walking (TW; n=13), and ASW groups (n=14). Both exercise training programs were designed to yield the mild (20-39%HRR) to moderate (40-50%HRR) intensity, 3 times/ week for 12 weeks. The results showed that body mass, BMI, systolic and diastolic blood pressure decreased in both TW and ASW groups and a significant decrease in body fat percentage was observed only in the ASW group (p<0.05). Maximal oxygen consumption, muscle strength, flexibility, agility, and dynamic balance increased in both exercise groups (p<0.05). Moreover, significant reduction in plasma cholesterol, triglyceride, and C-reactive protein and flow-mediated dilation induction were found in both exercise groups (p<0.05); however, the improvement of endothelial-dependent vasodilation was greater in the ASW group more than traditional walking group. Also, interleukin-6 concentrations, depression score were decreased only in the ASW group. We concluded that both TW and ASW were effective in improving endothelial-dependent vasodilation and physical fitness. But the ASW program appears to confer greater improvements in vascular function and depression than the TW program. |
Other Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเดินแกว่งแขนสมาธิตามวิธีพุทธต่อการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดและสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 13 คน กลุ่มออกกำลังกายโดยการเดิน จำนวน 13 คน และกลุ่มออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขนสมาธิ จำนวน 14 คน โปรแกรมการออกกำลังกายกำหนดที่ระดับความหนักของการออกกำลังกายเท่ากับเล็กน้อย (20-39%HRR) ถึงปานกลาง (40-50%HRR) ความถี่การออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิต ลดลงทั้งในกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการเดินและกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขนสมาธิ แต่เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลงเฉพาะกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขนสมาธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถภาพทางกาย ได้แก่ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความอ่อนตัว, ความคล่องตัว และการทรงตัว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทั้งสองกลุ่มของการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบว่า ทั้งสองกลุ่มการออกกำลังกายมีระดับไขมันในกระแสเลือดและเอนไซม์ ซีรีแอคทีฟโปรตีนที่ลดลง และมีการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขนสมาธิมีการทำงานของหลอดเลือดที่ดีกว่ากลุ่มออกกำลังกายโดยการเดิน อีกทั้งยังลดระดับไซโตไคน์ อินเตอร์ลูคิน 6, คอร์ติซอลและ ภาวะซึมเศร้า สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยการเดินและการเดินแกว่งแขนสมาธิมีผลดีต่อการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด และสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า แต่ออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขนสมาธิมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือด และลดภาวะซึมเศร้าได้ดีกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการเดิน |
Description: | Thesis (Ph.D. )--Chulalongkorn University, 2012 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Sports Science |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45183 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.236 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.236 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
susaree_pr.pdf | 4.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.