Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45838
Title: การจับคู่งานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Other Titles: R&D PARTNERSHIP MATCH-MAKING BETWEEN UNIVERSITY - INDUSTRY IN THAILAND.
Authors: ธัญธร ตันสกุล
Advisors: ชัชวาล ใจซื่อกุล
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chatchaw.C@Chula.ac.th,plawan111@gmail.com
achandrachai@gmail.com
Subjects: โครงการวิจัยและพัฒนา -- ไทย
เว็บไซต์
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน -- ไทย
Research and development projects -- Thailand
Web sites
Public-private sector cooperation -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนานวัตกรรมมีความจำเป็นต้องพึ่งพาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม แต่ในประเทศไทยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมยังมีอยู่น้อย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่าง มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย และเพื่อพัฒนาส่งเสริมช่องทางการจับคู่ความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีการจับคู่ (Match-Making System) มาประยุกต์ใช้และนำเสนอผ่านทางเว็บไซต์เพื่อเสริมการเชื่อมโยง การจับคู่ด้านงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐเข้าด้วยกัน จากผลสำรวจแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ชุด 1) สำหรับอาจารย์/นักวิจัยในจุฬาฯ 2) สำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ พบว่าร้อยละ 67 ของอาจารย์/นักวิจัยเคยมีประสบการณ์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำงานวิจัยมากกว่า 2 แห่งขึ้นไป อันดับความร่วมมือที่มากที่สุดคือ กลุ่มการจัดการสิ่งแวดล้อม ปิโตรเคมี และเคมี ร้อยละ 39 เคยทำงานกับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลาง ร้อยละ 69 เป็นรูปแบบการเชื่อมโยงการทำงานในระดับอาจารย์/นักวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม สำหรับภาคอุตสาหกรรม สำหรับภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 60 เคยมีประสบการณ์ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอันดับความร่วมมือที่มากที่สุด คือ คณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 66 มีรูปแบบการเชื่อมโยงการทำงานในระดับอาจารย์/นักวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน สรุปผลจากแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมด้านความร่วมมือมากที่สุด คือ แรงจูงใจ แหล่งเงิน ในขณะเดียวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ การเข้าถึงข้อมูล และคณะวิจัยยังมีขั้นตอนในความซับซ้อน เงินทุนการวิจัยพัฒนาไม่เพียงพอ รวมถึงทั้งสองฝ่ายยังไม่เห็นความสำคัญของความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาเท่าที่ควร จากผลการวิจัยที่กล่าวมานี้นำไปสู่การสร้างเครื่องมือบริการจับคู่งานวิจัยผ่านเว็บไซต์ชื่อ Matchingseeds.com ผลการสำรวจการยอมรับเทคโนโลยีจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 15 คน พบว่า Matchingseeds มีอิทธิพลต่อกลุ่มตัวอย่างในด้านการรับรู้ถึงผลประโยชน์ต่อการใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27 หมายถึง ระดับความเชื่อที่ผู้ใช้คาดหวังต่อการใช้บริการนี้ว่ามีความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของระบบ จากการประมาณการทางการเงินโดยการขาย Licensing แบบ N0n-exclusive เป็นเวลา 3 ปี คิดเป็นมูลค่าเงิน 300,000 บาท และการเรียกเก็บค่าบริการรายเดือน เดือนละ 200 บาท พบว่าสามารถคืนทุนภายใน 1 ปี โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,382,000 บาท
Other Abstract: The development of innovation mostly requires the cooperation between university and industry. However, the cooperation between university and industry is limited, so this research had the objectives to explore key factors affecting the successful R&D partnership between University – Industry and to develop a web service by matching system technology in order to lead to a partnership for University & Industry in Thailand who want to co-create innovation. The surveys were conducted with researchers (n=15) from universities s and with stakholders (n=30) in R&D from industries. The result from researchers in University showed that 67% whave had R&D collaboration experience with industry more than once, and up to 39% used to work with a large or medium icompany. The linkage between researchers and industries was up to 69%, and the most of researcher’s faculty were science and engineering. Moreover, the result of industry survey showed that 60% had R&D collaboration experience with researchers in University. The linkage between industries and researchers was up to 66% In conculsion, the factors affecting successful R&D Partnership between University – Industry were motivation and funding. In contrast, the impeding factors were a complicated process to approach the data and insufficient research fund. The proposed R&D partnetship match-making web-service, matchingseeds.com, was designed and outlined in this study based on the requirements found from the surveys of both university and industry. The commercialized model based on the membership fees is also proposed. This web service will be part of the enhancing efforts to increase the cooperation between university and industry. The results of prototype acceptance from 15 samplings are impacted on perceived ease of use at 27% participants. Participants trust in this service that easy to use and also expect to use this service in the near future. For the financial plan is two business model are Licensing in non-exclusive at 300,000 THB and the price of membership subscription 200 THB per month. In summarize, this service will get the return of investment in the first year. The total return is expected to be 2,382,000 THB.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45838
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.629
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.629
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687126820.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.