Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46173
Title: แบบจำลองกำลังสูญเสียจากการไถลในเฟืองตรงและเฟืองเฉียงที่พิจารณารูปแบบของการกระจายภาระบนหน้าฟันเฟือง
Other Titles: SLIDING LOSS MODEL IN SPUR AND HELICAL GEAR WITH LOAD DISTRIBUTION PATTERN ON GEAR TOOTH SURFACE
Authors: ณัชชา พรชัย
Advisors: ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chanat.R@Chula.ac.th
Subjects: เฟือง
เครื่องจักรกล -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Gearing
Machinery -- Mathematical models
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบจำลองเพื่อประเมินกำลังสูญเสียของคู่เฟืองเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้สามารถประเมินได้ว่ากำลังสูญเสียของคู่เฟืองมีขนาดเท่าไร และพารามิเตอร์รูปร่างของเฟืองมีผลต่อกำลังสูญเสียอย่างไร อย่างไรก็ตามแบบจำลองเพื่อประเมินกำลังสูญเสียที่มีอยู่ยังไม่สามารถทำนายผลของพารามิเตอร์รูปร่างบางตัวได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากแบบจำลองเดิมมีสมมุติฐานให้มีการกระจายภาระบนเส้นสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง สำหรับวิทยานิพนธ์นี้จะรวบรวมผลการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายภาระบนหน้าฟันเฟืองตรง และเฟืองเฉียง และใช้ข้อมูลนี้ในการปรับปรุงแบบจำลองกำลังสูญเสียให้สามารถประเมินได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในวิทยานิพนธ์นี้ได้ปรับปรุงการแบ่งภาระของฟันเฟืองตรงในขณะที่ฟันขบกัน 2 คู่ เป็นอัตราส่วน 33:67 และ 45:55 ส่วนการกระจายภาระบนหน้าสัมผัสฟันเฟืองตรงเป็นการกระจายแบบสม่ำเสมอ ตามที่ได้มีการนำเสนอไว้ในงานวิจัยก่อนหน้า ในกรณีของเฟืองเฉียงจะใช้วิธีการกระจายภาระบนเส้นสัมผัสที่เสนอโดย Niemann-Richer ในการคำนวณ ภาพ contour ของการกระจายภาระบนหน้าฟันถูกตรวจสอบด้วยการทดสอบผิวสัมผัสจากการทาสีหน้าฟันเฟือง และผลการคำนวณโดยใช้แบบจำลองที่ปรับปรุงแล้ว จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินโดยแบบจำลองเดิม และผลการทดลองซึ่งทำโดยชุดทดลองเฟืองแบบ back-to-back รวมถึงเปรียบเทียบกับผลการทดลองของนักวิจัยอื่น ผลการทดสอบผิวสัมผัสพบว่า บริเวณของสีที่หลุดออกซึ่งแสดงถึงตำแหน่งที่มีแรงกระทำสูงมีความสอดคล้องกับบริเวณรับภาระมากในภาพ contour ของรูปแบบการกระจายภาระที่ใช้ในแบบประเมินใหม่ มากกว่าภาพ contour ที่สร้างขึ้นโดยใช้สมมุติฐานเดิม สำหรับผลการประเมินกำลังสูญเสียพบว่า แบบจำลองหลังปรับปรุงแล้วประเมินกำลังสูญเสียได้ต่ำลงกว่าแบบจำลองเดิม และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองทั้งที่ทำให้ห้องปฏิบัติการเองและผลที่ทำโดยนักวิจัยอื่นพบว่า แบบจำลองที่ปรับปรุงแล้วสามารถประเมินผลของพารามิเตอร์รูปร่างต่างๆ ได้แก่มุมกด มุมฮีลิกซ์ และความกว้างหน้าฟันได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่แบบจำลองเดิมจะประเมินได้ถูกต้องเพียงแค่ผลของมุมกด และความกว้างหน้าฟันเท่านั้น
Other Abstract: A gear power loss model is one of the important tools that makes the gear users able to assess the power loss of a gear pair, and know how gear geometrical parameters affect the power loss. Unfortunately present gear power loss model cannot assess the effect of some parameters correctly. This is because the former model has the assumption that the contact force is uniformly distributed along the contact line that does not conform to the actual distribution. In this work, the former researches relating to the force distribution patterns in spur and helical gear tooth surfaces are collected, and are used further to improve the accuracy of the gear sliding loss model. Here sliding loss model is improved concerning the load distribution pattern on gear tooth surface. For the spur gear case, the improvement is done by applying load sharing ratio, 33:67 and 45:55, to the model. On the other hand the assumption of uniform load distribution along the line of contact is probable regarding the reports of the former studies, and be used in this work. In the helical gear case, the load distribution pattern proposed by Niemann-Richer is used. The contour plots of load distribution on gear tooth surface are compared to the photos of contact patterns taken from experiments. The calculated results are compared with the results estimated from the former model, the experimental results and the experimental results reported by another researcher. From the tooth contact experiment, the area that paint is peeled off that corresponds to the high loading area conforms to the contour plot drawn from the improved power loss model more than that drawn from the former model. For the sliding loss, the results estimated from the improved model are slightly less than the former ones. The sliding losses from the improved model agree well with the experimental results. The improved model is able to estimate the effects of pressure angle, helix angle, and face width correctly, whereas the former model can do only in the case of pressure angle and face width.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46173
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.875
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.875
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670184221.pdf7.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.