Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46221
Title: แนวทางการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการกับการใช้งานของผู้พักอาศัยในอาคารชุดพักอาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส: กรณีศึกษา สถานีอ่อนนุช สถานีอารีย์ และสถานีกรุงธนบุรี
Other Titles: PROJECT DEVELOPMENT GUIDELINES FOR DEVELOPERS AND RESIDENTS LIVING IN CONDOMINIUMS CLOSE TO BTS SKY TRAIN STATION: CASE STUDIES OF ON NUT STATION, ARI STATION AND KRUNGTHONBURI STATION
Authors: วิริญจ์ วชิรปรัชญา
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com
Subjects: การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพ
รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพ
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพ
อาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพ
Housing development -- Thailand -- Bangkok
Electric railroads -- Thailand -- Bangkok
Land use, Urban -- Thailand -- Bangkok
Condominiums -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับโครงการอาคารชุดพักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคเสมอมา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และ 2) ศึกษาลักษณะสภาพเศรษฐกิจ สังคม การใช้งานและปัจจัยในการเลือกพักอาศัยในอาคารชุดพักอาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าของผู้พักอาศัย เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการได้อย่างเหมาะสมตอบสนองกับการอยู่อาศัยของผู้พักอาศัย โดยผู้วิจัยเลือกศึกษากลุ่มของอาคารชุดพักอาศัยในระยะ 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีอ่อนนุช อารีย์และกรุงธนบุรี ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 4 บริษัท และการสอบถามผู้พักอาศัย จำนวน 400 คน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้า เพราะรถไฟฟ้านั้นช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้ดี แต่เนื่องจากที่ดินที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าเริ่มหายาก และมีราคาสูง ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเลือกซื้อที่ดินระยะไกลออกไปหรือออกแบบห้องให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ และเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางมาทดแทน ส่วนผู้พักอาศัยทั้ง 3 สถานีเลือกพักอาศัยเพราะใกล้สถานีรถไฟฟ้า ในวันทำงานสถานีอารีย์ใช้รถยนต์กับรถไฟฟ้าเท่าๆกัน สถานีกรุงธนบุรีและอ่อนนุชใช้รถไฟฟ้ามากกว่าร้อยละ 63.3 และ 73.9 ตามลำดับ แต่จะใช้รถยนต์มากกว่าในวันหยุด เพราะต้องใช้เดินทางออกนอกเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่จอดรถที่มีใช้งานมากที่สุดทั้ง 3 สถานี นอกจากนี้สถานีอารีย์ที่มีราคาห้องชุดสูงกว่าอีกสองสถานีมีการใช้งานพื้นที่ส่วนกลางน้อย เช่น สระว่ายน้ำและฟิตเนสใช้งานนานนานครั้ง แต่ผู้พักอาศัยเห็นว่ามีความจำเป็นมากที่สุด บางพื้นที่ เช่น ซาวน่าและห้องสมุด ผู้พักอาศัยบางส่วนกลับไม่เคยใช้งานเลย ส่วนอีกสองสถานีถึงจะมีการใช้งานพื้นที่ส่วนกลางต่างๆมากกว่าสถานีอารีย์ แต่ก็อยู่ที่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ดังนั้นจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ที่ตั้งใกล้รถไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการและการเลือกพักอาศัยของผู้พักอาศัย ถึงอยู่ใกล้รถไฟฟ้าและใช้รถไฟฟ้าในวันทำงาน แต่วันหยุดมีการใช้รถยนต์มากกว่า การลดที่จอดรถจึงไม่ใช่สิ่งที่ตอบสนองกับผู้พักอาศัย อีกทั้งผู้ประกอบการได้มีการลดขนาดห้องและไปเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้นแทน โดยโครงการที่มีราคายิ่งสูงก็ยิ่งมีส่วนกลางมากขึ้นตาม เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานของผู้พักอาศัยแล้ว โครงการที่มีราคาสูงในสถานีอารีย์มีการใช้งานส่วนกลางน้อยกว่าสถานีอ่อนนุชและกรุงธนบุรี แต่ผู้พักอาศัยยังให้ความสำคัญที่จะต้องมีในโครงการอยู่ จึงควรมีการปรับเวลาการใช้งานให้สอดคล้องกับการใช้งานผู้พักอาศัย หรือลดพื้นที่ส่วนกลางที่ไม่จำเป็นลง เพื่อแก้ปัญหาค่าส่วนกลางที่สูงตามมา
Other Abstract: This study has been conducted due to the mass rapid transit system having continued to develop together with an increase in condominium projects along the mass rapid transit and good responses from consumers. The purposes of this study are: 1) to study the development guidelines from the developers of condominiums close to BTS sky train stations, and 2) to study the economic situation, social condition, usage of facility and factors in choosing to live in condominiums close to BTS sky train stations. This project aims to guide the developers to develop their projects appropriately in response to the needs of the residents. The researcher has chosen to study a group of condominiums within 500 meters from three of the following BTS sky train stations, including On nut station, Ari station and Krungthonburi station by interviewing a sample group, namely 4 developers and 400 residents. The study found that on the developers side, mass rapid transit can attract buyers to purchase the condominiums. However, the limitations and expensive price of land near the train station make the developers to purchase the land at some distance away or design the rooms to be in smaller size while being replaced with more facilities, so that the buyers will be able to purchase. On the residents’ side, they choose to live at these condominiums because they are close to the train station. During weekdays the results show that at Ari station the number of users of personal cars and BTS sky trains is equal while the percentages of use of BTS sky trains at Krungthonburi station and On-Nut station are higher at 63.3% and 73.9% respectively. However, the use of personal cars is higher during the weekend as they travel to somewhere off the rails which is consistent with the parking areas where they are mostly needed by the residents. Moreover, the study has also found that the price of condominiums close to Ari station are higher than the other two stations while the use of facilities shows a converse result. Residents in On-nut station and Krungthonburi station normally use the provided facilities at higher rates compared to those at Ari station. Swimming pools and fitness facilities are rarely used but residents still think that they are most needed. Some facilities such as saunas and libraries have never been used by some residents at Ari station while the facilities at the other two stations have been used 1-2 times per week which is still considered very little. Therefore, the study shows that the location of the condominium close to the BTS station is the main factor for developers to develop the project and residents to choose where to live. However, reducing the parking area does not respond to what residents actually need as they still use their personal cars more on the weekend. Reducing the size of the room and expanding the facility area also because the price is higher while the actual usage of these facilities by residents is very low in contrast. Therefore, developers should adjust these factors to correspond with the actual need of the residents by reducing the unnecessary facilities to help reduce the problem of high common fees.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46221
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1100
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1100
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673346125.pdf13.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.