Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46368
Title: | การจัดการความรู้ทักษะดนตรีไทย : กรณีศึกษาระนาดเอก |
Other Titles: | KNOWLEDGE MANAGEMENT OF THAI TRADITIIONAL MUSIC SKILLS : CASE STUDY OF RANAD-EK |
Authors: | วฤษาย์ เลิศศิริ |
Advisors: | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ พูนพิศ อมาตยกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pansak.P@Chula.ac.th,pansakp@gmail.com poon2201@hotmail.com |
Subjects: | การบริหารองค์ความรู้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ Knowledge management Online social networks |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้ทักษะดนตรีไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระนาดเอก เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายให้เป็นระบบ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในพัฒนาชุดการฝึกทักษะระนาดเอก เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ อาสาสมัครผู้ที่สนใจฝึกทักษะระนาดเอกจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 10 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีทักษะทางดนตรีไทยมาก่อนเลยและอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่มีทักษะดนตรีชนิดอื่นแต่ไม่เคยเรียนระนาดเอกมาก่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบสัมภาษณ์ 2. ชุดการฝึกทักษะระนาดเอก 3. แบบประเมินทักษะระนาดเอก 4. โปรแกรม WavePad SoundEditor ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. หลักการสำคัญในจัดการความรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ซ่อนเร้นให้กลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ 2. สภาพปัจจุบันของการเรียนการสอนดนตรีไทยคือยังคงเป็นการสอนแบบมุขปาฐะหรือสอนแบบตัวต่อตัวและมีการใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอดในระดับต่ำ สำหรับเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติทักษะระนาดเอก ประกอบด้วย 7 ทักษะ คือ 1. ท่านั่ง 2. การจับไม้ 3. การตีคู่ 8 4. การกรอ 5. การสะเดาะ 6. การสะบัด และ 7. การรัวลูกเดียว 3. ชุดการฝึกทักษะระนาดเอกขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยไฟล์เอกสารคู่มืออธิบายการฝึกระนาดเอกพร้อมโน้ตเพลงและคลิปวิดีโออธิบายวิธีการฝึกพร้อมแบบฝึกหัดในการฝึกระนาดเอกทั้ง 7 ทักษะ จำนวน 40 คลิป โดยสื่อดังกล่าวจะบรรจุอยู่ในเพจการสอนระนาดเอก และกลุ่มการฝึกระนาดเอกขั้นพื้นฐาน และใช้การประเมินผลการปฏิบัติทักษะด้วยการวิเคราะห์กราฟ Spectrogram 4. ผลการทดลองใช้ชุดการฝึกทักษะระนาดเอกพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีพัฒนาการทักษะการตีระนาดเอกเป็นลำดับขั้น และสามารถปฏิบัติทักษะระนาดเอกขั้นพื้นฐานได้ผ่านเกณฑ์ทุกคน โดยผู้ที่มีทักษะด้านดนตรีมาก่อนจะสามารถปฏิบัติทักษะระนาดเอกได้เร็วกว่า 5. ผลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพจการสอนระนาดเอก พบว่าผู้ที่เข้ามาใช้งานนั้นเป็นเพศชาย 69% และเพศหญิง 31% โดยช่วงอายุที่เข้ามามากที่สุดคือ ช่วงอายุ 25-34 ปี รองลงมาคือ 18-24 ปี และ 35-44 ปี ตามลำดับ และส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ามาใช้งานเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศกัมพูชา ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research aims to management the Thai traditional music skill knowledge especially Ranad-Ek to integrate knowledge and develop the module of skill practice of Ranad-Ek. Researcher has applied multimedia technologies in order to gathering and distributing the proficiency knowledge of Ranad-Ek. There are ten volunteers by divided into two groups. The first group is who doesn’t have Thai classical music skill before and another group is who have had other musical instrument skill but hasn’t learnt Ranad-Ek before. Research tools are 1. Questionnaire 2. The module practice skill of Ranad-Ek 3. Skill evaluation form 4. WavePad Sound Editor Program The results were as follows : 1. The principal of knowledge management is change concealing knowledge into explicit knowledge by using information technology to help more efficiency. 2. Most of Thai Traditional music studying has specific format is called “oral tradition”. It is about studying with observing and remembering so, acting on who is teacher. Also bring the technology in practicing Ranad-Ek in low level transferring. The suitable basic learning of Ranad-Ek skills to be composed that, should be proper hand techniques, proper sitting posture and proper muscle adjustments. Advises to those newly trainees are be discipline, patient, truly exercise and passionate. 3. The basic format for practice skill Ranad-Ek are explained in documents and videos. The media can be view on Facebook in the “Karn Sorn Ranad-Ek” page and “Kan Fuak Ranad-Ek Khan Phun Than” group. Here explain how to practice the 7 Ranad-Ek skills in 40 clips . And evaluation the skills by analyzing the Spectrogram. 4. Observation using the practice skill of Ranad-Ek has found the learners in 2 groups have improving Ranad-Ek skills. All learners are able to play the song for evaluation skill practice of "Ranad-Ek but the group who has had other musical instrument can practice and improve faster. 5. Demographics of the Ranad-Ek teaching are as follows : 69% of visitors to the page were male, 31% were female. The ages of most of the visitors were in the 25-34 year old range, followed by 18-24 and 35-44. Most page visits were from Thailand, the USA and Cambodia. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46368 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1202 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1202 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5087838420.pdf | 15.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.