Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46841
Title: เจตนาย่อมเล็งเห็นผล : วิเคราะห์รูปแบบ ทฤษฎี และการปรับใช้
Other Titles: Dolus eventualis : analysis of models, theories and application
Authors: สมชาย พฤกษ์ชัยกุล
Advisors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เจตนาย่อมเล็งเห็นผล
เจตนา (กฎหมาย)
เจตนาทางอาญา
ความรับผิดทางอาญา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในทุกระบบกฎหมายต่างก็ยอมรับว่า “เจตนา” เป็นองค์ประกอบภายในที่ใช้ในการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิด แต่ขอบเขตของเจตนาในเรื่องเจตนาประสงค์ต่อผล และเจตนาย่อมเล็งเห็นผลยังมีการอธิบายที่แตกต่างกันออกไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ แนวความคิดในการกำหนดขอบเขตของเจตนาซึ่งมีผลต่อขอบเขตความรับผิดทางอาญาที่กระทำโดย “เจตนา” กับ “ประมาท” สภาพและรูปแบบการเกิดขึ้นของเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ตลอดจนทฤษฎีที่นำมาใช้ในการอธิบายถึงหลักเกณฑ์ของเจตนาย่อมเล็งเห็นผลในแต่ละระบบกฎหมาย แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับระบบกฎหมายของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ารูปแบบของเจตนาย่อมเล็งเห็นผล จะเป็นกรณีที่ผลของการกระทำเบี่ยงเบนหรือหักเหออกไปจากเจตนาประสงค์ต่อผล โดยผลนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเจตนาย่อมเล็งเห็นผลจึงไม่อาจนำไปใช้กับความผิดที่มีได้เฉพาะเจตนาประสงค์ต่อผลเท่านั้น เช่น ความผิดที่ต้องอาศัยมูลเหตุชักจูงใจเป็นองค์ประกอบภายในของความผิด เป็นต้น โดยทฤษฎีที่จะนำมาใช้อธิบายถึงหลักเกณฑ์ของเจตนาย่อมเล็งเห็นผล มีทั้งทฤษฎีที่อธิบายในเชิงภาวะวิสัย และทฤษฎีที่อธิบายในเชิงอัตตวิสัย แต่ทฤษฎีที่จะนำมาใช้อธิบายถึงหลักเกณฑ์ของเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้อย่างเหมาะสมคือทฤษฎีอัตตวิสัยโดยพิจารณาจากการที่ผู้กระทำไม่สนใจใยดีต่อผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้น เพราะเป็นการสอดคล้องกับเนื้อหาของเจตนาที่เป็นเรื่องภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด ในส่วนคำพิพากษาศาลฎีกา ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดขอบเขตของเจตนา การศึกษาถึงรูปแบบของเจตนาย่อมเล็งเห็นผล ตลอดจนทฤษฎีที่นำมาใช้ในการอธิบายถึงหลักเกณฑ์ขอเจตนาย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้อิงแนวความคิดหรือทฤษฎีที่มีอยู่ จึงควรนำทฤษฎีความไม่สนใจใยดีต่อผลมาใช้อธิบายหลักเกณฑ์เจตนาย่อมเล็งเห็นผลที่ปรากฏอยู่ในประเภทกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
Other Abstract: Every legal system does recognize that “an intention” is mental element in crime. But a territory of an intention in respect of direct intention and “dolus eventualis” differs in explanation. It is the aim of this thesis to study on the intention-determiantion which effects on the territory of criminal liability in respect of intention and negligence, essence and form of “dolus eventualis” and also the theory to describe the principle of “dolus eventualis” in every legal system. And the legal system analysis is made to compare with Thai Legal System. It is found that the form of “dolus eventualis” is the consequence of the commission which deviates from direct intention (desire), and that consequence is possible to occur. So “dolus eventualis” can’t be used with direct intention offence, such as the offence that requires motivation as mental element. There are subjective theory and objective theory to describe the principle of “dolus eventualis”, but the subjective theory that recognize the consequence-ignorance of the offender is applicable because it is relevant to mental state of the offender. In supreme court judgment, the territory of intention, the form of “dolus eventualis” and also the theory to describe the principle of “dolus eventualis” are not complied by existing concept or theory, so the subjective theory that recognize the cousequence-ignorance is to describe “dolus eventualis” which is in section 59 para 2 of Penal Code.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46841
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_pru_front.pdf7.67 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_ch1.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_ch2.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_ch3.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_ch4.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_ch5.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pru_back.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.