Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46892
Title: พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับแนวพระราชดำริ ทางด้านพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการดำเนินการปกครองประเทศ
Other Titles: King Rama VI's thoughts on buddhism and their impact on his governing process
Authors: สุรีย์ ทรัพย์สุนทร
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
ณรงค์ พ่วงพิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468
พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงแนวพระราชดำริทางด้านพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำมาใช้ในการดำเนินการปกครองประเทศตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สิ่งที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาคือ พระราชประวัติส่วนพระองค์ พระราชประวัติการศึกษา ทั้งในช่วงก่อนและหลังการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร และพื้นฐานแนวพระราชดำริทางด้านพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในช่วงก่อนและหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรินำพระพุทธศาสนามา ใช้เป็นกุศโลบายสร้างความยอมรับและสร้างความชอบธรรมให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบราชาธิปไตยพร้อมทั้งได้ใช้สนุนพระบรมราโรมายในกิจการต่าง ๆ ของพระองค์ นอกจากนั้นพระพุทธศาสนายังได้ รับการนำมาเน้นในเรื่องหลักคุณธรรมของประชาชนให้ทุกคนตระหนักสิ่งหน้าที่ของตนเอง เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม ในขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภก และพุทธมามกะอันเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั้งปวงอีกด้วย นอกจากนี้พบว่าการนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินการปกครองประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ หนังสือพิมพ์ และประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอด แนวพระราชดำริทางด้านพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสู่ประชาชน ทำให้เกิดผลดีต่อการดำเนินการปกครองประเทศของพระองค์ ผู้วิจัยทำการวิจัยนิพนธ์นี้ไม่ได้มุ่งสรุปว่า พระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดผลดีในการดำเนินการปกครองประเทศ แต่พระพุทธศาสนาได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การดำเนินการปกครองประเทศในราชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสงบเรียบร้อยและราบรื่นขึ้น
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study King Rama VI’s ideas about Buddhism which he used as a factor to rule the country during his 15 year reign. His autobiography, educational background-before and during the time that he assumed the position of a royal heir to the throneattd his basic ideas about Buddhism, before and during his reign have been also taken into consideration,. The results of the study show that King Rama VI used Buddhism as a tool to create acceptability and righteousness of kingship and absolute monarchy and to support, his activities. Besides, Buddhism had been used to stress his people’s morality realizing what their duties were in order to provide peacefulness to society. And at the saran time, he acted as a patron of Buddhism and a good Buddhist as an example for his people. It is also found that his ideas about using Buddhism to rule the country were supported by the priesthood, the press and his people. The priesthood played an important role in transmitting his ideas to the people and this had good effects on his ruling the country. The researcher does not intend to conclude that Buddhism was the major factor that helped him rule the country smoothly but it was one of the factors that helped him rule the country more peacefully and smoothly.
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46892
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree_th_front.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Suree_th_ch1.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
Suree_th_ch2.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Suree_th_ch3.pdf7.07 MBAdobe PDFView/Open
Suree_th_ch4.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Suree_th_back.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.