Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46925
Title: การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการจัดเก็บผลประโยชน์จากโรงงานสุรา : วิธีเก็บจากบริษัทกลางกับวิธีเก็บจากเขตจำหน่ายแต่ละเขต
Other Titles: A comparative study on income collection methods of distilleries : integrated method vs; collecting from distribution zones
Authors: สุรีรัตน์ บรรจงอักษร
Advisors: คณิต ศิริธนาภิวัฒน์
วัฒนพร พึ่งบุญ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สุรา -- แง่เศรษฐกิจ
สุรา -- การตลาด
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงรายได้ที่รัฐได้รับจากการจัดเก็บผลประโยชน์จากโรงงานสุรา โดยวิธีการเก็บจากเขตจำหน่ายแต่ละเขตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกับวิธีเก็บจากบริษัทกลางว่าวิธีใดรัฐจะได้รายได้มากกว่ากัน ในระหว่างปี พ.ศ. 2522 กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดประมูลเช่าโรงงานสุราบางยี่ขัน เพื่อได้สิทธิในการผลิต-จำหน่ายสุราปรุงพิเศษแม่โขง-กวางทองทั่วประเทศ และสุราขาว-ผสม มีเขตจำหน่าย 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ การประมูลในครั้งนี้มีผู้แข่งขันที่ที่สำคัญเพียง 2 รายคือ บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด (ผู้เช่าเดิม) และบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด ผลการประมูลปรากฏว่า บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด ชนะการประมูลโดยเสนอค่าสิทธิสูงสุด ร้อยละ 45.67 ของราคาจำหน่ายปลีก หักด้วยค่าภาษีสุรา มีอายุสัญญา 15 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2523 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2537 แต่เมื่อมีการประมูลสิทธิในการผลิตสุราภูธรของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ในระหว่างปี พ.ศ. 2523-2524 เพื่อได้สิทธิในการทำ – ขายส่ง สุราขาว – ผสม ของโรงงานสุรากรมสรรพสามิต ซึ่งได้แก่โรงงานดังต่อไปนี้ โรงงานสุราจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สัญญา 10 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2523 สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2532 โรงงานสุราจังหวัดชลบุรี สัญญา 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2524 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2527 ผลการประมูลปรากฏว่า บริษัทสุราทิพย์ ฯ จำกัด (บริษัทมหาคุณเดิม) เป็นผู้ประมูลได้ โดยสามารถจำหน่ายสุราขาว-ผสมในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด และฉะเชิงเทรา (จังหวัดชัยนาทและอุทัยธานี โอนกิจการให้บริษัทสุราทิพย์ฯ จำกัด ในปี 2527) บริษัทสุราทิพย์ฯ จำกัดนี้ นอกจากจะผลิดุราขาว – ผสม ภายใต้เครื่องหมายการค้าต่างๆแล้ว ยังผลิตสุราผสมพิเศษ หงส์ทอง จำหน่ายในพื้นที่ 12 จังหวัดดังกล่าวด้วย โดยที่สุราผลิตพิเศษหงส์ทองของบริษัทสุราทิพย์ฯ จำกัด มีสี กลิ่น รสชาติ คล้ายคลึงสุราปรุงพิเศษแม่โขงของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัดมาก แต่เสียภาษีสุราและผลประโยชน์ให้แก่รัฐต่ำกว่าสุราปรุงพิเศษแม่โขง ทำให้สามารถจำหน่ายในราคาถูกกว่า กล่าวคือสุราผสมพิเศษหงส์ทองจำหน่ายปลีกขวดละ 38 บาท ขนาดบรรจุ 750 ซี.ซี. สุราปรุงพิเศษแม่โขงจำหน่ายปลีกขวดละ 52 บาท ขนาดบรรจุเท่ากัน จึงเกิดการบริโภคสุราทดแทนกันขึ้นภายในเขตที่มีการจำหน่ายสุราผสมพิเศษหงส์ทอง ความต้องการบริโภคสุราที่มีคุณภาพทดแทนกันในราคาถูกกว่าได้ขยายเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณการจำหน่ายสุราปรุงพิเศษแม่โขงลดต่ำลง ตรงกันข้ามปริมาณการจำหน่ายสุราผสมพิเศษหงส์ทองกลับเพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในระหว่างปี 2526 กรมสรรพสามิตได้เสนอให้ยุบโรงงาน 32 โรงงาน (โรงงานสุรา 31 โรงงานประมูลในปี 2518 และโรงงานสุราจังหวัดชลบุรีประมูลในปี 2524) ซึ่งสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2527 เพื่อก่อสร้างโรงงานสุราใหม่ 12 โรงงาน โดยวิธีประมูลค่าผลประโยชน์เป็นรายปี ผลการประมูลปรากฏว่า บริษัทสุราทิพย์ฯ จำกัด เป็นผู้ประมูลได้สามารถขยายเขตจำหน่ายสุราขาว – ผสม และสุราผสมพิเศษหงส์ทองหรือชื่ออื่นๆที่ใกล้เคียงกันเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น 69 จังหวัด มีอายุสัญญา 15 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 การแข่งขันการจำน่ายสุราปรุงพิเศษแม่โขง-กวางทอง และสุราผสมพิเศษหงส์ทองได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงการค้าและการเมือง ต่างฝ่ายต่างใช้อิทธิพลทางการเมืองกับหน่วยงานของรัฐทั้งสองแห่ง ดังนั้นในช่วงแรกของปีพ.ศ. 2527 จึงได้เกิดข้อเสนอแนวความ
Other Abstract: Ayutthaya Province Distillery Plant, ten years contract, effective 1st January 1980 to 31st December 1989. Chonburi Province Distillery Plant, four years contract, commen¬cing 1st January 1981 to 31st December 1984. The Sura Thip Co. won the bids, gaining the royalty to distribute in 12 provinces i.e. Kamphaengphet, Ayutthaya, Ang Thong, Sing Buri, Lopburi, Saraburi, Nakorn Ratchasima, Chonburi, Chanthaburi, Rayong, Trad and Chachoengsao (Chinat and uthai Thani's businesses were transfered to The Surathip Co. in 1984). The Surathip Co. also manufac¬tures/distributes Hong Thong Whisky in 12 provinces besides distilling native whisky under various brands. The Hong Thong, with similar color, odor and taste to those of Mekhong (same distiller) pays a lower spirit tax which enable them to sell at lower price than Mekhong i.e. market price of Hong Thong is 38 baht per 750 cc bottle while that of mekhong is 52 baht with this tremendous difference in prices, naturally, consumers turn to Hong Thong for substitution where they are available. This events spreads rapidly around the country which results in a great decrease in Mekhong sale and a sharp rise of Hong Thong. Later, in 1983, The Excise Department had an idea to dissolve the 32 distillery plants in town (31 distillery plants were bid in 1975 and Chonburi Province Distillery Plant in 1981) which expired in 1984. The purpose of dissolvation is to build 12 new plants for bids. Again, The Sura Thip Co won the bids which enabled it to expand the distribu¬ting area to 69 provinces, contract for 15 years effective 1985- 1999. The competition between Mekhong and Hong Thong whiskies has been extensively aggressive both in trade strategy and politics. Each rival sought political supports from the government sectors concerned. To end the dispute, it was suggested in early 1984 to amalgamate the two opponents' and set up a third company to handle marketing nation wide. In this connection, the sura Thip Co. had recommended the Minister of Industry that each company will be a 45% shareholder, leaving the rest 10% to the government. It is suggested that this method will be the best solution to end the price war and the government will benefit a higher taxation than the existing concession method. The studies which based on the distributing targets of each company but the figures must not be less than the quota allocated by the government (regardless of the actual consumption of all consumers of the country in 1985-1989), showed that the government will benefit a higher revenue from the two companies' concession than the suggested setting up a third company. The research also displayed that the actual consumption of the three brands whisky is much lower than the distilling and distribution of the two companies in the market. The dramatic estimated figures by the two companies are far too high and unrealistic. As a result, the government might have to lower the taxes and royalty fees to meet the -reality. The analysis showed that in setting up a third company by taking into account the actual consumption of the whisky rather than the dramatic estimated figures of the two companies, the government will benefit less revenue than the current concession method. This theorically falls in line with the hypothesis. Though it is the best policy for the government to administer the whisky distribution under the current concession Zones in order to obtain the highest revenue to enhance the financial situation of the government; the government must still pay attention to the growth of whisky market. And one can see that the setting up of the third company will lead to monopolize the market and eventually dictates any price at its will. Therefore, a free competition plicy within each company*ร selling zones is a good sign to start up a free market in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46925
ISBN: 9745644919
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surirat_ba_front.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch1.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch2.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch3.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch4.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch5.pdf14.6 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_ch6.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open
Surirat_ba_back.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.