Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46959
Title: การศึกษาการวางแผนและการสรรหาบุคลากรของธุรกิจขนาดใหญ่ 200 อันดับแรกของประเทศไทย
Other Titles: A study on manpower planning and recruitment of top 200 companies in Thailand
Authors: สมศรี ศิริไหวประพันธ์
Advisors: พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pakpachong.V@Chula.ac.th
Subjects: การวางแผนกำลังคน -- ไทย
การสรรหาบุคลากร -- ไทย
การบริหารงานบุคคล -- ไทย
บริษัท -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการจัดการเกี่ยวกับการวางแผนและการสรรหาบุคลากรของธุรกิจขนาดใหญ่ 200 อันดับแรกของประเทศไทย เพื่อให้ทราบว่าธุรกิจขนาดใหญ่ดังกล่าวได้มีการวางแผนกำลังคนหรือไม่ วิธีการวางแผนกำลังคน การสรรหาบุคลากร ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์หน่วยงานบุคคลของธุรกิจขนาดใหญ่ 200 อันดับแรกของประเทศไทยที่ได้รับการสุ่มเป็นตัวอย่างทั้งหมด 76 กิจการ ซึ่งรายชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ 200 อันดับแรกนี้ถือตามการจัดอันดับของคณะพาณิชย์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบโดยโปรแกรมสำเร็จรูปโลตัส แล้วจึงวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต การทดสอบทางสถิติ Z – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลของการศึกษาพบว่า ร้อยละ 57.9 ของธุรกิจขนาดใหญ่ 200 อันดับแรกของประเทศไทยยังขาดการวางแผนกำลังคนที่มีหลักเกณฑ์ สำหรับกิจการที่มีการวางแผนกำลังคนจะทำการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวประกอบกัน คิดเป็นร้อยละ 62.9 ซึ่งแผนระยะสั้นจะมีกำหนดเวลาน้อยกว่า 1 ปี และแผนระยะยาวมีกำหนดเวลา 3 ถึง 5 ปี กิจการส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 88.7 สามารถปฏิบัติตามแผนกำลังคนที่วางไว้ได้ถึง 50 ถึง 75 ของแผนกำลังคน ส่วนใหญ่ของกิจการที่มีการวางแผนกำลังคน จะประสบปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบแผนงานต่าง ๆ ปฏิบัติไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควร เนื่องจากนักวางแผนและผู้บริหารระดับสูงบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความเอาใจใส่ในการวางแผนกำลังคน และขาดเทคนิคในการใช้กำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกำลังคนอย่างจริงจัง แหล่งกำลังคนที่สำคัญ คือ แหล่งกำลังคนจากภายในและภายนอกกิจการ เนื่องจากกำลังคนที่สรรหาได้จากภายในและภายนอกกิจการให้ผลไม่แตกต่างกัน ปัญหาที่สำคัญในการสรรหาคือ การขาดเครื่องมือที่ดีในการค้นหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ว่างมากที่สุด รองลงมาคือไม่มีการเตรียมการสรรหาล่วงหน้า และไม่มีนโยบายการสรรหาแน่นอน เป็นที่น่าสังเกตว่ากิจการที่มีการวางแผนกำลังคนมีโอกาสในการสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งในทุกระดับที่ต้องจากแหล่ง กำลังคนภายในมากกว่ากิจการที่ไม่มีการวางแผนกำลังคน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการวางแผนกำลังคนและการสรรหาบุคลากร อาจแก้ไขโดยการสร้างและส่งเสริมให้ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงเกิดความสนใจ มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวางแผนกำลังคนให้มากขึ้น กิจการควรมีเป้าหมาย นโยบาย โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานที่ชัดเจน ส่วนประสิทธิภาพจากการสรรหาบุคลากรจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากการวางแผนกำลังคนอย่างรอบคอบรัดกุม สอดคล้องกับสภาพของกิจการและควรวางแผนการสรรหาบุคลากรล่วงหน้าด้วยโดยอาศัยความช่วยเหลือของหน่วยงานบุคคลเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ในกิจการ เป็นศูนย์ประสานงานการสรรหาบุคลากรระหว่างหน่วยงายภายในกิจการ และระหว่างตลาดแรงงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของกิจการ รวมทั้งเป็นศูนย์พัฒนาความรู้ เทคนิคในการสรรหาบุคลากร ตลอดจนเครื่องมือในการสรรหาบุคลากรที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่ากิจการจะมีการวางแผนกำลังคนและการสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเพียงใด ระบบการทดลองงานเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสรรหาทั้งแหล่งภายในและภายนอกกิจการ การวางแผนกำลังคนและการสรรหาบุคลากรมีความสำคัญที่จะทำให้กิจการสามารถสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมได้ในเวลาที่ต้องการ การที่กิจการจะวางแผน สรรหาและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้คงอยู่ในองค์การได้ตลอดไปนั้น ต้องอาศัยกระบวนการบริหารงานบุคคลทั้งกระบวนการที่ไม่ใช่ขั้นตอนเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น เช่น การอบรม พัฒนา พนักงานและผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะเลื่อนตำแหน่งไปรับงานในระดับที่สูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้กิจการสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This thesis is a study on manpower planning and recruiting of top 200 companies in Thailand. The purpose of this study is to examine whether large companies have manpower planning, the manpower planning and the recruitment process, and the problems encountered in doing these functions. Data collection was based on questionnaires and interviews of personnel officers of 76 companies. The sample was randomly selected from the listing of the top 200 companies in Thailand compiled by Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University and Chulalongkorn University Social Research Institute (CUSRI). The information has been systematized by Lotus software package, then those data have been analyzed by using percentage, arithmetic mean, Z-test and analysis of varience. The results of this study indicate that fifty-seven point nine percent of the subjects lack formal manpower planning. Sixty-two point nine percent of the companies that have manpower planning has both short-range and laong-range plan. The short-range plan is for a period less than one year, while the long-range one is for a period of three to five years. Eighty-eight point seven percent of the companies that have manpower planning achieved fifty percent to seventy-five percent of their plan. Most businesses having manpower planning have problems concerning lack of cooperation from other departments because the planners and some of the top executives lack understanding and responsibility in manpower planning and lack technique in utilizing manpower efficiently. Furthermore, lack of follow-up and assessment of manpower planning are also the problems. The sources of manpower are both internal and external since the performance of either internal or external source is not different. The most important problem in recruitment is lack of tools in screening the most qualified person. The second problem is lack of good preparation in recruitment and lack of definite recruitment policy. It is also notable that the companies with manpower planning have better opportunity to recruit from internal source than the companies without manpower planning. The problems in manpower planning and recruitment can be solved by promoting and stimulation interest of executives of every department as well as top executives to be interested in and to acquire more knowledge in order to have a better understanding in manpower planning procedure. The companies should also have clear and concise goal, policy, organization structure and management process. The efficiency in recruitment is the consequence of the deliberating of manpower plan which must correspond with the status of the firm. The manpower recruitment should be planned in advance with the service of personnel department as center in collecting all information about manpower of every department within a firm. Personnel department is also a center in coordinating personnel recruitment of each department, and between labour markets and different department within a firm. Besides, it is a center that develops knowledge and furnishes techniques in screening personnel efficiently. Probation period is proved to be the essential tool to correct any deficiency of recruitment both from outside and within a firm, although the firm has efficient manpower planning and recruiting. Manpower planning and recruitment are crucial in enabling a firm to recruit qualified personnel in time of need. However, the whole system of personnel management is essential in helping a firm to plan, recruit and retain competent personnel. For example, the training and developing of both employees and managers in every level to prepare them to a higher position will make their business a success.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46959
ISBN: 9745676713
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_si_front.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_si_ch1.pdf15.66 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_si_ch2.pdf8.06 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_si_ch3.pdf10.73 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_si_ch4.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_si_back.pdf8.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.