Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47679
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวข่มขืนกระทำชำเรา
Other Titles: A content analysis of rape news
Authors: สุวรรณี กัลยาณสันต์
Advisors: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Subjects: ข่าวสาร
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาที่สื่อมวลชนให้ในการรายงานข่าวข่มขืนกระทำชำเรา และศึกษาการสร้างความหมายและความเป็นจริงทางสังคมของสื่อมวลชนที่มีต่อผู้ชาย (ผู้ข่มขืน) ผู้หญิง (ผู้ถูกข่มขืน) และเหตุการณ์ข่มขืนกระทำชำเรา รวมทั้งศึกษาวิธีการนำเสนอข่าวข่มขืนกระทำชำเราของสื่อมวลชนว่ามีลักษณะตอกย้ำ หรือถ่ายทอดคติทางเพศ ในสังคมที่ชายเป็นใหญ่หรือไม่อย่างไร ผลการวิจัยพบว่า สื่อมวลชนนำเสนอข่าวข่มขืนกระทำชำเราในรูปแบบของข่าวเรื่องที่มีลักษณะเป็นนาฏกรรมซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ โดยมีโครงเรื่อง มีการกำหนดฉาก ตัวละคร แบบวิธีการเขียนและน้ำเสียง และมีการเดินเรื่องไปตามโครงเรื่องที่วางไว้ ดังนั้นจึงทำให้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเรื่องที่สะเทือนขวัญ และสะเทือนอารมณ์ และเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลระหว่างหญิงและชาย ที่เป็นคู่กรณีซึ่งเป็นปัญหาในระดับบุคคล มิใช่ปัญหาของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เท่าเทียมกัน และมิใช่เป็นเรื่องของปัญหาสังคมที่สำคัญและต้องรีบได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด สำหรับการสร้างความหมาย และความเป็นจริงทางสังคม สื่อมวลชนได้ทำให้เห็นว่าผู้ข่มขืนคือผู้ชายที่โหดเหี้ยมและทารุณ เป็นคนเลวและเป็นคนที่มีความผิดปกติทางเพศ ส่วนผู้ถูกข่มขืนคือหญิงพรหมจารี ซึ่งแนวคิดนี้เกิดมาจากอุดมการณ์หลักของสังคมที่ให้ผู้ชายเป็นใหญ่ และผู้ถูกข่มขืน ยังถูกสร้างให้เป็นเพียงแค่ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ข่มขืนกระทำชำเราที่เกิดขึ้น ส่วนสาเหตุของการข่มขืนกระทำชำเรานั้น สื่อมวลชนได้สร้างให้เห็นว่าการข่มขืนกระทำชำเราคือเรื่องของเพศ ไม่ว่าจะเป็นความวิปริตทางเพศของผู้ข่มขืน หรือเป็นเพราะผู้หญิงเป็นฝ่าย "หาเรื่องไปยั่วยวนให้ผู้ข่มขืนเกิดอารมณ์ทางเพศ นอกจากนี้ ยังได้สร้างให้เห็นว่า การข่มขืนกระทำชำเราเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่มืดหรือที่เปลี่ยวซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดขอบเขตให้อยู่ภายในบ้านในฐานะดั้งเดิมของผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นแม่หรือเมีย และนั่นเท่ากับสื่อมวลชนได้ตอกย้ำ และถ่ายทอดเพื่อสนับสนุนให้อุดมการณ์ที่ชายเป็นใหญ่ยังคงเข้มแข็ง และอยู่สืบทอดต่อไป
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to study the form and substance of the rape news, 2) to study the signification and social construction of reality towards the men (rapists) the women (rape victims) and the rape phenomenon and 3) to study whether the media state any sexual prejudice in patriarchal society. The analysis shows that rape news is presented in the form of drama having a plot , scenes, characters, style, tone and movement of the story. This kind of presentation technique has made the rape phenomenon be like a frightened or emotional story and like an individual problem between the rapists and the rape victims. The media doesn't submit the unequal relationship beteen men and women is the cause of the rape, a social problem needed to be solved urgently. The media constructs the rapists are cruel and evil men having an abnormal sexual behavior and the rape victims are the virginhood and the unfortunate ones. The analysis finds that the rape phenomenon in the media is the sexual problem. The media constructs either the eccentric behavior of the rapists or the tempting rape victims is the motive of that phenomenon. In addition, the media constructs an atmosphere of darkness and isolation is the location of the rape. This controls women to be restricted in the domestic sphere as mother or wife. Thus, we can say the media is an medium to strengthen the patriarchal ideology.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47679
ISBN: 9745827088
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee_ka_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch1.pdf802.62 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch4.pdf806.8 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch5.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch6.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch7.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_ch8.pdf731.21 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_ka_back.pdf11.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.