Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47812
Title: สถานภาพและบทบาทของแม่ชีในสังคมไทย : ศึกษากรณีวัดสร้อยทอง
Other Titles: Status and role of nun in Thai society : The case of Wat Soithong
Authors: สุขใจ พุทธวิเศษ
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amara.P@chula.ac.th
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาถึงสถานภาพและบทบาทของแม่ชีในสังคมไทย เนื่องจากในปัจจุบันแม่ชีเป็นกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนไม่น้อยเลยและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสังคมไทยเราด้วย แต่จากสภาพความเป็นจริงแล้วแม่ชีกลับกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่แทบจะกล่าวได้ว่าถูกสังคมลืม หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นด้านเอกชนหรือรัฐบาลไม่ได้ให้การเอาใจใส่ช่วยเหลือสนับสนุนทั้งทางด้านความเป็นอยู่ หรือการดำเนินกิจกรมต่างๆ เท่าที่ควร ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสถานภาพและบทบาทของแม่ชีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นสำคัญ จากสาเหตุนี้เองทำให้แม่ชีบางกลุ่มจำต้องร่วมมือกันในการที่จะปรับปรุงสถานภาพและบทบาทของตน ดังเช่นการจัดตั้งสถาบันแม่ชีไทยขึ้นก็เพื่อจะได้เป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันจัดกิจกรรมต่างๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อศาสนาและสังคมส่วนรวม ตลอดจนร่วมกันจัดวางระเบียบกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติต่างๆ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่แม่ชีทั่วๆ ไปจะได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติและง่ายต่อการควบคุมดูแลและทำการปกครอง ซึ่งการปรับปรุงสถานภาพและบทบาทของแม่ชีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้ตนเป็นที่ยอมรับจากประชาชนและหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล แต่การที่แม่ชีจะดำเนินกิจกรรมอะไรก็ตามย่อมต้องอาศัยการยอมรับจากฝ่ายแม่ชีกันเองและประชาชนด้วย จึงจะทำให้ได้รับความร่วมมืออันจะนำมาซึ่งความสำเร็จ โดยในที่นี้จะทำการศึกษาดึงทัศนคติของแม่ชีสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดสร้อยทอง และประชาชนในละแวกนั้นว่าต่างมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสถานภาพและบทบาทของแม่ชีทั่วๆ ไป เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่แม่ชีหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้นำไปพิจาณาปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป ในการศึกษาเรื่องสถานภาพและบทบาทของแม่ชีในสังคมไทยนี้ จะทำการศึกษาโดยแบ่งออกเป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารต่างๆ เช่น วารสาร งานวิจัย ตลอดจนบทความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแม่ชีเป็นต้น ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาสถานภาพและบทบาทของสตรีในทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนกระทั้งสมัยปัจจุบัน ว่าในแต่ละสมัยสังคมให้การยอมรับนับถือหรือส่งเสริมสนับสนุนให้แม่ชีเข้ามามีบทบาทในด้านศาสนามากน้อยเพียงไร แม่ชีมีต้นกำเนิดเป็นมาอย่างไร สังคมไทยให้การยอมรับนับถือแม่ชีมากน้อยเพียงไร ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดในเรื่องสถานภาพและบทบาทของแม่ชี รวมทั้งองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการกำหนดสถานภาพและบทบาทของแม่ชีในสังคมไทย 2) การศึกษาภาคสนาม จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบถึงทัศนคติของแม่ชีและประชาชนที่มีต่อสถานภาพและบทบาทของแม่ชีส่วนหนึ่ง โดยในที่นี้จะทำการสำรวจทัศนะของแม่ชีที่สำนักวิปัสนากรรมฐาน วัดสร้อยทอง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 47 ท่าน และประชาชนในละแวกใกล้เคียงกับวัดอีก 82 คน ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์และการส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ด้วย การศึกษาภาคสนามอีกส่วนหนึ่งคือการเข้าไปสังเกตการณ์ สัมภาษณ์ในเรื่องบทบาทหรือกิจกรรมของแม่ชีที่ศูนย์สภากาชาดไทย เข้าล้าน จังหวัดตราด ในส่วนนี้จะทำการสัมภาษณ์แม่ชีและเจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานด้วยถึงการปฏิบัติงานของแม่ชีที่ศูนย์แห่งนี้ว่าแม่ชีมีบทบาทมากน้อยเพียงไร ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแม่ชีอย่างไรบ้าง สมควรจะได้แก้ไขหรือปรับปรุงบทบาทดังกล่าวหรือไม่อย่างไร จากผลการศึกษาวิจัยพอจะสรุปได้ว่า ยังหาหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแม่ชีไม่ได้ แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าแม่ชีนี้คือกลุ่มสตรีที่ความฝักใฝ่ในศาสนา แต่เมื่อภิกษุณีได้สิ้นสูญไปแล้วสตรีเหล่านี้จึงจะหาทางที่จะเข้ามาใกล้ชิดศาสนาโดยแปรรูปมาเป็นแม่ชี้ที่ถือศีล 8 ซึ่งโดยทั่วๆ ไปสังคมก็มองว่าเป็นนักบวชฝ่ายหญิงเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ที่เป็นนักบวชฝ่ายชายแต่ให้การเคารพยกย่องนับถือน้อยกว่าพระภิกษุสงฆ์ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสถานภาพและบทบาทของแม่ชีเองเป็นสำคัญ คือ ประชาชนยังมองว่าแม่ชีมิได้เป็นผู้นำทางศาสนาดังเช่นพระสงฆ์ การทำประโยชน์ต่อศาสนาต่อสังคมก็ยังมีน้อยมาก บางครั้งแม่ชีเองก็ทำตัวไม่น่าเสื่อมใสศรัทธา ซึ่งในเรื่องนี้ทางฝ่ายแม่ชีเองก็ได้พยายามหาทางแก้ไขปรับปรุงสถานภาพและบทบาทของตนตลอดมา โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะสังคมในชนบท ดังเช่น โครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน โครงการพัฒนาชนบทหรือโครงการศูนย์เขมรอพยพเป็นต้น แต่ขณะนี้ยังขาดความร่วมมือและการช่วยเหลือสนับสนุนจากทั้งฝ่ายแม่ชีเอง ฝ่ายประชาชน ฝ่ายรัฐบาล และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่แม่ชีจะได้ปะชาสัมพันธ์ถึงผลงานและกิจกรรมของตนให้ประชาชนทั่วๆ ไปได้ทราบ ต้องปรับปรุงตนเองทั้งในด้านการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาตนเองเสียก่อนเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานที่จะนำไปช่วยพัฒนาสังคมต่อไป ประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรม ทำตนให้เป็นทีน่าเสื่อมใส ทำตนให้เป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาสังคม มิใช่บวชก็เพื่อเอาตัวรอดแต่ผู้เดียวเท่านั้น ปัจจุบันสถาบันแม่ชีไทยจึงเป็นองค์กรเดียวของแม่ชีที่พอจะขอความร่วมมือจากแม่ชีในการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ควรจะได้ริเริ่มโครงการที่จะช่วยพัฒนาสังคมของตนเอง โดยอาจจัดตั้งเป็นองค์กรเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนา โดยมิต้องรอให้หน่วยงานอื่นขอความร่วมมือ หรือถ้าหากยังไม่อาจจัดตั้งองค์กรเองได้ก็อาจจะเข้าไปร่วมกับหน่วยงานอื่นขอความร่วมมือ หรือถ้าหากยังไม่อาจจัดตั้งองค์กรเองได้ก็อาจจะเข้าไปร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น มูลนิธิเด็ก มูลนิธิดวงประทีป เป็นต้น และควรจะมีการขยายโครงการหรือกิจกรรมที่แม่ชีดำเนินอยู่แล้วให้มากจุดขึ้น และควรขยายระยะเวลาที่จะปฏิบัติงานให้มากขึ้นด้วย มิควรจำกัดอยู่แต่เพียงช่วงฤดูร้อนเท่านั้น
Other Abstract: This study aims at identifying status and role of mae chi or nuns in Thai Society. At present, there are quite a number of mae chi groups assoiated with different progressive Buddhist groups in Thai society. In the past, mae chi as a colletive group has been forgotten by society. Neither private nor government sector has been supporting their activity. Therefore, mae chi have been organizing themselves to improve their status and role. One example in the esblishing of the Mae Chi Institution whose main objective is to function as a center where cooperations among mae chi may be sought. The rules and regulations were drafted by the committee members to be followed by members and serve as a guideline for their activities. The improvement of status and role results in greater recognition by the people as well as private and government agencies concerned. The attitude of mae chi at Wat Soithong and of the people living in the vicinity were the focus of this study which has two main objectives. 1. To study and analyse historical background data on status and role of mae chi from different documents such as journals and research roports. The status and role of women since the time of the Buddha to the present are documented. 2. To carry out field study by interviewing 47 nuns and 82 persons living at and using the service of Wat Sothong, Dusit Distrct, Bangkok. Data were collected by interview, observation and questionnaire enumeration at Wat Soithong. Additional fieldwork was carried out at a Red Cross Center, Kao Larn, Trat Province. The purpose is to gather information on opinion and attitude of mae chi and general public on appropriate status and role of nuns in the present societal conditions. From this study it can be concluded that since bhiksuni were not allowed, women who wanted to be ordained changed their idea and follow the eight commandment instead. They dress in white, shave their heads and called mae chi. However, people do not respect mae chi the way they respect monks because mae chi appear to be more lax in following religious practices and less knowledgeable about the doctrine. Therefore, a group of mae chi tried to improve their status and role by joining development activities such as summer youth training program, rural development project and work at the Cambodian Refugee Center. By becoming involved in social welfare and development activities, it becomes clear that mae chi feel that their contribution to the development and improvement of the society in general have helped improved their self-respect. The status of mae chi had improved when the public recognize that mae chi have a role to play in society. What is needed now is the development of more social welfare and development projects where mae chi may truly contribute and work for the underpriviledged in the society. Furthermore, this study also indicate that mae chi need to educate themselves and make themselves better qualified to work'for the general well-being of the society.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47812
ISBN: 9745637696
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukjai_bu_front.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch1.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch3.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch4.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch5.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch6.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_ch7.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Sukjai_bu_back.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.