Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48286
Title: กระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมาย
Other Titles: Procedure for the settlement labour dispute
Authors: วรพจน์ วัชรางค์กุล
Advisors: สุดาศิริ เฮงพูลธนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายแรงงาน
แรงงานสัมพันธ์
ข้อพิพาทแรงงาน
แรงงานสัมพันธ์
law
labour relations
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ยอมรับว่า ในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยทั่วไป การใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้องขอทำ หรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เป็นสิ่งที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย และรัฐมีหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ให้การรับรอง และคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ตลอดจนวางมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้มีการใช้สิทธิดังกล่าวให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม นอกจากนี้รัฐยังมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการกำหนดกระบวนการเพื่อป้องกันและระงับข้อพิพาทแรงงาน ให้ยุติลงในเวลาอันสมควรด้วย ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 บัญญัติขึ้นเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองเพื่อขอทำหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2499 และได้บัญญัติแนวทางและขั้นตอนเพื่อระงับพิพาทแรงงานไว้ด้วย หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขปรับปรุงแนวทางและขั้นตอน เพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานเรื่อยมาจนกระทั่งได้มีการตราพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน การที่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ตัดสินใจทำสัญญากำหนดและแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันเองอย่างเสรี เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมนั้น ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการยื่นข้อเรียกร้องและการร่วมเจรจาต่อรอง ตลอดจนถึงกระบวนการเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานโดยใช้ขั้นตอน และองค์กรของรัฐเป็นอันมาก ทั้งนี้ เนื่องมาจากประเทศไทยมีการพัฒนาการด้านแรงงานสัมพันธ์อยู่ในช่วงเวลาอันสั้น ดังนั้น ความเข้าใจของนายจ้างและลูกจ้างที่มีต่อหลักการของการร่วมเจรจาต่อรอง การร่วมมือยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้าง การยอมรับของนายจ้างต่อองค์กรของลูกจ้างจึงมีจำกัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาระที่ทำให้การใช้การร่วมเจรจาต่อรองเพื่อทำหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร ฉะนั้น การที่รัฐให้สิทธิเสรีภาพแก่ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างให้สามารถยื่นข้อเรียกร้องและร่วมเจรจาต่อรองกันอย่างเสรีโดยปราศจากการให้ความช่วยเหลือด้านการจัดรูปของการปฏิบัติการในการร่วมเจรจาต่อรองและใช้สิทธิในทางการแรงงานสัมพันธ์อย่างพอเพียง จึงอาจเป็นผลร้ายต่อการพัฒนาการด้านการแรงงานสัมพันธ์ของชาติได้ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาในด้านนี้จำนวนมาก อาทิ การที่ลูกจ้างจำนวนน้อยร่วมกันใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอทำหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ย่อมไม่ก่อให้เกิดอำนาจต่อรองเพียงพอที่จะทำให้นายจ้างให้ความสนใจยอมให้ หรือยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องนั้นๆ จึงมักก่อให้เกิดการปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับฝ่ายนายจ้างที่นอกเหนือจากวิธีการที่กฎหมายบัญญัติให้ปฏิบัติเพื่อยุติข้อพิพาท เช่น การใช้สิทธินัดหยุดงานโดยฝ่าฝืนกฎหมายหรือการรวมกลุ่มเดินทางไปพบฝ่ายปกครองเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่ใช่วิธีการเพื่อการระงับข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่กลับแสดงให้เห็นถึงการยังไม่พัฒนาการของอำนาจต่อรองของฝ่ายลูกจ้าง และเป็นการแสดงถึงความไม่ประสบผลสำเร็จในการใช้มาตรการเพื่อการระงับข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายด้วย ฉะนั้น รัฐควรกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการใช้สิทธิทางแรงงานสัมพันธ์ อาทิ การยื่นข้อเรียกร้อง การใช้สิทธินัดหยุดงาน หรือการใช้สิทธิปิดงานให้ดำเนินไปภายในขอบเขต อยู่ในกรอบของเหตุผลและความถูกต้อง โดยจัดให้มีพนักงานของรัฐเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและตรวจสอบความถูกต้องในฐานะพี่เลี้ยง ซึ่งจะทำให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างได้เรียนรู้ถึงการใช้สิทธิด้านแรงงานสัมพันธ์โดยอ้อม และในทางที่ถูกต้องตลอดจนจะสามารถลดการใช้ความรุนแรงทางแรงงานสัมพันธ์ลงด้วย ขณะเดียวดันการที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้กำหนดให้มีกระบวนกระระงับข้อพิพาทแรงงานโดยวิธีชี้ขาดโดยบังคับของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อยุติข้อพืพาทแรงงานที่สำคัญอันอาจกระทบกระเทือนต่อสาธารณชนนั้น กระบวนการดังกล่าวได้สร้างความเชื่อมถือศรัทธาต่อประชาชนทั่วไปเพียงพอหรือไม่ เป็นสิ่งที่รัฐควรได้มีการพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจรัฐเข้าบังคับและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รัฐควรให้ความยุติธรรมแก่คู่กรณีที่ถูกบังคับชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานอย่างเพียงพอด้วย ฉะนั้นในภาครัฐบาลรัฐควรปรับปรุงการทำงานของคณะกรรมการแรงงงานสัมพันธ์ ซ่งใช้มาตรการชี้ขาดโดยบังคับเพื่อให้ผลของคำชี้ขาดได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากคู่กรณีและประชาชนทั่วไป เป็นผลให้คู่กรณียอมรับในผลของคำชี้ขาดและไม่นำผลของคำชี้ขาดมาฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน ซึ่งจะเป็นการพิจารณาคดีซ้ำซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น วิทยานิพนธ์จึงมุ่งศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการการระงับข้อพิพาทแรงงาน โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นข้อเรียกร้องขอทำหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การร่วมเจรจาต่อรอง ตลอดจนถึงวิธีการเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นหลัก เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละจุดของกระบวนการร่วมเจรจาต่อรองและกระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาการระบบการแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลไปถึงความสงบสุขในอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป
Other Abstract: It is generally accepted that in countries under democratic regime, the rights to submit demands for collective agreements on employment conditions to be made or amended are legitimately protected. The State has to fulfil its duty in working out appropriate laws to protect the rights and in taking necessary steps to ensure that they are exercised within a reasonable limit. In addition, the State is directly responsible for establishing the procedures that enable timely prevention and settlement of labour disputes. Thanks to the Labour ACT B.E. 2499 (1956) the rights of collective bargaining to make or amend collective agreements on employment Conditions in Thailand have been for the first time legitimately approved and protected. The very Act has also provided guidelines and procedures for the settlement of labour disputes which have since undergone continued adjustments until after the Labour Relations Act B.E. 2518 was enacted and has been enforced up to the present time. That Thailand, in conforming to its democratic regime and laissez-faire economic system, has allowed parties involved freely to make their own decision about making or amending collective agreements on employment condition has, however, led to certain problem in practice. Such problems arise in the processes of demand submission and collective bargaining, the settlement procedures as well as within governmental organizations themselves. This is due to the fact that the development of labour relations system here is just in its early stage resulting in incomplete understanding between employers and workers towards the principles of collective bargaining and demand making and an unsatisfactory extent of acceptance of Trade Union by employers. All these factors have made it difficult for the means of collective bargaining to attain its fullest objective in reaching or amending collective agreements. Therefore, without the State’s adequate support in supervising the process of collective bargaining and the use of labour relations rights, the development of labour relations sustem of the nation could be threatned. At present, there occur a large number of labour problems. To take as an example, when only a small number of workers are drawn together to make their demands for an agreement on employment conditions to be reached or amended, they certainly not gain sufficient bargaining power to make their employs listen to them nor to comply with their demands. The workers, then in an attempt to retaliate against their employers usually resort to other means than those enforced by provisions of laws in settling the dispute. They may call a strike which is in violation of the laws or rally to seek help from the government. Using such means is absolutely not a legitimate settlement procedure. On the contrary, it gives evidence of lack of development in their bargaining power as well as the failure in taking legitimate measures to settle the disputes. Therefore, the State, on one hand, is required to take steps to promote the use of labour relations rights within a reasonable extent : the rights to make demands, call a strike or lock out. This could be done by assigning a number of government employees to supervise and lock into each of the processes. In the meantime, both employers and workers will come to learn how to use those rights in accordance with the laws so that the use of violence will possibly be reduced. On the other hand, it is necessary that the State consider whether the settlement procedure as enforced by the Labour Relations Act B.E. 2518 ruling that any critical labour disputes that may adversely affect the public be settled by means of compulsory arbitration of the Labour Relations Committee has so for succeeded in winning the public confidence judging that the procedure is also seen as a state means to intervene with force and to confine individual rights and freedom. Since the State should do justice to either parties involved subjected to the arbitration, it will have to improve the working methods of the Labour Relations Committee to an extent that its arbitration will receive more and more confidence from the parties involved as well as the public in general. It is hoped that the parties involved, in yielding to the compulsory arbitration will not appeal to the Labour Court against it. Otherwise the trial will have to be unnecessarily repeated. This thesis is emphasized on the study of the settlement procedures of labour disputes. Based on the Labour Relations Act B.E. 2518, the thesis starts from the process of making demands for collective agreements and bargaining on employment conditions to the settlement procedure. The purposes are to point out the problems arising in each step and to propose the methods that will help improve the effectiveness of the laws which contribute in return to the industrial peace of the nation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48286
ISSN: 9745644498
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vorapoch_va_front.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch2.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch3.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch4.pdf12.4 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch5.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_ch6.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Vorapoch_va_back.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.