Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48605
Title: สมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
Other Titles: The motor fitness of lower secondary school students in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs
Authors: วันชัย ขนบดี
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของ สมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศญี่ปุ่น Japan Amateur Sport Association ซึ่งประกอบด้วยข้อทดสอบ 5 รายการ คือ ยืนกระโดดไกล การทำลุกนั่ง การทำดันพื้น การวิ่งกลับตัว และการวิ่ง 5 นาที โดยสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย นักเรียนชาย 600 คน และนักเรียนหญิง 600 คน รวมทั้งสิ้น 1,200 คน นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาค่ามัชณิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลงคะแนนที่ได้จากการทดสอบแต่ละรายการเป็นคะแนนมาตรฐาน เพื่อหาสมรรถภาพทางกลไกรวม วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) ของการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ สมรรถภาพทางกลไกรวม ของนักเรียนชายและหญิง ในแต่ละระดับชั้น ระหว่างโรงเรียนสาธิตเปรียบเทียบความแตกต่างค่ามัชณิมเลขณิตด้วยวิธีของตูกี (Tukey) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่ามัชณิมเลขคณิตสมรรถภาพทางกลไกรวม ของนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในแต่ละระดับชั้น ระหว่างโรงเรียนสาธิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 1.87 และ 0.23 การทำลุกนั่ง 19.71 ครั้ง และ 4.39 การทำดันพื้น 16.87 ครั้ง และ 7.66 การวิ่งกลับตัว 37.43 เมตร และ 2.99 การวิ่ง 5 นาที 953.70 เมตร และ 109.85 3. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 1.62 เมตร และ 0.18 การทำลุกนั่ง 15.98 ครั้ง และ 4.00 การทำดันพื้น 11.66 ครั้ง และ 5.71 การวิ่งกลับตัว 34.74 เมตร และ 3.25 การวิ่ง 5 นาที 816.00 เมตรและ 121.15 4. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 2.00 เมตร และ 0.22 การทำลุกนั่ง 20.44 ครั้ง และ 4.18 การทำดันพื้น 19.45 ครั้ง และ 8.47 การวิ่งกลับตัว 38.72 เมตร และ 3.21 การวิ่ง 5 นาที 1047.97 เมตร และ 218.66 5. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 1.61 เมตร และ 0.19 การทำลุกนั่ง 15.73 ครั้ง และ 4.49 การทำดันพื้น 12.69 ครั้ง และ 5.51 การวิ่งกลับตัว 35.27 เมตร และ 2.39 การวิ่ง 5 นาที 837.85 เมตร และ 147.33 6. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 2.07 เมตร และ 0.23 การทำลุกนั่ง 21.50 ครั้ง และ 4.36 การดำดันพื้น 20.13 ครั้ง และ 8.14 การวิ่งกลับตัว 39.40 เมตร และ 3.64 การวิ่ง 5 นาที 1071.80 เมตร และ 1.88.14 7. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการ ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ค่ามัชณิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ยืนกระโดดไกล 1.65 เมตร และ 0.18 การทำลุกนั่ง 16.37 ครั้ง และ 3.69 การทำดันพื้น 12.95 ครั้ง และ 5.54 การวิ่งกลับตัว 33.55 เมตร และ 3.52 การวิ่ง 5 นาที 882.00 เมตร และ 156.77
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate and compare the motor fitness of the lower secondary school students in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs. The Japan Amateur Sport Association Motor Fitness Test which contained of 5 items was used in collecting data. The items were standing long jump, sit-ups, push-ups, timed shuttle run, and 5-minute distance run. Six hundred boy students and six hundred girl students were randomly selected from the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs. The total amount was twelve hundred students. The obtained data were computed into means, standard deviations, T-Score, one-way analysis of variance and Tukey test for all possible comparison. It was found that: 1. The means of motor fitness total scores of boys and girls of grade 1-3, among the demonstration schools and among each of the levels were significantly different of at the 0.5 level. 2. The means and standard deviations of test items for boys of grade 1 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 1.87 and 0.23 meters for standing long jump, 19.71 and 4.39 times for sit-ups, 16.87 and 7.66 times for push-ups, 37.43 and 2.99 meters for timed shuttle run, 953.70 and 109.70 meters for 5-minute distance run. 3. The means and standard deviations of test items for girls of grade 1 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 1.62 and 0.18 meters for standing long jump, 15.98 and 4.00 times for sit-ups, 11.66 and 5.71 times for push-ups, 34.74 and 3.25 meters for timed shuttle run, 816.00 and 121.15 meters for 5-minute distance run. 4. The means and standard deviations of test items for boys of grade 2 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 2.00 and 0.22 meters for standing long jump, 20.44 and 4.18 times for sit-ups. 19.45 and 8.47 times for push-ups, 38.72 and 3.21 for timed shuttle run, 1047.97 and 218.66 meters for 5-minute distance run. 5. The means and standard deviations of test items for girls of grade 2 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 1.61 and 0.19 meters for standing long jump, 15.73 and 4.49 times for sit-ups, 12.69 and 5.51 times for push-ups, 35.27 and 2.39 meters for timed shuttle run, 837.85 and 147.33 meters for 5-minute distance run. 6. The means and standard deviations of test items for boys of grade 3 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 2.07 and 0.23 meters for standing long jump, 21.50 and 4.36 times for sit-ups, 20.13 and 8.14 times for push-ups, 39.40 and 3.64 meters for time shuttle run, 1071.80 and 188.14 meters for 5-minute distance run. 7. The means and standard deviations of test items for girls of grade 3 in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs were 1.65 and 0.18 meters for standing long jump, 16.37 and 3.69 times for sit-ups, 12.95 and 5.44 times for push-ups, 33.55 and 3.52 meters for timed shuttle run, 882.00 and 156.77 meters for 5-minute distance run.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48605
ISBN: 9745663204
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanchai_ka_front.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_ch1.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_ch2.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_ch3.pdf701.44 kBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_ch4.pdf16.36 MBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_ch5.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Vanchai_ka_back.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.