Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49002
Title: กระบวนการกำหนดนโยบายในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาชนบท
Other Titles: Policy process of budget allocation for rural development
Authors: สมศักดิ์ ขันติวิริยะโยธิน
Advisors: กนก วงษ์ตระหง่าน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., 2454-2538
โครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทให้มีงานทำในฤดูแล้ง
การพัฒนาชนบท -- ไทย
นโยบายสาธารณะ -- ไทย
งบประมาณ -- ไทย
การจัดสรรทรัพยากร
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาของชนบทในประเทศไทยมีมานานแล้ว รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้พยายามแก้ไขปัญหาให้แก่ชาวชนบทด้วยการทุ่มเงินงบประมาณไปปีแล้วปีเล่าเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อออกไปพัฒนาชนบท แต่การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นไปในรูปของหน่วยราชการทั้งหลายออกไปทำการพัฒนาชนบท แต่ก็เกิดปัญหาคือ เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน และการพัฒนาก็ไม่สามารถกระจายผลออกไปให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในท้องถิ่น นโยบายการพัฒนาชนบทหรือนโยบายอื่นใดก็ตามที่ผ่านมานี้ มักจะมาจากการกำหนดของข้าราชการ หรือถูกอิทธิพลของข้าราชการครอบงำเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เนื่องจากข้าราชการเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่อง คลุกคลีอยู่กับปัญหา จึงมีความเชี่ยวชาญเพราะมีข้อมูลต่าง ๆ อยู่อย่างครบถ้วน ในขณะที่นักการเมืองต้องอาศัยข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานและยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาได้อย่างต่อเนื่อง เพราะระบอบการปกครองประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดชะงักลงหลายครั้งจากการทำรัฐประหารยืดอำนาจการปกครองจากฝ่ายทหาร ในกรณีนี้จะมีการแต่งตั้งข้าราชการให้เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนนักการเมืองอาชีพ นโยบายต่าง ๆ จึงมักจะมีข้าราชการเป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดขึ้นมามากกว่าจะเป็นการดำเนินการโดยนักการเมือง เมื่อข้าราชการมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็จะทำงานตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติมา เมื่อมีปัญหากับข้าราชการที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ก็จะเกิดความเการงใจกันและกัน ทำให้ผลการปฏิบัติงานไม่มีอะไรแปลกใหม่ขึ้นมา กระบวนการกำหนดนโยบายการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบท ที่จะศึกษาคือนโยบายการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบท พ.ศ. 2518 หรือ นโยบายเงินผันของรัฐบาลที่มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายรัฐมนตรี นโยบายนี้เป็นนโยบายหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากนโยบายที่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย เนื่องจากมีกำเนิดมาจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ปรากฏการณ์อย่างนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนักในประเทศไทย จึงต้องการศึกษาดูว่านโยบายนี้มีที่มา แนวความคิด และกระบวนการดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งประสบความสำเร็จและนำมาใช้ปฏิบัติได้ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายนี้ออกมาเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเฉพาะหน้าให้แก่ประชาชนในชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไร่ชาวนาที่กำลังประสบความทุกข์ยากอยู่ในขณะนั้น ด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวน 2,500 ล้านบาท กระจายออกไปทั่วประเทศเพื่อว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นให้ทำงานในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันชาวชนบทที่จะอพยพเข้า มาหางานทำในกรุงเทพฯ และยังก่อให้เกิดการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ที่จำเป็นแก่ท้องถิ่นที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เช่น ถนน สะพาน คูคลอง เป็นต้น การดำเนินการของรัฐบาลตามนโยบายนี้ก็เพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนให้พออยู่ได้เท่านั้น ไม่ได้เน้นผลทางด้านการพัฒนา หรือสร้างฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดี ซึ่งผลจากการดำเนินการตามนโยบายนี้นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนอย่างมาก จนรัฐบาลในชุดต่อมาต้องทำต่อเนื่องกันมาโดยได้ปรับปรุงแบบและวิธีการดำเนินการให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น แต่ในระยะเริ่มต้นนั้น นโยบายนี้ได้รับการต่อต้านว่าเป็นตัวทำลายระบบพัฒนาชุมชนที่ประชาชนเคยร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อท้องถิ่นแล้วหันมารับจ้างทำงานแทน นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้ผลทางด้านการพัฒนา และผลงานที่ได้มาก็ไม่คุ้มกับเงินจำนวนมากที่จ่ายออกไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่นโยบายทุกนโยบายไม่สามารถสร้างการยอมรับจากบุคคลทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้ ในการต่อต้านนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลนั้นก็เพราะกลัวว่ารัฐบาลจะทำไม่ได้ และเป็นการหาเสียง แต่ความจริงแล้วกลัวว่ารัฐบาลจะได้คะแนนนิยมมาก เพราะประชาชนมีความพึงพอใจอย่างมาก การต่อต้านก็ทำกันในระยะต้นเท่านั้น เมื่อนโยบายนี้ได้รับการยอมรับจากสภาผู้แทนราษฎร ทุกคนก็ยอมรับ และการยอมรับจากฝ่ายต่าง ๆ เริ่มมีมากขึ้น เมื่อนโยบายนี้ได้นำไปดำเนินการแล้วเพราะเริ่มมองเห็นและเข้าใจจุดมุ่งหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายนี้ ในการกำหนดนโยบายนี้ไม่ได้คำนึงถึงด้านเทคนิคเลย แต่คำนึงถึงทางด้านการเมืองมากว่าที่ต้องการจะช่วยเหลือ ประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอยู่ทั่วประเทศจากภาวะฝนแล้ง โดยการกระจายเงินจำนวนมหาศาลออกไปทั่วประเทศ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลนำเงินนี้ไปทำโครงการใหญ่ๆ แล้ว ก็จะก่อให้เกิดผลทางด้านการพัฒนาอย่างมาก แต่รัฐบาลก็ได้ตัดสินใจที่จะช่วยเหลือประชาชนโดยตรงอย่างนี้มากกว่า แทนที่จะไปคำนึงถึงผลตอบแทนทางด้านการพัฒนาจากโครงการนี้ เพราะถ้าหากพิจารณาทางด้านเทคนิค โดยการวิเคราะห์แผนและโครงการนี้แล้ว นโยบายนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนออกมาเลย การศึกษานี้ กำหนดขอบเขตไว้ 3 ขั้นตอน คือ การชี้ปัญหา การศึกษาหาทางเลือกและการตัดสินใจเลือกแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า รัฐบาลชุดดังกล่าวมีแนวความคิดและวิธีการดำเนินการอย่างใดจนสามารถผลักดันและดำเนินการจนนำนโยบายนี้มาปฏิบัติได้ ทั้งที่พรรคการเมืองของนายกรัฐมนตรีมีอยู่ในสภาเพียง 18 ที่นั่งเท่านั้นจึงได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่านนโยบายนี้เกิดจากความเชื่อและการผลักดันของผู้นำทางการเมือง โดยใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารและไปสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกันนโยบายนี้ แล้วนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาออกมาปรากฏว่ายืนยันสมมุติฐาน มีข้อน่าสังเกตว่าหากนโยบายนี้ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้สัก 10 ปี คงจะแก้ปัญหาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศได้มากกว่านี้ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และยังสามารถประหยัดงบประมาณของหน่วยราชการทั้งหลาย ทั้งทหารและพลเรือน ได้จำนวนมหาศาลที่ไม่ต้องไปดำเนินการซ้ำซ้อนกัน
Other Abstract: Thailand’s rural problems have been a chronical subject for a long time. Previous governments before the Government of M.R. Kukrit Pramote had tried to solve the problems for people in rural area by distributing a large amount of budget for years after years. However, implementation of their developing programme was unsuccessful because of repetition of the implementation by multiple government agencies, and resulted failure in meeting the demand of rural people. In the past, most of policies including rural area developing policy were guided or ruled by the government officers or directed by their influencials by which the implementations of the policies were carried out continuously with all the informations on encountered problems. Meanwhile in the recent years, politicians who have to depend on government officers for implementation of their policies are unable to fulfil their target in political activities because the democratic administration of the country were obstructed by the military coup for several times and government officers are often appointed to the political positions rather than professional politicians, and these officers in the political postion would have to play an important role to rule the policy which would naturally be alike their past performance. This has prevented new development programmes from being ruled out. The process of the rural area development policy by distributing the budget which is studied in this thesis will be the policy of budget allocation for rural development in B.E. 2518 under the government ruled by M.R. Kukrit Pramote, the then Prime Minister. This policy was different from any other previous policies which have been introduced in Thailand because the members of his government were mostly appointed from the elected politicians which was seldom seen in Thailand. The way of thought and the method of performance as well as the successfulness are worthwhile to be studied. The government established this policy in order to solve the difficulties of the people in the rural area especially the farmers by distributing the budget of 2,500 million baht throughout the country to increase the employment capability in the dry season to protect people from leaving their hometown to Bangkok to seek for the employment. The public infrastructures were also constructed such as roads, bridges and canals ect. However, that programme was effective only to maintain people’s current living conditions but was not intended to develop the better status of the people. The result of that activity was well successful and satisfied by the people, and the following government maintained this method and improved that method to better and more suitable scheme. At the beginning of M.R. Kukrit Pramote government, this policy was opposed by opposition for a fear that it might obstruct the community development system in which the people were accustomed to devote for their own municipal, and that the actual development might not be achieved and not worthwhile with the budget spect. Generally, any policy may not be accepted by all people. The opposition to the said government policy was most likely that the actual aim of the opposition was the political propaganda of some parties. In fact, the people were satisfied with this government policy and the opposition was made only at the beginning and the policy was later accepted by the parliament and most parties after they were able to visualize and understand the actual objective of the government. However, the specification of policy was made in the point of political aspect without any technical aspect. The scheme was aimed to help the people who encounter the difficulty in the draught throughout the country be means of distributing a large amount of money. If the government spending went for some other large scale projects, it should have achieved a great development to the country but the government has decided to help the people directly and not expecting any achievement in development. The evaluation in technical aspect has shown that there were no outcome result achieved from this programme. This study scope is specified in 3 steps i.e. problem indentification, option searching, and decision making to solve the problem. The objective of the study is to clarify how the government opinion and performance method were implemented while as the matter of the fact the government party occupied only 18 seats in the parliament. The hypothesis of this study shows that this policy was created from the belief and pressure from the political leader. The study was made from documentary and interviewing those concerned personnel for the evaluation and analyzation of this policy. The result of the study found that if this policy had been introduced 10 years earlier, it would have been able to solve more problems in the country in the way of political, economics and social, and also could have minimized the government budget which was distributed to the country via the government agencies both military services and civilians who had worked in repetition.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49002
ISSN: 9745674303
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_kh_front.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch1.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch2.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch3.pdf14.53 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch4.pdf12.79 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch5.pdf21.34 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_ch6.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_kh_back.pdf12.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.