Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49673
Title: กลไกการปรับราคาตามเวลาสำหรับการให้บริการไฟเบอร์ทูเดอะ โฮมบนพื้นฐานของคุณภาพการบริการเชิงเวลาประวิง
Other Titles: Time-based pricing adjustment mechanism for fiber-to-the-home service provision with delay-based qos
Authors: ลภัสสิริ เทียนทอง
Advisors: ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chaiyachet.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง
วิทยาการเส้นใยนำแสง
เส้นใยนำแสง
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
Optical fiber communication
Fiber optics
Optical fibers
Internet service providers
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไฟเบอร์ทูเดอะโฮม (fiber to the home: FTTH) ได้รับการจัดว่าเป็นโครงข่ายเข้าถึงที่มีความเร็วสูงที่สุดเมื่อเทียบกับโครงข่ายเข้าถึงประเภทอื่นๆ ในปัจจุบัน แต่ด้วยสาเหตุที่ว่า FTTH เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทำให้หัวข้อการวิจัยเชิงประยุกต์ระหว่างโครงข่าย FTTH และเศรษฐศาสตร์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในบรรดางานวิจัยในหัวข้อดังกล่าวกลับยังไม่มีงานวิจัยใดที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายเข้าถึง FTTH ควรจะใช้ในการแข่งขันในเชิงธุรกิจกับผู้ให้บริการ FTTH รายอื่นในตลาด ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าบริการที่เหมาะสมโดยอ้างอิงตามระดับคุณภาพการให้บริการที่ทำให้ผู้ให้บริการได้รับผลกำไรที่สูงที่สุด โดยจัดรูปแบบปัญหาเป็นการหาค่าเหมาะสมที่สุด ที่รวมเงื่อนไขบังคับจากสมการพลวัตของจำนวนผู้ใช้บริการและราคาค่าบริการ จากผลการศึกษาพบว่า มีความเป็นไปได้ที่อัตราค่าบริการที่เหมาะสมนั้นจะมีแนวโน้มที่ลดลงตามเวลา โดยที่จะน้อยกว่าอัตราค่าบริการของผู้ให้บริการคู่แข่งเป็นส่วนใหญ่ สำหรับระดับคุณภาพของบริการนั้นจะอยู่ที่ระดับที่ดีที่สุด และจะมีการปรับขึ้นลงหรือคงที่ตามแต่กรณี สำหรับจำนวน OLTs นั้นจะคงที่อยู่ที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการน้อย ส่วนผลกำไรและผลกำไรเฉลี่ยสะสมจะมากกว่าผู้ให้บริการคู่แข่งเป็นส่วนใหญ่ในกรณีลูกค้าส่วนบุคคล แต่จะน้อยกว่าผู้ให้บริการคู่แข่งเป็นส่วนใหญ่ในกรณีลูกค้าองค์กรธุรกิจ และการกำกับอัตราโทรคมนาคมแบบเพดานราคาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอในการหลีกเลี่ยงจากภาวะตลาดผูกขาด
Other Abstract: Fiber-to-the-home (FTTH) is currently considered to be the access network technology that can offer the highest speed compared to others. Due to its high costs, the FTTH network-economic topics are rapidly attractive. However, there has not been any research concerned about the approach for FTTH operator to compete with one another in the FTTH market. In this thesis, we study the time-based pricing adjustment mechanism with delay-based QoS that maximizes the operator's profit; by constructing the problem into the most suitable value searching which combines the constraints obtained from the dynamics of number of users and service price. According to the results, the trends of tariff are possible to be decreased over time while their sizes are smaller than the rival’s tariff. The optimum level of QoS should be the best. The numbers of OLTs are equal to one and stationary because of the small number of customers. The profits and cumulative profits are better than the rival’s profits and cumulative profit as most of the period of study in residential case only. But they are worse in business cases. However, only price cap regulation may not be sufficient in order to avoid the monopoly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49673
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1550
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1550
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lapassiri_ti.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.