Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49962
Title: กระบวนการสร้างและการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตมีมในสังคมไทย
Other Titles: Creation and diffusion process of internet meme in Thai society
Authors: ภูษณา ถนอมศักดิ์
Advisors: ณรงค์ ขำวิจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Narong.K@Chula.ac.th,narong@chula.ac.th
Subjects: Memes
Creation (Literary, artistic, etc.)
Internet -- Social aspects -- Thailand
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
อินเทอร์เน็ต -- แง่สังคม -- ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการสร้างและการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตมีมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างบริบทสังคมวัฒนธรรมกับกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนทำความเข้าใจในการรับรู้และตีความเรื่องอินเทอร์เน็ตมีมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากกลุ่มตัวอย่าง 19 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ และ/หรือเคยสื่อสารอินเทอร์เน็ตมีม คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมาดำเนินการวิจัยด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการสร้างและการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตมีมเริ่มจากการพัฒนาของข้อมูลทางวัฒนธรรมที่มีภาวะความพร้อมของเนื้อหา (content) ที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดกระบวนการ และมีวงจรชีวิตที่ทำให้มีมหมดอายุและเปิดโอกาสให้มีมใหม่ๆเกิดขึ้นมาแทนที่ โดยอินเทอร์เน็ตมีมที่กลับคืนสู่ข้อมูลดังเดิมเหล่านั้นยากที่จะพัฒนากลับมาสู่ภาวะของอินเทอร์เน็ตมีมอีกครั้ง รวมถึงการตั้งใจสร้างข้อมูลให้กลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมก็ทำได้ยากเนื่องจากต้องอาศัยปัจจัยสำคัญทางด้านเวลาที่เหมาะสมพอดีของการเกิดมีม และพบว่าบริบทสังคมวัฒนธรรมยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการแพร่กระจายคอนเทนต์อินเทอร์เน็ตมีม ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ตมีมก็มีความสัมพันธ์ต่อการธำรงรักษาและสะท้อนให้เห็นโครงสร้างสังคมไทยบางประการ อีกทั้งพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรับรู้และเข้าใจอินเทอร์เน็ตมีมในลักษณะของเครื่องมือสื่อสารที่ให้ประโยชน์และอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้และสังคมได้ด้วย โดยแง่มุมด้านดีคือเป็นเครื่องมือสื่อสารความคิด ตัวตน เครื่องมือสื่อสารเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและช่วยเหลือสังคม และเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยบรรเทาความขัดแย้งในสังคม ส่วนในแง่มุมด้านผลกระทบที่พึงระวังคือการสื่อสารที่รวดเร็วจนอาจขาดความยั้งคิด นำมาซึ่งความฉาบฉวยในสังคม และการสื่อสารแสดงตัวตนที่มากเกินขอบเขตจนสร้างความรำคาญและความเข้าใจผิดต่อกันได้
Other Abstract: This research aims to explain the creation and diffusion process of Internet memes in Thai society, the relation between social and cultural context and the procedure, and interpret internet user's interpretation of Internet memes. The sample of this study consisted of 19 cases selected by purposive sampling who understand concept of Internet memes and have interaction with Internet memes greatly and consistently. The purposive samples are conducted by Focus Group and In-depth Interview. The results of this study; Firstly, the creation and diffusion process of Internet memes starts from the development of cultural information which eventually turns into 'Internet memes' in proper condition. With supportive surroundings, there are possible chances that the life cycle of Internet memes will go through the whole new cycle, the existing Internet memes will become less noticeable and new memes become more popular. There are position of information, factors of surroundings, and life cycle of Internet memes and being social phenomenon, Internet memes return to basic. Internet memes are hardly famous again and also scarcely set information to be them because of timing factor. Secondly, Social and Cultural Context is a factor to motivate the diffusion of Internet memes (i.e. like, comment, share or modify content). In addition, Internet memes has a crucial role of maintaining and reflecting some aspects of Thai society structure. Lastly, this study found that Internet users acknowledge and understand Internet memes as communication tool that causing advantages and effects among users and society. The advantages points of views are to communicate idea, self, and identity. Also, Internet memes are viewed as a business communication tool, public charity, and as a peacekeeping communication tool in the society. The disadvantages point of views are its fast communication which possibly leads to careless communication in the society, also, excessive self-expressions might cause bother and misunderstanding in communication.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49962
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.993
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584693628.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.