Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50387
Title: แนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guideline to develop healthy space in Bangkok metropolis
Authors: บุษบา รุ่นเจริญ
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
รุจน์ เลาหภักดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchitra.Su@Chula.ac.th,sukonthasab@hotmail.com
Ruht.l@chula.ac.th
Subjects: พื้นที่สาธารณะ -- แง่อนามัย
สวนสาธารณะ
สุขภาวะ
Public spaces -- Health aspects
Parks
Well-being
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการการใช้บริการสวนสาธารณะ และลานกีฬาของประชาชนในเขตกรุงเพมหานคร และแนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 500 ชุด วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน โดยกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ คือ ประชาชนผู้ใช้สวนสาธารณะ ประชาชนผู้ใช้ลานกีฬา และประชาชนที่พักอาศัยโดยรอบสวนสาธารณะหรือลานกีฬาในรัศมี 1 กิโลเมตร ใน 10 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานครที่มีสวนสาธารณะชุมชนและลานกีฬาประเภท A วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ “ที” (t-test) และสถิติทดสอบ “เอฟ” (F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ โดยวิธีของ LSD และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยหาความสัมพันธ์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมการใช้บริการสวนสาธารณะและลานกีฬาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.15 2. ความต้องการการใช้บริการสวนสาธารณะและลานกีฬาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 และ 3.49 ตามลำดับ โดยประชาชนมีความต้องการกิจกรรมที่หลากหลายทุกช่วงเวลาการใช้บริการ มีกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้เด็ก/เยาวชนในช่วงวันหยุดหรือในเวลาว่าง มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อการเข้าใช้บริการ และมีความต้องการอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีการบำรุงรักษา ซ่อมแซมให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเน้นหลักทางสุขภาพในมิติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดบริการด้านสถานที่ให้มีมุมพักผ่อนควบคู่กับการมีพื้นที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และเจ้าหน้าที่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน สรุปผลการวิจัย ผู้ใช้บริการสวนสาธารณะและลานกีฬามีพฤติกรรมการใช้บริการอยู่ในระดับปานกลาง และประชาชนต้องการการให้สวนสาธารณะและลานกีฬามีการให้บริการด้านต่างๆ ที่ครอบคลุมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ จึงจำเป็นต้องพัฒนาสวนสาธารณะและลานกีฬาให้ตอบสนองต่อความต้องการการใช้บริการ อันจะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนเข้าใช้บริการและมีพฤติกรรมเพื่อสุขภาพมากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study were to study the people’s behavior and their demand to use the parks and sport grounds and to create guideline to develop healthy space in Bangkok metropolis. The methodology used herein included both quantitative and qualitative studies, as well as focus group discussion. Thereby, The quantitative study was conducted via questionnaire with a sampling group of 500 people and the qualitative study via the interview with 30 subjects. All of the subjects in both studies were those who live near the parks or sport grounds in a radius of 1 kilometer in 10 districts of Bangkok metropolis that have community parks and type-A sport grounds. Meanwhile, the focus group discussion was conducted with 4 specialists in their specific fields. The quantitative data were analyzed by means of frequency, percentage, standard deviation, t-test, F-test and multiple comparisons using LSD method, with the statistically significant difference at the 0.05. Meanwhile, The qualitative data were analyzed by means of content analysis. The results of this study were as follow: 1. The respondent’s behavior to use the park and sport ground was at moderate level (Mean = 2.15). 2. The respondent’s demand to use the park and sport ground was at moderate level (Mean = 3.40 and Mean = 3.49 respectively). Thereby, the sample group demanded a variety of activities in all periods of service, with learning activities for children/youth during the holidays or their free time. they also required the natural environment and security while using the equipment and facilities. In addition, there should be enough equipment and facilities with good maintenance so that all of them would be ready to use. 3. The guideline to develop healthy space should focus on the promotion of physical health, mental health, social health and spiritual health. This can be done by providing holistic health activities and encouraging the participation of community. Moreover, the locations should have both relaxed zone and various fitness areas or sports zones. The equipment, the facilities, and the authorities thereof should be provided sufficiently as a part of health promotion. Conclusions The respondents’ behavior to use the park and sport grounds was at moderate level, and they demanded the parks and sport grounds that have all holistic health services. Therefore, it was necessary to develop the parks and sport grounds in the ways that can satisfy their demand and increase their motivation to use the service therein and maintain healthy behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50387
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.908
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.908
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678314039.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.