Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50472
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล | en_US |
dc.contributor.author | ปรารถนา นิรมล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:08:12Z | |
dc.date.available | 2016-12-01T08:08:12Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50472 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การจัดสถานีการทำงานที่ไม่ถูกหลักการยศาสตร์นั้นเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม โดยเฉพาะขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ของสถานีการทำงานที่ส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยของร่างกายส่วนบน ตามมาตราฐาน ISO9241(1998) ค่ามุมการมองเห็นที่แนะนำควรอยู่ในช่วง 16-24 MOA อย่างไรก็ตามท่านั่งที่ไม่ถูกหลักการยศาสตร์ไม่ได้มีสาเหตุจากการจัดสถานีการทำงานที่ไม่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีสาเหตุจากขนาดของตัวอักษรบนจอแสดงผล เพื่อรักษามุมการมองเห็นให้เหมาะสมเมื่อขนาดของตัวอักษรขนาดเล็กจะทำให้ต้องปรับระยะการมองให้ใกล้ขึ้นด้วยการโน้มร่างกายส่วนบนไปข้างหน้าในขณะใช้งานคอมพิวเตอร์ การโน้มร่างกายส่วนบนไปข้างหน้าด้วยระยะเวลานานอาจส่งผลต่อการปวดร่างกายส่วนบนได้แก่ คอและหลัง เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมอัตราเร็วในพิมพ์ก็มีผลต่อท่านั่งเนื่องจากการโน้มร่างกายส่วนบนไปข้างหน้ามากกว่าการไม่ควบคุมอัตราเร็วในพิมพ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลกระทบจากการมุมการมองเห็นและอัตราเร็วในการพิมพ์ต่อกระดูกสันหลัง โดยมีนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทำการทดสอบจำนวน 40 คนด้วยขนาดตัวอักษร 3 ขนาด คือ 11, 17 และ 23 MOA ภายใต้การควบคุมแสงสว่างห้อง 400 ลักซ์ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลองพิมพ์ตัวอักษรแบบควบคุมอัตราเร็วในการพิมพ์และไม่ควบคุมอัตราเร็วในการพิมพ์เพื่อหาผลกระทบต่อท่าทางของร่างกายส่วนบน โดยทำการพิมพ์แบบการสุ่มกลุ่มคำภาษาอังกฤษเป็นเวลา 5 นาทีผลของมุมของหลัง คอและศีรษะจะถูกบันทึกในระนาบข้างผ่านระบบ OPTITRACK และกล้องวิดีโอจำนวน 12 ตัว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดของตัวอักษรและอัตราเร็วในการพิมพ์นั้นส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อท่าทางร่างกายส่วนบน โดยมีการเปลี่ยนแปลงมุมของ หลัง คอ และศีรษะ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมทดลองในการโน้มไปข้างหน้าเพื่อให้ได้มุมการมองเห็นที่เหมาะสมและการพิมพ์แบบควบคุมอัตราเร็วในการพิมพ์เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมของ หลัง คอ และศีรษะมากกว่าแบบไม่ควบคุมอัตราเร็วในการพิมพ์ เนื่องจากเปลี่ยนแปลงมุมหลัง คอและศีรษะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเมนต์ที่บริเวณคอ (C7) และเอว (L5S1) ทำให้เกิดอาการปวดคอและหลังซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ดังนั้นมุมการมองเห็นแนะนำคือ 17-23 MOA ในห้องที่แสงสว่าง 400 ลักซ์ มากไปกว่านั้นไม่แนะนำให้ทำงานในสภาวะควบคุมอัตราเร็วในการพิมพ์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Non-ergonomic workstation is a cause of office syndrome especially the improper dimension of table and chair of computer workstation causes the upper body pain. Based on ISO9241 (1998) the recommended visual angle should be set at 16-24 minute of arc (MOA). However, the non- ergonomic sitting posture is not only caused by the workstation dimension but also the character size display on computer monitor. In order to keep the proper visual angle, the smaller character size causes the closer watching distance by leaning forward the upper body while using the computer. Leaning the upper body for long period may cause the upper body pain such as neck and back. There were 40 subjects from the university students joined in this study. Three character heights on the monitor were initially set at 11, 17 and 23 MOA. The room lighting were controlled at 400 Lux. They used computer by controlled and uncontrolled typing speed to find the effects on the upper body posture. The random sets of English character for 5 minutes and then their back, neck and head angles were recorded in Sagittal plane by OptiTrack system with 12 cameras. The results showed that the character height and typing speed significantly effect on the upper body posture due to back, neck and head angle changed from subject’s behavior that lean forward in order have suitable angle visual angle. Also, work with controlled typing speed causes more change at back, neck and head angles compared to work with uncontrolled typing speed. Consequently, change from back, neck and head angles lead to moment change at neck (C7) and lower body (L5S1) which can be result in back and neck pain. Therefore, the recommended visual angle set up at 17-23 MOA. The room lighting were set at 400 Lux. Moreover, working with controlled typing is not recommended. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.578 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เออร์โกโนมิกส์ | |
dc.subject | Human engineering | |
dc.title | ผลกระทบจากมุมการมองเห็นและอัตราเร็วในการพิมพ์ต่อกระดูกสันหลังของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.title.alternative | The effect of visual angle and typing speed on spine of computer users | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Phairoat.L@Chula.ac.th,phairoat@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.578 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770937621.pdf | 4.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.