Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50504
Title: | การประยุกต์แนวคิดโครงการบ้านมั่นคง ในการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The application of Baan Mankong concept by crown property bureau : a case study of the community in Wang Thonglang district, Bangkok |
Authors: | ถิรวัฒน์ พิมพ์เวิน |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com |
Subjects: | การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ เคหะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ Housing development -- Thailand -- Bangkok Real estate development -- Thailand -- Bangkok Housing -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีที่ดินในความดูแลจำนวนมาก และมีการจัดประโยชน์หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งคือการจัดให้ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางเช่าเพื่ออยู่อาศัย ปัจจุบันใช้การประยุกต์แนวคิดบ้านมั่นคงที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) คิดค้น มาดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย บริบทผู้เช่าและพื้นที่ของสำนักงานฯ แต่ยังไม่มีการติดตามประเมินผล มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษานโยบาย และเป้าหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ 2) ศึกษากระบวนการประยุกต์แนวคิดบ้านมั่นคง 3) ศึกษาผลการดำเนินงานประยุกต์แนวคิดบ้านมั่นคง 4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนากระบวนการการดำเนินงาน โดยศึกษากรณีศึกษา 3 ชุมชน คือ ชุมชนร่วมสามัคคี ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา และชุมชนเทพลีลา ในพื้นที่บริเวณซอยรามคำแหง 39 ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัย เพื่อศึกษาแนวคิดบ้านมั่นคงก่อนและหลังการประยุกต์ โดยออกแบบกระบวนการวิจัย ด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) นโยบายและเป้าหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ มีพัฒนาการในการดูแลผู้อยู่อาศัยในลักษณะชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์แต่ละยุคสมัย ซึ่งปัจจุบันมีเป้าหมาย คือ 3S Survival (การอยู่ดีมีสุข) Self-reliance (การพึ่งพาตนเอง) และ Sustainable (การอยู่อย่างยั่งยืน) แต่ปัจจุบันยังไม่มีการแปลงเป้าหมายสู่การนำไปปฏิบัติ และยังไม่มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน 2) การศึกษากระบวนการประยุกต์ พบว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการประยุกต์กระบวนการทั้งหมด 10 ขั้นตอนจาก 11 ขั้นตอน โดยยังคงกระบวนการหลักของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างครบถ้วน และทำการประยุกต์ในรายละเอียดและวิธีการ โดยมีแนวทางในการประยุกต์คือ เพิ่มกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสในการกำหนดแนวทางการพัฒนา เพิ่มการกระจายอำนาจ เพิ่มหน่วยงานภายนอกและผู้เชี่ยวชาญในบางกระบวนการ และเพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ผลการดำเนินงานประยุกต์ พบว่า ผลการดำเนินงานที่ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ พบว่าประสบความสำเร็จ ผู้อยู่อาศัยมีทัศนคติที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างช่วงก่อนและหลังการพัฒนา 4) ผลจากกระบวนการประยุกต์สอดคล้องกับเป้าหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ และพบว่า กระบวนการประยุกต์บางอันสามารถบรรลุเป้าหมายของสำนักงานฯได้อย่างครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน แต่บางกระบวนการประยุกต์สามารถบรรลุเป้าหมายได้เพียงบางด้านเท่านั้น ผลจากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า 1) ควรมีการกำหนดโยบาย กำหนดคำนิยามและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถแปลงนโยบายและเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติได้ 2) ควรมีการทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับแนวคิดบ้านมั่นคง เพื่อสามารถออกแบบกระบวนการที่มีความสอดคล้องทั้งแนวคิดบ้านมั่นคง และนโยบายเป้าหมายของสำนักงานฯมากยิ่งขึ้น 3) ควรมีการติดตามประเมินผลโครงการทั้งในอดีตและที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อทราบข้อจำกัดปัญหา และอุปสรรคของกระบวนการประยุกต์ นำไปสู่การถอดบทเรียน การบันทึกถ่ายทอดความรู้ และควรมีการจัดทำเป็นคู่มือบ้านมั่นบ้านคงของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เอง |
Other Abstract: | The Crown Property Bureau (CPB) has an amount of land under its authority and makes use of this property in various ways. One approach by the CPB is to provide affordable rental housing for the lower- and middle-income populations. A recent strategy is the application of Baan Mankong concept which aligns renters' needs with CPB property potential. However, there has not yet been an evaluation of this procedure. This thesis aims to examine the following: (1) Policy and goals of the CPB; (2) Process of application of the Baan Mankong concept; (3) Outcomes of application of the Baan Mankong concept; and (4) Guidelines for improving implementation of the strategy. This research conducted case studies of three communities: Ruam Samakkhi, Rung Manipatana, and Thepleela which are situated in the Ramkamhaeng Soi 39 Area that represents pilot sites for CPB's community development projects based on the Baan Mankong concept. The research methodologies are the review of related documents and collected primary data by observation, and in-depth interviews and small group discussion with the principal informants. The research findings are: (1) The CPB policy and goals have continued to evolve over time, and have been adjusted to suit the changing environment and trends. At the time of this evaluation, the aim of the CPB focused on the 3 S's: Survival, Self-reliance, and Sustainability. However, there are no specific guidelines for implementation of the 3 S's. There is no set of indicators and targets against which to evaluate progress; (2) The CPB follows a ten-step process out of 11 steps incorporates the full set of principles of Baan Mankong concept of the Community Organizations Development Institute (CODI). The CPB steers implementation to serve its goals and objectives. There are emphasizes community participation in the process, decentralizes decision-making and authority, promotes self-learning, and recruits external agencies and experts as part of the team for some steps; (3) Based on the observations, interviews, and discussion in this evaluation research, the CPB pilot project has been a success. The residents feel they are better off than before the project; (4) Project implementation is consistent with the goals of the CPB. The overall process of applying the strategy met the 3 S's policy. However, some components were not successful to meet all 3S. Based on the findings, the following recommendations are proposed: (1) There should be clear definition of terms and indicators for CPB's policy to guide the implementation; (2) There should be more in-depth understanding of the Baan Mankong concept to inform the design of the implementation process of CPB to help align the Baan Mankong strategy with the CPB goals and objectives; (3) There should be a more thorough monitoring and evaluation of the past and current implementation and lessons learned to develop CPB's community development process itself and should produce a handbook with guidelines for implementation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50504 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.550 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.550 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773313525.pdf | 30.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.