Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50512
Title: การจัดการที่จอดรถยนต์ของโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง
Other Titles: Management of hospital parking facilities : a case study of six hospitals in Bangkok
Authors: นวรัตน์ อุดมเวทยนันท์
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th,Sarich.C@chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาล
ที่จอดรถ
อาคารที่จอดรถ
สถาปัตยกรรมโรงพยาบาล
Hospitals
Parking lots
Park buildings
Hospital architecture
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่จอดรถเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความสำคัญและต้องมีการจัดการให้เพียงพอเพื่อรองรับต่อปริมาณผู้มาใช้บริการโรงพยาบาล การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการที่จอดรถยนต์ของโรงพยาบาล การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษาโรงพยาบาล จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระรามเก้า โรงพยาบาลพญาไท 2 และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช โดยด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจและสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลกรณีศึกษามีการจัดเตรียมที่จอดรถสำหรับผู้ใช้บริการประเภทต่างๆ ทั้งภายในโรงพยาบาลและภายนอกพื้นที่โรงพยาบาล โดยพบว่าโรงพยาบาลรัฐบาลจัดตำแหน่งที่จอดรถสำหรับบุคลากรภายในอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลและจัดสรรที่จอดรถเพื่อรองรับกลุ่มบุคคลภายในโรงพยาบาลเป็นหลัก โดยจัดที่จอดรถให้บุคคลภายนอกที่มาใช้บริการอยู่ภายนอกพื้นที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชนจัดตำแหน่งที่จอดรถและจัดสรรที่จอดรถรองรับกลุ่มบุคคลภายนอกที่มาใช้บริการเป็นหลักให้อยู่ภายในพื้นที่โรงพยาบาล การจัดที่จอดรถสำหรับบุคคลภายในพบว่าโรงพยาบาลทั้ง 6 แห่งให้ความสำคัญสำหรับที่จอดรถตำแหน่งผู้บริหารและแพทย์ ที่จอดรถรถฉุกเฉิน โดยจัดตำแหน่งที่จอดรถที่อำนวยความสะดวกมากที่สุด ลักษณะการดำเนินการจัดการที่จอดรถพบว่าจำแนกโครงสร้างการจัดการที่จอดรถของโรงพยาบาลได้ 3 รูปแบบ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลมีโครงสร้างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารงานของโรงพยาบาล การจัดชุดปฏิบัติงานพบว่าจุดปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย 3 ตำแหน่ง คือ ประจำจุดทางเข้าออกที่จอดรถ ประจำชั้น และเดินตรวจการณ์พื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดวางตำแหน่งที่จอดรถของกลุ่มผู้ใช้บริการ จำนวนปริมาณที่จอดรถมีผลต่อการจัดตำแหน่งปฏิบัติงานของงานรักษาความปลอดภัยและการจัดจุดปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมที่จอดรถ ด้านอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลพบว่า มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่เงื่อนไขการให้บริการแต่ละโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลรัฐบาลเก็บค่าบริการในอัตราที่ต่ำ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้มาใช้บริการจนเกินไป สำหรับโรงพยาบาลเอกชนไม่มีการเก็บค่าที่จอดรถสำหรับบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาล จากการศึกษาสรุปได้ว่าการจัดการที่จอดรถยนต์ของโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมที่จอดรถให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุดเท่าที่สามารถจัดหาได้ เพื่อรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการทุกประเภท พร้อมทั้งจัดสรรสัดส่วนของที่จอดรถและกำหนดตำแหน่งที่จอดรถของผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม เพื่อนำไปสู่การพิจารณาการนำระบบเทคโนโลยีในการจัดการที่จอดรถเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องในการจัดชุดปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัย ที่จอดรถยนต์ของโรงพยาบาลในปัจจุบันและอนาคตมีความสำคัญที่ควรมีการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบต่อไป
Other Abstract: Car parking facility is significant and requires sufficient management for supporting users who visiting the hospital. The objectives are studying the extent of hospital management for car parking by empirical research as case studies from 6 hospitals, such as Siriraj Hospital, Ramathibodi Hospital, Chulalongkorn hospital, Praram 9 hospital, Phyathai 2 Hospital and BNH Hospital by mean of collecting data from surveying and interviewing, afterward, the data will be analyzed and discussed. From the case studies, the hospital provided parking areas for various types of user, both inside and outside the hospital. It found that the public hospitals provide car parking for the hospital staffs inside buildings and allocate some parking to primarily accommodate hospital employees. Mostly, for the visitors, car parking will be serviced outside areas. This is different from the car parking location of private hospital that allocating parking area inside the buildings for support the visitors who use the service primarily. Providing car park for the internal people, found that all six hospitals give priority to executives, medical staffs and ambulances. These areas are the easiest part for approaching. The aspect of car park management is divided car park management structure to 3 forms, depends on different administration policy, so individual hospital has its own structure. There are 3 locations for the setting of operational security team, car parking main entrance, each building floor and observing parking areas, will depend on car park positioning for users and the number of parking areas affect to the operational security team assignment that related to the tools, using to control car parking. We found that the rates of car park are different, depending on the condition of the services . The public hospitals charge lower rate for parking, in order not to trouble whoever using parking areas, on the contrary, Private hospitals do not charge the outsiders who visiting the hospital. The study concluded that the hospital car park management requires adequate areas to meet the requirement of user as possibly as it can by handling and satisfy of all requirements. The allocation of parking space and designated parking position of the service appropriately leading to the consideration of applying technology management systems for the effectiveness, in accord with the setting of operational security team at the hospital car parking by present and future priorities should be planned and managed as a system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50512
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.545
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773564725.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.