Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50543
Title: การศึกษาความแตกต่างในความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดในผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย
Other Titles: Study of Difference in Carotid Intima Media Thickness among HIV-Infected and Non-HIV-infected Adults in Thailand
Authors: สุวพรรณ ปลื้มคณิตกุล
Advisors: โอภาส พุทธเจริญ
อรอุมา ชุติเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: opassid@gmail.com,Opass.P@chula.ac.th
aurauma@yahoo.com
Subjects: หลอดเลือดแดง
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Arteries
HIV-positive persons
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำเร็จในการพัฒนายาต้านไวรัสเพื่อการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากจะช่วยลดอัตราตายจากเอดส์แล้ว ยังลดอุบัติการณ์การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและลดมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมีอายุขัยไม่แตกต่างจากประชากรปกติ เป็นเหตุให้อุบัติการณ์ของการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดพบสูงขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี การตรวจวัดความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดได้นำมาใช้ในการประเมินการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรทั่วไป มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มการเกิดความหนาของหลอดเลือดแดงคาโรติดมากกว่าประชากรปกติ อย่างไรก็ตามการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติ และยังไม่มีการศึกษาที่ทำในประชากรผู้ใหญ่ไทยถึงความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดจึงก่อให้เกิดการศึกษานี้ขึ้นมา ผู้วิจัยจึงได้จัดทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อเปรียบเทียบผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ HIV-NAT (Netherlands-Australia-Thailand) และกลุ่มควบคุมจากผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติด และวัดค่าการอักเสบของร่างกาย (hsCRP) ผลการศึกษา จากผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 90 คน เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 60 คนและอาสาสมัครที่ไม่ติดเชื้อ 30 คน อายุเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มเท่ากับ 54.14 ปี (IQR 52-60) และ อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.14:1 (เพศชายร้อยละ 53) ความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยของผู้ติดเชื้อเอชไอวี 0.665 มม. และกลุ่มควบคุม 0.649 มม. (p=0.277) และพบว่าจากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีผู้ที่มีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง พบมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (48.3% vs. 26.7%; p=0.049) ส่วนค่าการอักเสบของร่างกาย (hsCRP) ไม่แตกต่างกัน (1.59 vs. 1.46 mg/dl; p=0.33) และไม่สัมพันธ์กับความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติด เมื่อวิเคราะห์ถดถอยเอกนาม เพศชาย อัตราส่วนรอบเอวรอบสะโพกที่มาก การสูบบุหรี่และความดันโลหิตสูงพบว่ามีความสัมพันธ์กับความหนาของหลอดเลือดแดงคาโรติด แต่เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุนามพบว่ามีเพียงเพศชายและความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการศึกษา จากการศึกษานี้พบเพียงผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยที่ควบคุมการติดเชื้อได้เป็นอย่างดีมีความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดไม่ต่างจากผู้ไม่ติดเชื้อที่เพศและอายุใกล้เคียงกัน และพบว่าเพศชายและความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติด การศึกษาในอนาคตควรมีการตรวจติดตามในระยะยาวของความหนาของอินทิมามีเดียของหลอดเลือดแดงคาโรติดเพื่อหาความสัมพันธ์ของความหนาของหลอดเลือดแดงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรกลุ่มนี้ต่อไป การควบคุมความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้อควบคุมในการป้องกันการหนาตัวของหลอดเลือดแดงคาโรติดในประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวี
Other Abstract: Background: The successful of combination antiretroviral therapy (cART) contributes to significantly decline not only AIDS related mortality but also the incidence of opportunistic infection and AIDS related malignancy. In HIV infected patients who adhering to cART have the same life expectancy as normal population. As the result, the incidence of non-communicable diseases (NCDs), e.g. cardiovascular diseases (CVDs), in HIV infected patients is increasing. From previous studies, carotid intima-media thickness (cIMT), a predictor for the risk of CVDs and mortality in general population, was increased and atherosclerosis was more prevalent in HIV-infected patients than normal population. However, there has been no study of cIMT comparing HIV-infected and normal adults in Asian population. Patients and methods: A cross sectional study was conducted at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) and The HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration (HIV-NAT), Bangkok, Thailand. The study aimed to determine the differences in cIMT and serum high-sensitivity C-reactive protein (hsCRP) between HIV-infected adults on cART and non-HIV-infected controls. Results: A total 90 adults enrolled, 60 were HIV-infected. The overall median (IQR) age was 54.15 (52-60) years, and the male-to-female ratio was 1.14:1. The mean overall cIMT of common carotid arteries were not different between groups (0.665 mm vs. 0.649 mm; p=0.277). Hypertriglyceridemia was found more in HIV-infected patients (48.3% vs. 26.7%; p=0.049). Serum high-sensitivity C-reactive protein was not different between groups (1.59 vs. 1.46 mg/dl; p=0.33) and not correlated with cIMT. In univariate analysis, male gender, waist hip ratio, smoking and hypertension were found to be correlated with increased cIMT. From multivariate analysis, only male gender and hypertension, the traditional risk factor, were correlated with cIMT. Conclusions: In this study, HIV-infected patients had significant more hypertriglyceridemia. Well controlled HIV-infected patients had comparable cIMT to general age and sex-matched adults. Hypertension and male gender were the major risk factors in increased cIMT. Longitudinal study is needed to monitor the cIMT and plague progression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50543
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.718
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.718
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774107830.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.