Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50624
Title: การตัดสินใจเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ายาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์
Other Titles: DECISION MAKING MODELS OF DISTRIBUTION CHANNELS FOR ANIMAL HEALTH PRODUCTS
Authors: วิรยศ วชิรโภคา
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.S@Chula.ac.th,Kamonchanok.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ มีผลต่อรายได้และชื่อเสียงของบริษัท หรือองค์กร การตัดสินใจเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจึงมีความสำคัญเช่นกัน โดยการวิจัยฉบับนี้ประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปแบบของช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมสำหรับสินค้ายาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนารูปแบบอย่างชัดเจนในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยในการดำเนินกิจการในธุรกิจยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ใดที่มีความสำคัญต่อลูกค้าทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ ร้านค้า และร้านเพ็ทช๊อป (pet shop) และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยการศึกษาได้ทำการสอบถามผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์จำนวน 12 ราย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือการตัดสินใจ 3 ประเภทได้แก่ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process: AHP) กระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์ (Analytical Network Process: ANP) และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis)จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมได้แก่ ขายตรงโดยบริษัท สำหรับสินค้าเพื่อฟาร์มเลี้ยงสัตว์โรงพยาบาลสัตว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ส่วนสินค้าสำหรับร้านค้า และร้านเพ็ทช็อป ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมได้แก่การขายโดยบริษัทไปยังร้านค้าส่งและร้านค้าปลีก ทั้งนี้ร้านค้าส่งยังสามารถกระจายสินค้าไปยังร้านค้าส่งได้ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้พิจารณาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในธุรกิจยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ได้แก่ การตลาดและวิชาการ งานขาย และความน่าเชื่อถือ โดยสรุปการศึกษาในครั้งนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม แต่ละประเภทของลูกค้าในธุรกิจเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดปะโยชน์ และยังสามารถนำปัจจัยที่สำคัญไปพัฒนาองค์กรต่อไป
Other Abstract: Distribution Channel is one of most important processes in the businesses, value and reputation created factor. Decision making on distribution channel also important, in this study, the objectives to identify the distribution channel that suitable for the animal health business. No models have been developed to comprehensively assess the viability of different marketing channels for business. Moreover, identifying criterion that are important for the animal health business, in term of 4 types of customers: livestock farms, animal hospitals, farm shops and pet shop, and feed miller, need to be studied. In this study, market information, feedback, opinions were gathering from 12 experienced businessmen in animal health industry. Multi-Criteria Decision Making methods that we used in this study are Analytical Hierarchy Process (AHP), Analytical Network Process (ANP) and Conjoint Analysis (CA). We found the direct sale model is the most important distribution channels for livestock farms, animal hospitals, and feed miller. While whole sellers, farm shops and pet shop, direct sale model is also suitable for these customers. Additional, farm shops and pet shops can also be distributed by whole seller. For the criterion, we also found that marketing-technical is the most impact to the business while sale activities are the second priority. All in all, this study can identify the distribution model that suitable for all types of customers which is can be the guideline for who are working in this industry. Moreover, we knew the important activities that can impact the performance of the business, this can lead us to know exactly what the area need to be improved.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50624
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787232720.pdf13.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.