Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51007
Title: | การจัดการงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พิเศษตามมาตรฐานอาคารเขียว |
Other Titles: | Construction management of extra large buildings projects according to green building standards |
Authors: | มลวิภา เชื้อมี |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ อรรจน์ เศรษฐบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Traiwat.V@Chula.ac.th,triwatv9@gmail.com Atch.S@Chula.ac.th |
Subjects: | โครงการก่อสร้าง การก่อสร้างแบบยั่งยืน อาคารแบบยั่งยืน -- การออกแบบและการสร้าง -- มาตรฐาน Construction projects Sustainable construction Sustainable buildings -- Design and construction -- Standards |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันการก่อสร้างอาคาร ได้ให้ความสำคัญในแนวคิดอาคารเขียวหรืออาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากความต้องการให้อาคารมีการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ในมาตรฐานอาคารเขียว (LEED-NC 2009, LEED-CS 2009 และ TREES-NC)จะมีข้อกำหนดในช่วงการก่อสร้าง โดยเฉพาะอาคารที่ก่อสร้างใหม่จะมีหัวข้อบังคับ ซึ่งกำหนดการดำเนินการป้องกันมลภาวะและสิ่งรบกวนจากการก่อสร้าง และหัวข้ออื่นๆ ที่เป็นคะแนน ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้จะต้องทำควบคู่ไปกับข้อกำหนดและกฎหมายในช่วงการก่อสร้างของประเทศไทย งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษามาตรฐานอาคารเขียวที่เกี่ยวข้องในช่วงงานก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้างโครงการและปัจจัยที่มีผลกระทบ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างตามมาตรฐานอาคารเขียว จากการศึกษากรณีศึกษา 6 โครงการ เป็นโครงการขนาดใหญ่พิเศษที่ก่อสร้างตามมาตรฐานอาคารเขียว โดยศึกษาเฉพาะโครงการประเภท commercials และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น โดยการสัมภาษณ์และสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พิเศษตามมาตรฐานอาคารเขียวต่อไปในอนาคต จากการศึกษาพบว่า งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พิเศษตามมาตรฐานอาคารเขียวมีกระบวนการก่อสร้างเหมือนกับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พิเศษทั่วไป หัวข้อบังคับในการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากการก่อสร้าง สอดคล้องกับมาตรการลดผลกระทบของฝุ่นละอองและมลภาวะที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร ตามการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) การเลือกใช้วัสดุตามมาตรฐานอาคารเขียวมีปัจจัยหลักคืองบประมาณของโครงการ โดยส่วนสำคัญคือการจัดทำและจัดหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานอาคารเขียว เนื่องจากการยื่นขอใบรับรองจะตรวจสอบจากข้อมูลตามเอกสารเท่านั้น ปัญหาที่พบคือการจัดทำและจัดหาเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับผู้รับจ้างเหมา ทำให้ต้องเพิ่มบุคคลากรเข้ามาทำงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะและต้องเผื่อค่าดำเนินการไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการส่วนมากไม่มีประสบการณ์ส่งผลให้เอกสารไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วนทำให้ต้องแก้ไขเอกสารอยู่บ่อยครั้ง และปัญหาด้านอื่นๆ ผู้ผลิตวัสดุในบางหัวข้อไม่มีข้อมูลเอกสารรองรับและวัสดุมีราคาสูง จากปัญหาที่พบมีข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้คือ ควรกำหนดหัวข้อและรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรฐานอาคารเขียวในสัญญา TOR และ BOQ ระบุบุคลากรที่จะมาดำเนินการ เพื่อให้ผู้รับจ้างเหมาเตรียมการดำเนินการอย่างชัดเจน ควรส่งเสริมและให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนและรายละเอียดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาคารเขียวจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการบริหารจัดการเพื่อทำให้โครงการดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงผู้ใช้อาคารมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น |
Other Abstract: | Currently, building construction gives priority to Green Building or Sustainable Building concept because the demand for the building has reduced consumption of resources and energy. Green building standards have requirements during the construction period that have prerequisite credits such as construction activity pollution prevention and Fundamental commissioning of building energy system and other credit that are the score. This study aims to investigate green building requirement in construction period, the construction management, the problem and the impact and to find solutions to those problems. The 6 case study project are extra-large commercials building and located in Bangkok Metropolitan Region. The representative of each project, the designer, the construction manager, the contractor and the green building consultant were interviews and answer the questionnaire. The data were analysed in term of construction management. It found that the extra-large building construction according to green building standard had normal construction process. The main process was construction pollution prevention credits that conform to Environmental Impact Assessment (EIA) report. The difference processes in the green building standard were the green materials selection that depends on the budget of the project and documental data collecting. The document was necessary because the audit committee of green building standard evaluated on the document only. Documentation works took the contractor to add specialist staff so that adds a cost of the project. The inexperienced stakeholder was the problem cause the documents was incomplete that had to edit the details often. Also, some suppliers did not have data for developed paper. Furthermore, the green materials were expensive than normal materials. It is suggested that should specify credit and identify in the construction contract, TOR or BOQ so contractor and construction manager can plan and prepare correctly that can manage efficiency. Moreover, the stakeholders and building users should be supported and educated in Green building issue for understanding and give precedence to the environment impact. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51007 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.527 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.527 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773332425.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.