Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51128
Title: | แนวทางการออกแบบพื้นที่เมืองเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังภายใต้มาตรการการให้สิทธิ์อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่ม |
Other Titles: | Urban spatial design guideline for inundation problems under F.A.R. bonus measures |
Authors: | พฤฒิเชษฐ์ เลิศอุดมพฤกษา |
Advisors: | จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittisak.T@chula.ac.th,jittisakt@gmail.com |
Subjects: | น้ำท่วม การป้องกันน้ำท่วม ผังเมือง Floods Flood control City planning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สภาวะน้ำท่วมในพื้นที่เมืองในปัจจุบันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น อันมีสาเหตุสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศหรือปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ที่ส่งผลให้ภูมิอากาศมีความผิดปรกติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆมีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้สภาวะน้ำท่วมมีความรุนแรงตามขึ้นไปด้วย จนกระทั่งสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับพื้นที่เมือง กรุงเทพมหานคร เป็นอีกเมืองหนึ่งซึ่งประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังโดยมีสาเหตุหลักมาจากฝนที่ตกเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่องกว่าปรกติ ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับการระบายน้ำได้ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนำมาสู่แนวคิดเบื้องต้นในการแก้ปัญหาหรือบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เมือง ผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย มาตรการทางผังเมือง หรือแนวคิดต่างๆ โดยจากการศึกษามาตรการทางผังเมืองที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีมาตรการที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการนำมาศึกษาคือ “มาตรการการให้สิทธิ์อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่ม (F.A.R. Bonus)” ซึ่งเป็นมาตรการที่เอื้อให้เอกชนสามารถทำประโยชน์ให้กับสาธารณะโดยจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยมีกรณีที่เกี่ยวข้องคือ กรณีการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำ ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่ของเอกชนถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาสภาวะน้ำท่วมขังที่เกิดจากน้ำฝนได้จากการชะลอการระบายน้ำจากพื้นที่ต่างๆลงสู่พื้นที่สาธารณะ จึงเป็นที่มาของการวิจัย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำ ในเชิงของความสามารถในการช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้เครื่องมือการคำนวณปริมาตรน้ำ (S.C.S. Model) ซึ่งเป็นการคำนวณปริมาตรน้ำฝนรายวันในพื้นที่ใดๆ โดยอาศัยสถิติและข้อมูลจากสถานีกักเก็บน้ำฝนในพื้นที่นั้น โดยคิดคำนวณจากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการยื่นขอสิทธิ์ เพื่อหาตำแหน่งและปริมาตรของพื้นที่รับน้ำ และสร้างความเชื่อมโยงกับเครื่องมือการออกแบบชุมชนเมืองหรือ Water Sensitive Urban Design เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันของระบบพื้นที่รับน้ำ ผ่านแนวทางการสร้างพื้นที่ระดับต่างๆ คือระดับพื้นที่รอบอาคาร และระดับพื้นที่สาธารณะ ผลสรุปของการวิจัย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำของพื้นที่รับน้ำ ภายใต้มาตรการการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำ และส่วนของแนวทางในการออกแบบพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำให้เหมาะสมกับกายภาพที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับใช้มาตรการ F.A.R. bonus กรณีนี้ ควรเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการในการใช้พื้นที่สูงโดยเฉพาะศูนย์กลางธุรกิจและประสบกับสภาวะน้ำท่วมขัง โดยหากดำเนินการขอรับสิทธิ์และพัฒนาพื้นที่รับน้ำอย่างเต็มศักยภาพแล้ว จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังภายในพื้นที่ได้สูงสุดกว่า 97.75% ซึ่งพื้นที่รับน้ำจำเป็นต้องได้รับการออกแบบด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมต่อบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และควรพัฒนาให้เกิดแผนการพัฒนาพื้นที่รับน้ำในภาพกว้าง เพื่อทำให้พื้นที่รับน้ำสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างเป็นระบบ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
Other Abstract: | Today, flood in urban areas has a tendency to get more intense and cause damage to urban areas around the world. This is caused by climate change which are an occurrence of the change in average global temperature. This change causes the extreme weather and flood to be more severe which is then resulted in massive damage especially in urban areas. Bangkok is another city that faces with flood problems and the primary reason is the long duration and more prolonged continuity of the rain causing the basic infrastructure system to fail to drain the water in time. This leads to an approach of using the legislative tool, city planning measure or urban design to solve flood problems in urban areas. After researching, This research found a potential measure which is “Floor Area Ratio Bonus Measure (F.A.R. Bonus)” This measure allows private organizations to do something of public interest and get benefit in return. That being the case, this research aims to study the efficiency of a measure in terms of its capability to solve the flood problem by using liquid volume calculator (S.C.S. Model). The research started by calculating the capacities of potential areas to find out the maximum capacity of all possible detention areas combined. Then using that information to design the detention area with the concept of "Water Sensitive Urban Design" in order to establish the connection of system of detention areas on both the open space level and the public space level. In conclusion, the result of this research is divided into two parts. First, The efficiency of water detention area under the measure. Second, The area design model for water detention to suit with physical differences of each area. The result shows that the most suitable area to use F.A.R. bonus measure with is the one that has flood problem and has high demand for space. If the measure is being used and the detention area is developed to its full potential, it will alleviate the flood problem in the area by a maximum of 97.75% Anyhow, the detention area needs to be designed with the right tools for each area. And, the development plan for the overall detention area system is needed in order to create a systematic connection between each detention area and solve flood problems in urban area effectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51128 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.535 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.535 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873319425.pdf | 12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.