Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51147
Title: การพัฒนากระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
Other Titles: Development of capacity building process in environmental and health impact assessment for community
Authors: สุทัศน์ ชายทุ่ย
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
สรันยา เฮงพระพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th,psithisarankul@gmail.com
Sarunya.H@Chula.ac.th,hengprs@gmail.com
Subjects: ชุมชน
ชุมชน -- แง่สิ่งแวดล้อม
อนามัยชุมชน
Communities
Communities -- Environmental aspects
Public health
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนากระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EIA/HIA) 2)ประเมินระดับขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA และ3)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA ดำเนินการวิจัยระหว่างสิงหาคม 2556-กันยายน2557 ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อดำเนินการพัฒนากระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA ในชุมชนพื้นที่ตำบลปริก,ตำบลสำนักแต้ว,ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 เพื่อทดสอบร่างกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถฯในพื้นที่ชุมชน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและแบบประเมินขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา,สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ได้มีการพัฒนากระบวนการฯ ระยะที่ 1 สังเคราะห์จนได้ร่างกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA นำไปทดสอบใช้ในระยะที่ 2 ปรับปรุง พัฒนาจนได้แนวทางของกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA 10 ขั้นตอน ขณะที่ผลการประเมินขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA จำนวน 9 ชุมชน โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 10 ข้อ พบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถด้านEIA/HIA ผ่านเกณฑ์ประเมินเกือบทุกเกณฑ์ตัวชี้วัด โดยเฉพาะในส่วนของการประเมินระดับความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักและทักษะการปฏิบัติด้านEIA/HIA ทั้งในกลุ่มแกนนำและตัวแทนชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกระบวนการ อย่างไรก็ตามมีชุมชนบางส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมของตัวแทนชุมชนอย่างเพียงพอในการดำเนินการกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ และ เกณฑ์ประเมินด้านข้อเสนอแผนงาน/โครงการได้รับการบรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่น(ชุมชน/อปท.) นอกจากนี้ปัจจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนในชุมชนด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและศึกษาดูงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านEIA/HIA มากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านหน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาช่วยเหลือ แก้ไข ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยเสนอว่าควรขยายการเพิ่มขีดความสามารถไปยังสมาชิกของชุมชนทุกกลุ่ม รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่นจะต้องเข้ามาช่วยเหลือแกนนำชุมชนและสนับสนุนปัจจัยและทรัพยากรที่จำเป็นให้กับชุมชนด้วย
Other Abstract: The objectives of this action research were 1) to develop capacity building process in environmental and health impact assessment (EIA/HIA), 2) to evaluate the capacity level of community in EIA/HIA, and 3) to explore the factors influencing capacity in EIA/HIA. The research activities were conducted during August 2013-September 2014, which dividing into two phases. Phase I was to perform a development of capacity building processes in EIA/HIA for community in Prick Sub-district, Sumnaktaeo Sub-district and Sumnakkham Sub-district, Sadao District, Songkhla Province. Phase II was to try out the draft of capacity building processes in EIA/HIA for community in Thungnui Sub-district, Kuankalong District, Satun Province. The study data were collected using questionnaires, in-depth interview, participatory observation, focus-group discussion, and capacity checklist form, and all these were analyzed using the content analysis method, descriptive statistics and inferential statistics. The study showed that the guideline of capacity building process in EIA/HIA for community, synthesized from its processes in Phase I and try out in Phase II which consisted of 10-steps components. The evaluation of capacity level of 9 communities was performed by using 10-items, evaluating criteria. We found that most of the communities performed well according to these criteria. The study revealed that they had statistically significant higher scores after the attendance compared to before the attendance (p< 0.05) for knowledge, awareness and practice in EIA/HIA of the community head and community’s representatives. However, a few communities failed to achieve the criterion of sufficient participation of community’s representative in the programs/projects and the criterion of setting the programs/projects into Development Plan of communities or local government organizations. Additionally, the learning of community members by knowledge exchange via activities and study visit was the most influencing factor of capacity building processes in EIA/HIA for community, and the assistance from local government organizations to solve environmental problems was the second. The author suggested extending capacity building in EIA/HIA to all community members. Additionally, the local government organizations should help and support essential resources and infrastructures to the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51147
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.704
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.704
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374678430.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.