Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51161
Title: การพัฒนาระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN ACCREDITATION SYSTEM FOR TEACHER EDUCATION PROGRAM
Authors: ชนิชา ชัยภูมิธนโชค
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kamonwan.T@Chula.ac.th,Kamonwan.T@Chula.ac.th
Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาโดยประยุกต์ใช้การประเมินผลลัพธ์เป็นฐาน 2) พัฒนาระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาโดยประยุกต์ใช้การประเมินผลลัพธ์เป็นฐาน และ 3) ประเมินคุณภาพระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาโดยประยุกต์ใช้การประเมินผลลัพธ์เป็นฐาน โดยแบ่งขั้นตอน 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนามาตรฐาน เกณฑ์และตัวบ่งชี้ของระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการรับรองวิทยาฐานของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา 1) ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งทำหน้าที่รับทราบหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3,494 คน 2) การทดลองใช้ระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ใช้กับกลุ่มทดลอง ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 4 หลักสูตร และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 หลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ได้แก่ บริบทของสถาบันอุดมศึกษา การออกแบบหลักสูตร การดำเนินการหลักสูตร ผลลัพธ์ของหลักสูตร การประกันคุณภาพ และ 46 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์มีความสอดคล้องกัน 2. ระบบการรับรองวิทยาฐานของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้ระบบการรับรองวิทยาฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์กับสถาบันอุดมศึกษา พบว่า สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีบางตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินคุณภาพระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ตามมาตรฐานของงานประเมิน พบว่า ผลประเมินระบบการรับรองวิทยฐานะของหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 4 ด้าน คือ มาตรฐานการใช้ประโยชน์ มาตรฐานความเป็นไปได้ มาตรฐานความเหมาะสม และมาตรฐานความถูกต้อง มีผลการประเมินคุณภาพในระดับมากทุกประเด็น
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the standards, indicators, and criteria for accreditation system for teacher education programs in higher education institutions by applying an outcome-based assessment, 2) to develop the accreditation of teacher education programs system in higher education institutions by applying the outcome-based assessment, and 3) to assess the quality of the developed accreditation system for teacher education programs. There were 3 phases of this study; i.e., phrase 1: the developments of indicators and criteria for accreditation system for teacher education programs; phrase 2: the development of the accreditation system for teacher education programs; and phrase 3: the trial and assessment of the accreditation system for teacher education programs. The population were: 1) 3,494 executive, administrators, and faculties of the higher education institutions in Thailand and staffs of the Office of the Higher Education Commission who take the responsibility for the approval of education institutions’ curriculum, 2) the trial for the accreditation system for teacher education programs system was used with the trial groups in 4 curriculums of the public universities and 4 curriculums from the public, private, and Rajaphat universities’ secondary data. Mean, standard deviation, median, inter quartile range, and confirmatory factor analysis were employed in this research. Findings were as follows: 1. Standards, indicator, and criteria for accreditation system for teacher education programs consisted of 5 domains, i.e., institutional context, program design, program operation, program outcomes, and quality assurance. There were 46 indicators in the system. The developed standards, indicators, and criteria were coherent. 2. The development system for accreditation of teacher education programs consisted of 4 components, i.e., input process output and feedback. It was found that the developed system was suitable in a high to very high levels. 3. The finding of the trial of the accreditation system for teacher education programs revealed that the higher education institutions’ program operation met the criteria but there were a few areas which did not meet the criteria. The assessment results of the quality of the developed accreditation system for teacher education programs showed that the developed system met the 4 standards (utility, feasibility, propriety and accuracy standards) in the high levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51161
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384452527.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.