Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51434
Title: | จดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ต้นเค้าการเขียนสารคดีท่องเที่ยวยุคแรกของไทย |
Other Titles: | Daily record of King Rama V : beginning of travelogue writing in the first period of Thailand |
Authors: | สรตี ใจสอาด |
Advisors: | สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | suvanna47@yahoo.com |
Subjects: | จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 จดหมายเหตุ -- ประวัติและวิจารณ์ การเขียนสารคดี Chulalongkorn, King of Siam, 1853-1910 Archives -- History and criticism Feature writing |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะการเขียนจดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของจดหมายเหตุรายวันชุดนี้ ผลการศึกษาพบว่า พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุรายวันชุดนี้ด้วยกลวิธีการประพันธ์ต่าง ๆ คือ ทรงใช้สำนวน โวหาร ภาพพจน์ คำทับศัพท์ และการเรียบเรียงข้อความที่มีเสียงสัมผัส มีดุลแห่งความหมาย และน้ำหนักของเสียงเท่าเทียมกัน ในการนำเสนอข้อมูลในเรื่อง ความเชื่อ ค่านิยม และวิถีชีวิตอันสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมของยุคสมัยนั้นในสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จประพาส ลักษณะเฉพาะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุรายวันชุดนี้ ได้แก่การใช้ข้อมูลที่แท้จริง ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ในด้านภูมิประเทศ บ้านเมือง เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งยังทรงแทรกนิทาน ตำนานเกี่ยวกับสถานที่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อย่างครบถ้วน พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ง่าย และชัดเจนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้สะดวก และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินด้วยการใช้คำสัมผัส การแทรกอารมณ์ขัน และการแทรกคำประพันธ์ พระราชนิพนธ์ชุดนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์และภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ประกอบไว้ในเล่มช่วยให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพที่ชัดเจน ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเขียนสารคดีท่องเที่ยวในปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่ชัดเจนเป็นแบบแผน จึงทำให้เห็นได้ว่า พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุรายวันชุดนี้ อาจถือได้ว่าเป็นต้นเค้าการเขียนสารคดีท่องเที่ยวของไทยในสมัยต่อมา |
Other Abstract: | The Objective of this thesis is to study and analyze writing features of the daily record of King Rama V, which is the beginning of travelogue writing in the first period of Thailand. The study reveals that King Rama V wrote the daily record with several techniques, such as idiomatic expressions, figures of speech, non-translated vocabularies, rhymes, balance of meaning and sound stress patterns, in order to present the message on beliefs, value, and way of living all of which disclose the culture at that period of time. King Rama V wrote the daily record from facts which consist of information about places, geography, society, major events in local history, way of living, culture and tradition. The record include tales and legends of places to provide readers with complete information. He also used rhyme, humor and poem from time to time so that his writing is easy to read and understand. Moreover, the daily record contains photographs of King Rama V and picture of places which evoke the readers’ imagination. These mentioned characteristic similar to the rule of travelogue writing in the present time, in spite of the fact that such rules did not exist during the reign of King Rama V. Thus, it can be concluded that the present rules of travelogue writing conform with the writing feature found in the daily record of King Rama V which might be the origin of Thai travelogue writing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51434 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soratee_ja.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.