Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5159
Title: ระยะห่างจากถนนที่ปลอดเสียงรบกวนจากการจราจร
Other Titles: Distance from road without traffic noise annoyance
Authors: ศรายุทธ จิตรานนท์
Advisors: นพภาพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เสียงรบกวนจากการจราจร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาเพื่อหาระยะห่างจากถนนที่ปลอดเสียงรบกวนจากจราจร ดำเนินการโดยตรวจวัดค่าระดับเสียงในพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชนหนาแน่นมาก พื้นที่ชุมชนหนาแน่นปานกลาง พื้นที่ชุมชนหนาแน่นน้อย โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 2 แห่ง สำหรับชุมชนแต่ละประเภท และได้ตรวจวัดระดับเสียงและปริมาณการจราจรของถนนสายหลัก ซึ่งใกล้กับพื้นที่ศึกษา จำนวน 6 สาย ได้นำข้อมูลระดับเสียงและปริมาณการจราจรมาปรับแก้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ FHWA เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เมื่อนำค่าระดับเสียงเฉลี่ย (L[subscript eq]) ที่คำนวณได้จากแบบจำลอง FHWA ที่ได้ปรับแก้แล้ว มาใช้คำนวณค่าระดับการรบกวน (L[subscript eq]-L[subscript 90]) จากเสียงจราจร พบว่า พื้นที่ชุมชนหนาแน่นมาก มีค่าระดับการรบกวนสูงกว่าพื้นที่ชุมชนหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ระยะห่างจากถนนที่ปลอดเสียงรบกวนจากจราจรในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นมาก มีค่าไม่น้อยกว่า 400 เมตร และสำหรับพื้นที่หนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อยบางพื้นที่ มีค่าไม่น้อยกว่า 300 เมตร จากถนนสายหลัก จากค่าระดับเสียงที่คำนวณได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และค่าระดับเสียงจากการตรวจวัด สามารถนำมาสร้างสมการ เพื่อหาระยะห่างจากถนนที่ปลอดเสียงรบกวนจากการจราจร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) ดังนี้ Y = 1567.45 - 50.509(X[subscript 1]) + 21.67(X[subscript 2]) เมื่อ Y = ระยะห่างจากถนนที่ปลอดเสียงรบกวนจากการจราจร หน่วยเป็นเมตร X[subscript 1] = ค่าระดับเสียง L[subscript 90] หน่วยเป็น dBA X[subscript 2] = ค่าระดับเสียงรบกวนจากการจราจร L[subscript eq] หน่วยเป็น dBA
Other Abstract: The study to investigate the distance from road without traffic noise annoyance was done by measuring noise level in three types of residential area classified as high-medium-and low-density residential areas. The data were collected at two sampling sites in each type of residential area. The noise level and traffic volume were measured at six main roads near to the sampling sites. The traffic volume and noise level data were used to validate FHWA noise prediction model. The equivalent noise level (L[subscript eq]) calculated by validated FHWA noise prediction model were used to calculate the degree of noise annoyance (L[subscript eq]-L[[subscript 90]) from traffic noise. It was found that the degree of noise annoyance in high-density residential area was higher than medium-and low-density residential areas. The distance from road without traffic noise annoyance is more than 400 meters for high-density residential area. In case of medium-and low-density residential areas, the distance should be more than 300 meters from main roads. The equation to calculate the distance from road without traffic noise annoyance was developed from calculated and measured noise data by Multiple Linear Regression Analysis as follow : Y = 1567.45 - 50.509(X[subscript 1]) + 21.67(X[subscript 2]) Where Y stands for distance from road without traffic noise annoyance ; m X[subscript 1] stands for hourly background noise as L[subscript 90] ; dB(A) X[subscript 2] stands for hourly traffic noise level as L[subscript eq] ; dB(A)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5159
ISBN: 9741721714
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarayuth.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.