Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51935
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำกับการเกิดภาวะ เม็ดเลือดขาว ชนิดนิวโทรฟิลต่ำจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดครั้งแรกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
Other Titles: Association between hypoalbuminemia and severe neutropenia followng the first cycle chemotherapy in breast cancer patients
Authors: หทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Virote.S@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็งเต้านม
เคมีบำบัด
Breast cancer
Chemotheraphy
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำหลังการรักษาด้วยเคมีบำบัดพบได้ตั้งแต่การรับยาครั้งแรกนำไปสู่การลดขนาดยายาเคมีบำบัดส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา ภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงสภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำและปัจจัยเสี่ยงอื่น กับการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดครั้งแรกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วิธีการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาในรพ.จุฬาลงกรณ์ด้วยยาเคมีบำบัดด็อกโซรูบิซิน 60 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร และซัยโคลฟอสฟาไมด์ 600 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรเป็นครั้งแรก โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านตัวผู้ป่วย โรคมะเร็ง และตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนได้รับยาเคมีบำบัดรอบแรก จากนั้นติดตามการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ และการเกิดไข้จากภาวะนี้หลังได้รับยาเคมีบำบัด ผลการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 75 ราย พบการเกิดเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำระดับ 3 จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 24) ระดับ 4 จำนวน 45 ราย (ร้อยละ 60) และเกิดไข้ 10 ราย (ร้อยละ 13) ไม่มีรายใดที่มีภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ เมื่อศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงอื่นเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ตัวโรคมะเร็งเต้านม และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนได้รับยาเคมีบำบัด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ ส่วนการมีระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำตั้งแต่ก่อนการรักษาสัมพันธ์กับการเกิดไข้จากภาวะเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโทรฟิลต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.031) สรุปผลการศึกษา ไม่พบความสัมพันธ์ของภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ รวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางคลินิกอื่นกับการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ การทำนายการเกิดภาวะนี้อาจต้องอาศัยการศึกษาระดับโมเลกุล เช่น ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเมตาบอลิสมของยา
Other Abstract: Background: Neutropenia following chemotherapy administration may frequently lead to a life-threatening infection. Unanticipated episodes of neutropenia may occur following the first cycle chemotherapy. Hypoalbuminemia is related with malnutrition and may be associated with severe neutropenia. Objective: Aim of this study was to evaluate the association of hypoalbuminemia and occurrence of chemotherapy induced severe neutropenia Method: We prospectively collected data of breast cancer patients who received treatment doxorubicin and cyclophosphamide (AC) regimen for any stage at the Oncology Unit. Correlations between patient’s characteristics and the occurrences of severe neutropenia, febrile neutropenia (FN) were analyzed. Result: Seventy-five breast cancer patients were included in this study. After the first cycle AC, 24% and 60% of patients developed grade 3 and 4 neutropenia respectively and 13% of patients developed FN. None of patients had hypoalbuminemia. Analyses for other predictive factors showed no statistical significant correlation between grade 4 neutropenia and clinical factors. Only low normal baseline absolute neutrophil count was significantly correlated to febrile neutropenia. Conclusion: We found no correlation between hypoalbuminemia and severe neutropenia. Simple clinical factors cannot reliably predict the first cycle FN in breast cancer patients receiving AC chemotherapy. For development of future predictive model, the complex relation within data sets should be taken into account such as novel biomarkers or genetic profiles.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51935
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2141
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2141
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
hataiwan_ra.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.