Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52077
Title: สื่อใหม่กับการสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองในวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554
Other Titles: New Media and the building of citizen engagement during the 2011 flood crisis
Authors: นันทพร เตชะประเสริฐสกุล
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: น้ำท่วม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน -- ไทย
อุทกภัย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน -- ไทย
สื่อสังคมออนไลน์
Floods -- Citizen participation -- Thailand
Social media
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเนื้อหาผ่านสื่อใหม่และวิธีการใช้สื่อใหม่เพื่อการสื่อสารรับมือภัยพิบัติ เครือข่ายการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ของกลุ่มไทยฟลัด และบทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองในการสื่อสารผ่านเครือข่ายสื่อใหม่ของกลุ่มไทยฟลัด ในวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในเว็บเพจ แฟนเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มไทยฟลัด และแฮชแท็กทวิตเตอร์ไทยฟลัด และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มไทยฟลัด อาสาสมัคร และผู้ประสบภัย ผลการวิจัยพบว่า มีการสร้างเนื้อหาผ่านทางทวิตเตอร์มากที่สุด รองลงมาคือเฟซบุ๊ก อันดับสามคือเว็บเพจ ทวิตเตอร์มีความโดดเด่นในการแจ้งข่าวสารและส่งต่อ/แบ่งปันข้อมูลไปสู่บุคคลอื่น เฟซบุ๊กมีความโดดเด่นในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และมีโปรแกรมประยุกต์ให้เลือกใช้งาน เว็บไซต์เป็นแพลทฟอร์มใหญ่ มีการทำงานได้หลากหลายและรองรับงานที่ต้องการการประมวลผลได้ โดยกลุ่มไทยฟลัดเชื่อมโยงให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อใหม่ทั้งสามช่องเพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน และผลในการแพร่กระจายข่าวสารสู่สาธารณชน สื่อใหม่ทั้งสามช่องทางมีบทบาทในช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554 คือ ก.เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ข.เป็นพื้นที่กลางในการร่วมสร้างข้อมูลโดยมวลชน ค.เป็นช่องทางในการประสานความช่วยเหลือระหว่างภาคประชาชน ง.เป็นช่องทางระดมทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ของกลุ่มไทยฟลัดในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554 โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นการสื่อสารแบบเครือข่ายแบบทุกทิศทาง โดยมีลักษณะการไหลเวียนที่เป็นแนวระนาบ ยกเว้นการสื่อสารผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ซึ่งถูกกำหนดให้มีการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เพื่อประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและความปลอดภัยของผู้ลงไปให้ความช่วยเหลือ ในส่วนบทบาทของสื่อใหม่กับการสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะ โดยภาพรวมสื่อใหม่ทั้งสามช่องทางมีบทบาทในการสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองในลักษณะการเข้าไปมีบทบาทมากที่สุด รองลงมาเป็นการ แจ้งข่าวสาร และอันดับสามคือการถามข่าวคราวและให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ และจากการประเมินในภาพรวม กรณีศึกษากลุ่มไทยฟลัดสะท้อนลักษณะการมีส่วนร่วนร่วมในฐานะพลเมืองตามกรอบ IAP2 ในลักษณะของการเสริมพลังภาคประชาชน โดยสื่อใหม่มีบทบาทเป็นทั้งเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือและการเสริมพลังในการทำงานซึ่งกันและกันทั้งภายในกลุ่มไทยฟลัดเอง และระหว่างกลุ่มไทยฟลัดกับสาธารณชน
Other Abstract: This research aims to study 1) the content creation through new media and new media usage for communication 2) communication process among Thaiflood group and 3) citizen engagement in participatory communication process through Thaiflood group during Thailand’s worst flooding in 2011. Methodological techniques include 1) content analysis of webpage and Facebook fan page of ThaiFlood and hashtag from Thaiflood Twitter 2) depth-interview with Thaiflood group, volunteers and the flood victims. Findings show that content has been created through, by ranking order, through Twitter (1st), Facebook (2nd) and webpage (3rd). Twittter played an important role in informing and sharing information to other people, while Facebook played an important role in forming interaction among users and providing applications for users. Website, comparatively a larger platform, enables more inputs and can handle data required computing process. Thaiflood group enables linkage between the three channels of new media during the 2011 flooding by 1) being a source of information 2) being a public sphere for accumulating information from citizen 3) being a channel for cooperation among civic groups and 4) being a channel for mobilizing resource to help flood victims. Nearly all communication patterns used by Thaiflood group were 360-degree networked communication strategy. All Information flows horizontally, except an online form which required verification in order to get correct information to effectively help the victims and to ensure health and safety of staffs. In considering the role of new media, overall, all 3 new media played an integral part in creating engaging citizen by providing a communication platform. Moreover, new media is a news distributing platform and provides emotional support when users exchange their flood situation. A comprehensive evaluation shows that Thaiflood group created citizen engagement according to IAP2 frame by reinforcing civil society. New media is both apparatus and communication channel that integrate cooperation and empowerment of citizen, internally within the group and externally among the public.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52077
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1728
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1728
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nantaporn_te.pdf12.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.