Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52104
Title: การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว
Other Titles: The presentation of sustainable tourismcontentin teavel magaqines
Authors: วิชุดา สายสมุทร
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.C@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยว -- วารสาร
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
Travel -- Periodicals
Sustainable tourism
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และปัจจัยการสร้างเนื้อหาของกองบรรณาธิการของนิตยสาร อ.ส.ท. Nature Explorer และหนีกรุง โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ การศึกษาเนื้อหาที่ครอบคลุมแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทฤษฎีพฤติกรรมแบบแผน และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ได้แก่ บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการและช่างภาพ ผลการวิจัยพบว่า นิตยสารท่องเที่ยวให้น้ำหนักในการนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสนองต่อความพึงพอใจของผู้อ่าน ในการได้รับประสบการณ์อันสวยงามจากแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเพิ่มประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากกว่าเนื้อหาการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและความสำคัญของความเป็นอยู่ของชุมชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่นำไปสู่การปฎิบัติของผู้อ่านตามทฤษฎีพฤติกรรมแบบแผน ผลการวิจัยพบเนื้อหาสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมปริมาณมาก (Behavioral beliefs) คือความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่นำเสนอเนื้อหาสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง (Normative beliefs) คือการให้ความสำคัญต่อบุคคลผู้สนับสนุนการทำพฤติกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุม (Control beliefs) คือเนื้อหาเกี่ยวกับเวลาและโอกาสที่เอื้อให้ผู้อ่านแสดงพฤติกรรมในปริมาณน้อย ทำให้กระบวนการรับรู้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การทำพฤติกรรมไม่เกิดเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอเนื้อหาของกองบรรณาธิการประกอบด้วยการได้รับการสนับสนุนจากโฆษณา ความชำนาญของนักเขียนและช่างภาพ แหล่งข้อมูลมาจากสื่ออินเตอร์เนท ไกด์บุ๊ค หนังสือและสื่อบุคคล แต่ปัจจัยการเข้าใจนิยามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกองบรรณาธิการซึ่งมีความแตกต่างกันไม่มีผลต่อการนำเสนอเนื้อหา ส่วนปัจจัยภายนอกองค์กรคือกระแสสังคม แคมเปญท่องเที่ยวของททท. และความต้องการของผู้อ่าน
Other Abstract: This research examines how travel magazines present content related to sustainable tourism by content analyzing three travel magazines: Osotho Nature Explorer and Nee Krung, and in-depth interviews with editors-in-chief and photographers of the three magazines. Sustainable tourism concept and theory of Planned Behavior are used as schemes to categorize the content. Results indicate that the magazines put more emphasis on present sustainable tourism content to enhance tourists’experience by pre-exposing them to the beautiful scenery and to the local way of life of cultural attraction sites rather than creating awareness about sustainability of tourism sites and about the living condition of local people. The content analysis based on theory of Planned behavior indicates that the presentation of sustainable tourism content is not in line with what suggested by the theory. Most of the content is in support of behavioral beliefs, but not much in support of normative beliefs or control beliefs. Factors affecting the editors’ choice of the content include the sponsorship, the professionalism of writers and photographers, and the availability of the sources of information such as internet, guidebook, textbook especially the person media, but the editor’s understanding of sustainable tourism are not affecting the content. External factors include social climate, the campaign of TAT and readers’ tatse.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52104
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1730
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1730
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vichuda_sa.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.