Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5263
Title: อิทธิพลของความชื้นและแสงแดดต่อการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังในวัด
Other Titles: Effects of moisture and sunlight on mural paintings in temples
Authors: กตัญชลี เวชวิมล
Advisors: สุรพล สุดารา
จิราภรณ์ อรัณยะนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: จิตรกรรมฝาผนังไทย
ความชื้น
รังสืเหนือม่วง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ทราบกันว่าความชื้นและแสงแดดเป็นสาเหตุหลักต่อการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย การศึกษาปัจจัยเหล่านี้ได้เลือกวัดเปาโรหิตย์ให้เป็นตัวอย่างของวัดที่มีการตัดผนังโดยสอดแผ่นเหล็กไร้สนิมเพื่อกันความชื้นจากใต้ดิน และเลือกวัดสุวรรณารามราชวรวิหารเป็นตัวอย่างของวัดที่ไม่ได้ตัดผนังกันความชื้น เนื่องจากวัดทั้งสองอยู่ใกล้แหล่งน้ำและภาพจิตรกรรมอยู่ในสมัยใกล้เคียงกัน โดยมีการศึกษาปริมาณความชื้นบนผนัง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ปริมาณความเข้มแสงบนผนัง และรังสีอัลตราไวโอเลตบนผนัง ส่วนการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถนั้น ศึกษาจากเปอร์เซ็นต์การเสื่อมสภาพและชนิดของเกลือบนผนัง ผลการศึกษายืนยันว่าการตัดผนังกันความชื้นโดยใช้แผ่นเหล็กไร้สนิมฝังในผนังนั้นสามารถกันน้ำซึมจากใต้ดินได้ แต่ยังคงมีปัญหาจากเกลือที่ยังหลงเหลือในผนัง วัดเปาโรหิตย์มีปริมาณความชื้นบนผนังน้อยกว่าวัดสุวรรณารามฯ แต่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศภายในอุโบสถของทั้ง 2 วัดไม่แตกต่างกัน โดยที่วัดสุวรรณารามฯ มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศภายในอุโบสถน้อยกว่าภายนอกอุโบสถ ในขณะที่วัดเปาโรหิตย์มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศทั้งภายในและภายนอกอุโบสถไม่แตกต่างกัน โดยปริมาณความชื้นบนผนังของทั้ง 2 วัด มีความสัมพันธ์แปรตามความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศภายในอุโบสถ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความชื้นบนผนังจะขึ้นอยู่กับ ความสูงจากพื้นของตำแหน่งที่วัดความชื้น ฤดูกาล และทิศที่ตั้งของผนัง สำหรับช่วงเวลาของวันนั้นพบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้นบนผนัง นอกจากนี้พบว่าวัดเปาโรหิตย์มีปริมาณความเข้มแสงและรังสีอัลตราไวโอเลตบนผนังมากกว่าวัดสุวรรณาราม โดยที่การเปลี่ยนแปลงปริมาณความเข้มแสงและรังสีอัลตราไวโอเลตบนผนังขึ้นอยู่กับฤดูกาล ช่วงเวลาของวันและทิศที่ตั้งของผนัง ในวัดเปาโรหิตย์พบว่าปริมาณความชื้นบนผนังมีความสัมพันธ์แปรตามปริมาณความเข้มแสงและอัลตราไวโอเลต แต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก ในขณะที่วัดสุวรรณารามฯ ปริมาณความชื้นบนผนังไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มแสงและรังสีอัลตราไวโอเลต การเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังในวัดสุวรรณารามฯ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์พบว่ามีความสัมพันธ์แปรตามปริมาณความชื้นบนผนัง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มแสงและรังสีอัลตราไวโอเลตบนผนัง ในขณะที่วัดเปาโรหิตย์ เปอร์เซ็นต์การเสื่อมสภาพไม่สามารถหาความสัมพันธ์กับทั้ง 3 ปัจจัยได้ เพราะส่วนล่วงของจิตรกรรม ...
Other Abstract: Moisture and sunlight are known to be the main factors causing deterioration to the mural paintings in Thailand. To study these factors, Wat Paorohit, which already inserted stainless steel sheets into the wall to prevent rising damp, had been selected to compare with Wat Suwannaram Ratchaworaviharn, which did not do so. These two temples were selected since their locations were closed to the water catchments and these two temples were decorated with the same age mural paintings. The study involved moisture on surface wall, relative humidity, light intensity and UV radiation on suface wall. The study on deterioration of the mural painting was the estimation in percentage of deterioration space together with analyzing the component of various salt remained on surface wall. The study revealed that waterproof membrane can prevent rising damp but the problem still exists from the remaining salt on the wall. The moisture on surface wall in Wat Paorohit was lower than in Wat Suwannaram. The relative humidity in the interior of both of temples was not different. The interior relative humidity in Wat Suwannaram was higher than the exterior relative humidity, but the interior humidity in Wat Paorohit was not different from the exterior relative humidity. Moisture on surface wall of both temples related to interior relative humidity. Moisture on surface wall depended on the height levels from ground, seasons and position of the wall. No difference on time of the day for moisture on surface wall. Furthermore, light intensity and UV radiation in Wat Paorohit were higher than Wat Suwannaram. Light intensity and UV radiation depended on seasons, time of the day and position of wall. Moisture on surface wall in Wat Paorohit related to light intensity and UV radiation but in a rather low level. While moisture on surface wall in Wat Suwannaram did not relate to light intensity nor UV radiation. Percentage in deterioration of mural paintings in Wat Suwannaram showed relation to moisture on surface wall but did not show relation to light intensity and UV radiation on the wall. While in Wat Paorohit, percentage in deterioration could not be concluded on the relationships to all of three factors because the lower part of mural paining in this temple used to be cover with mortar. Varieties of salt found on the walls of both temples are composite of building materials, which is not salt from rising damp.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5263
ISBN: 9741312741
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KatunchaleeWe.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.