Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54853
Title: ผลของการออกกำลังแบบนิวโรบิกต่อการรู้คิดและซีรัมบีดีเอ็นเอฟในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติและบกพร่องเล็กน้อย
Other Titles: Effects of neurobic exercise on cognitive function and serum brain-derived neurotrophic factor (BDNF) in the normal and mild cognitive impairment elderly
Authors: ภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
ชัชวาลย์ ศรีสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th,tkritpet@yahoo.com
drweerasak@gmail.com
chatchawan.sri@mahidol.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังแบบนิวโรบิกที่ส่งผลต่อการรู้คิดและซีรัมบีดีเอ็นเอฟ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความสามารถของสมองปกติและบกพร่องเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คืออาสาสมัครผู้สูงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 51 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิก จำนวน 28 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน กลุ่มฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิก ทำการฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิก โดยทำการฝึกวันละ 60 นาที สัปดาห์ละ 2 วัน เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ในสัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 18 โดยใช้ระยะเวลาในการอบรมครั้งละ 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยทำการทดสอบการรู้คิด และซีรัมบีดีเอ็นเอฟในก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มา หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1. หลังการฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิก 24 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุที่ฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิกมีค่าเฉลี่ยของการรู้คิด ซึ่งประกอบด้วยด้านความจำโดยระลึกในทันที (immediate memory) ความจำโดยระลึกได้ภายหลัง (delayed memory) ด้านสมาธิ (attention) ในด้านการเอาใจใส่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ได้นาน ด้านการทำงานของสมองระดับสูง (executive function) ในส่วนการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา (error response) ดีขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 และปริมาณซีรัมบีดีเอ็นเอฟ (serum BDNF) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิก 24 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุที่ฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิกมีค่าเฉลี่ยของการรู้คิด ซึ่งประกอบด้วยด้านความจำโดยระลึกในทันที (immediate memory) และความจำโดยระลึกได้ภายหลัง (delayed memory) ด้านสมาธิ (attention) ในด้านการเอาใจใส่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ได้นาน และด้านการทำงานของสมองระดับสูง (executive function) ในส่วนความคิดยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา (preservative response) ดีขึ้นมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ฝึกออกกำลังแบบนิวโรบิกมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 แต่ปริมาณของซีรัมบีดีเอ็นเอฟมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the effects of neurobic exercise on cognitive function and serum brain-derived neurotrophic factor (BDNF) in the normal and mild cognitive impairment elderly. Fifty – one volunteered male and female elderly adults aged between 60 – 80 years old were divided into two groups: neurobic exercise group (NG; 28 subjects) and control group (CG; 23 subjects). The neurobic exercise group was trained for 60 minutes per day, 2 days a week for 24 weeks. The control group was educated on health care for elderly 3 times during the study (at 6th, 12th and 18th), for two hours each session. Assessment was performed at baseline and after training program. Cognitive function and serum brain-derived neurotrophic factors were statistically analyzed using mean, standard deviation and t-test. The level of significance was considered at the p<0.05. The finding revealed that : 1. After 24 weeks of neurobic exercise training, the elderly adults in the intervention group showed statistically significant improvement in cognitive function scores (immediate memory, delayed memory, attention and error response in executive function) and serum BDNF level when compared to prior performing exercise (p<0.05). 2. After 24 weeks of neurobic exercise training, the elderly adults in the intervention group showed statistically significant improvement in cognitive function scores (immediate memory, delayed memory, attention and preservative response in executive function) compared to those in the control group (p<0.05). There were no significant differences of serum BDNF level among the intervention group and the control group (p>0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54853
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.787
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.787
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478610539.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.