Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54876
Title: กิจกรรมทางกายของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: Physical Activity of Nurse
Authors: อารียา จิรธนานุวัฒน์
Advisors: กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Krit.Po@chula.ac.th,doctorkrit@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างทำงานและในเวลาว่าง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มคนใช้แรงงาน พบมากในช่วงเวลางานมากกว่ากลุ่มคนไม่ใช้แรงงาน แต่การศึกษาระดับของกิจกรรมทางกายในกลุ่มวิชาชีพอย่างเช่นพยาบาล ที่มีสัดส่วนในการทำงานทั้งการใช้แรงและไม่ใช้แรงในตำแหน่งงานที่ต่างกันนั้นยังไม่ชัดเจน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับกิจกรรมทางกายของพยาบาลวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ส่วนที่ 1 การสังเคราะห์หลักฐานงานวิจัยถึงกลยุทธ์ของกิจกรรมที่จัดในสถานที่ทำงาน โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ส่วนที่ 2 การทำเดลฟายแบบปรับปรุง 4 รอบ ร่วมกับใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นถึงระดับความหนักของกิจกรรมพยาบาล ผลลัพธ์ของส่วนที่ 2 นี้ได้ถูกนำมาช่วยในการหาขนาดของการมีกิจกรรมทางกายในการศึกษาแบบสังเกต ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 142 คน และพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 147 คน ที่จัดให้ติดเครื่องวัดกิจกรรมทางกาย เป็นระยะเวลา 5 วัน เพื่อบันทึกจำนวนก้าวที่เกิดขึ้นทั้งชั่วโมงการทำงานและไม่ได้ทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลแบบ Panel data analysis with random effects และพบว่าการใช้ “จำนวนก้าวต่อชั่วโมง” เป็นวิธีการวัดแบบใหม่ การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบมี 11 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยย่อย 220 เรื่องจาก 3 ฐานข้อมูลด้านการศึกษา พบกิจกรรมทั้งหมด 57 กิจกรรม จำแนกกิจกรรมโดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED: 22 กิจกรรม (ร้อยละ 46) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างปัจจัยนำ, 17 กิจกรรม (ร้อยละ 35) ทำให้เกิดการสร้างปัจจัยเอื้อ ส่วนที่เหลือเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างปัจจัยเสริม การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการกำกับนโยบาย การวิจัยเชิงคุณภาพพบ 96 กิจกรรมพยาบาล (80 กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และ16 กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย) จาก 18 หมวดกิจกรรมหลัก (7 หมวดมีความหนักระดับเบา, 10 หมวดมีความหนักระดับปานกลาง และ 1 หมวดมีความหนักระดับหนัก) จำนวนข้อมูลที่เก็บทั้งสิ้น 1,410 คนวัน ภาพรวมจำนวนก้าวเดินของพยาบาลทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่พยาบาลปฏิบัติการมีกิจกรรมทางกายในเวลางานมากกว่าพยาบาลชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าควบคุมตัวแปรกวนทั้ง อายุ อายุงาน และดัชนีมวลกายแล้วก็ตาม เสนอว่าควรสนับสนุนให้มีการเพิ่มกิจกรรมทางกายในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
Other Abstract: Physical activity (PA) can happen during working and leisure hours. While a blue-collar worker clearly has higher PA than a white-collar worker during working hours, the level of PA of some professions including a nurse who has a varying proportional mixture between physical and non-physical tasks across different levels of a profession was unclear. To examine nurse PA level, this study applied both qualitative and quantitative methods. First, a synthesis of evidence on PA intervention strategies in a workplace was done using a systematic meta-review. Second, a four-round modified Delphi technique plus in-depth interviews were conducted to get a better understanding of PA level of nursing tasks. Part of the findings was used to assist in quantifying the magnitude of PA in a prospective observational study in 142 nurse clinical practitioners (NCP) and 147 nurse managers (NM), equipped with an activity tracker on their hip all day for five days to record step counts during their work and non-work hours. Panel data analysis with random effects was performed and a new measure called “step counts per hour” was proposed. Two hundred and twenty studies in eleven systematic reviews and/or meta-analysis were retrieved from three major academic literature databases. Fifty-seven interventions were reviewed and classified using the PRECEDE-PROCEED framework: 22 (46%) focused on predisposing factors, 17 (35%) focused on enabling factors, and the remaining interventions focused on reinforcing, environmental development, and policy regulatory. The qualitative study revealed 96 (80 patient- and 16 non-patient-related) activities in 18 groups of nursing tasks (7 low, 10 moderate, and 1 high intensity). Based on the 1,410 person-day data, NCP and NM had similar overall daily PA level. NCP had significantly higher work-related activity than that of NM, even after adjusted for age, work experience, and BMI. NM should be supported to have more physical activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54876
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.229
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.229
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574926230.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.