Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรศิริ หมื่นไชยศรี-
dc.contributor.authorกิตติยา ศรีวัฒนาปิติกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:20:57Z-
dc.date.available2017-10-30T04:20:57Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54913-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นควรได้รับการแก้ไขและส่งมอบให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยทั่วไปผู้ให้ความช่วยเหลือด้านแอพพลิเคชัน (Application Customer Support) มักจะได้รับข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งาน และข้อคิดเห็นส่วนใหญ่ที่ได้นั้นมักจะปรากฎเป็นภาษาธรรมชาติซึ่งกล่าวถึงข้อบกพร่องและประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรมที่ผู้ใช้งานประสบปัญหา ในกรณีที่มีข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์เกิดขึ้น ทีมผู้พัฒนาจะมีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์เพื่อวางแผนในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ซึ่งจะประกอบด้วยหัวข้อของซอฟต์แวร์ที่ต้องทำการแก้ไขโดยเรียงตามลำดับความสำคัญของข้อพกพร่องที่พบ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอกระบวนการในการจัดลำดับความสำคัญการวางแผนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์โดยมุ่งเน้น 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ คือ ค่าความรุนแรง ค่าความสำคัญ และจำนวนผู้ใช้ที่พบข้อบกพร่องเดียวกัน โดยการค้นหาคีย์เวิร์ดที่แสดงถึงข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ได้มีการประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติ (NLP) โดยแบ่งวิธีการออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือกระบวนการในการหาคีย์เวิร์ดซึ่งแสดงถึงข้อผิดพลาด หรือปัญหาของซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้งานค้นพบ และส่วนที่สองคือกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ของข้อความว่าคีย์เวิร์ดที่แสดงถึงข้อผิดพลาดนั้นระบุถึงการผิดพลาดในเรื่องใดของบริบท การจัดลำดับความสำคัญของซอฟต์แวร์ได้มีการประยุกต์นำกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นหรือเอเอชพี (Analytical Hierarchy Process: AHP) มาใช้ในการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญเพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไข-
dc.description.abstractalternativeDefects generated by users should be fixed and delivered as fast as possible. Generally, application support team gets user feedback reports and user feedback mostly in natural language which explains what and how users experience the problem. In case there are many defects, the developer team has to generate software maintenance plan to schedule defect reparation using their experience. The software maintenance plan mainly consists of the sorted list of defects to be fixed. This paper proposes a method to prioritize software maintenance plan by focusing on 3 impact factors: severity, priority and the number of users who found the same defects. Defect-related keywords are discovered using natural language process (NLP) by analyzing user feedback to extract defect-related keyword. The defect-related keyword is divided to be 2 parts. The first part is opinion keyword classification. The opinion keyword is a keyword to present the problem which user gets experience when software gets used. The second part is text relation keyword. The text relation is the keyword to present the related objective that belongs to those defects from user feedback. Prioritizing software maintenance plan uses Analytical Hierarchy Process (AHP), in order to obtain ranked software maintenance plan. Lastly, the prioritizing software maintenance plan method will be evaluated.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1002-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์-
dc.subjectSoftware maintenance-
dc.titleการจัดลำดับความสำคัญแผนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ใช้-
dc.title.alternativePrioritizing Software Maintenance Plan by Analyzing User Feedback-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมซอฟต์แวร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPornsiri.Mu@Chula.ac.th,Pornsiri.Mu@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1002-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670906021.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.