Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55036
Title: อุปกรณ์ไฮโดรไซโคลนชนิด 3 เฟส เพื่อการแยกของแข็งแขวนลอยและนำกลับน้ำมันจากน้ำเสีย
Other Titles: 3-phase hydrocyclone for suspended solid separation and oil recovery from wastewater
Authors: สุธินี ปฏิรูปานนท์
Advisors: ชัยพร ภู่ประเสริฐ
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyaporn.P@Chula.ac.th,thingtingtam@yahoo.com,thingtingtam@yahoo.com
Pisut.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้อุปกรณ์ไฮโดรไซโคลนชนิด 2 เฟส และไฮโดรไซโคลนชนิด 3 เฟส สำหรับแยกน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันที่มีของแข็งเจือปน รวมถึงพัฒนาไฮโดรไซโคลนให้มีประสิทธิภาพในการแยกที่สูงขึ้น ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าอุปกรณ์ไฮโดรไซโคลนชนิด 2 เฟส ที่ใช้แยก ของแข็ง-ของเหลว แบบเดิมมีประสิทธิภาพการแยกอนุภาค และน้ำมันอยู่ที่ร้อยละ 34.87 และ 15.64 ตามลำดับ จากข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนดังกล่าวส่งผลให้เกิดแนวทางในการพัฒนาไฮโดรไซโคลนด้วยกัน 2 แนวทางดังนี้ 1.เพิ่มความยาวของท่อทางออกด้านบน (Vortex Finder) เพื่อเพิ่มการหมุนวนภายในตัวไฮโดรไซโคลน (Inner Vortex) ให้สูงขึ้น และ 2.ติดตั้งGrit pot ที่ทางออกด้านล่างเพื่อรองรับอนุภาคของแข็งปนเปื้อนน้ำมันมากักเก็บไว้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของอนุภาค และเพิ่มเวลาให้น้ำมันแยกออกจากอนุภาคของแข็งและลอยขึ้นมาบนผิวน้ำจากผลการทดลองพบว่าการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกอนุภาค และน้ำมันของไฮโดรไซโคลนให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 66.06 และ 39.14 ตามลำดับ และการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 และ 2 ร่วมกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกอนุภาคและน้ำมันของไฮโดรไซโคลนให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 95.57 และ 99.92 ตามลำดับ จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาไฮโดรไซโคลนด้วยแนวทางทั้งสองสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแยกน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันที่มีของแข็งเจือปนอยู่ของอุปกรณ์ไฮโดรไซโคลนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้จริง อย่างไรก็ตามไฮโดรไซโคลนชนิด 2 เฟส ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการแยก อนุภาค น้ำมัน และน้ำที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ในกระบวนการเดียว ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ไฮโดรไซโคลนชนิด 3 เฟส ที่สามารถแยก อนุภาค น้ำมัน และน้ำออกจากกันได้ในกระบวนการเดียวจึงมีความเหมาะสมสำหรับการแยกน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันที่มีของแข็งเจือปนมากกว่า จากผลการศึกษาไฮโดรไซโคลนชนิด 3 เฟส พบว่าประสิทธิภาพการแยกอนุภาค และน้ำมันอยู่เพียงร้อยละ 49.93 และ 30.47 ตามลำดับ ซึ่งประสิทธิภาพการแยกที่ต่ำนี้อาจเป็นผลมาจากพารามิเตอร์ที่ใช้ควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดันขาเข้ายังไม่เหมาะสม
Other Abstract: This research aims to investigate the application of hydrocyclone for oil recovery from oily wastewater with suspended solid and to modify hydrocyclone in order to enhance its efficiency. The separation efficiency for suspended solid and oil of the original solid-liquid hydrocyclone were 34.87% and 15.64%, respectively. Due to its limited efficiency, the hydrocyclone was modified by two approaches. First was to lengthen the vortex finder at the overflow to create a stronger inner vortex within the hydrocyclone. Another approach was to install grit pot at the underflow. This grit pot can trap particles those rejected through the underflow. Oil particles then have more time for separating and returning to the overflow. The first approach enhanced suspended solid and oil separation efficiency up to 66.06% and 39.14%, respectively. While the use of the first approach together with the second approach enhanced suspended solid and oil separation efficiency up to 95.57% and 99.92%, respectively. As can be seen from the result, these two approaches can literally enhances the separation efficiency of hydrocyclone when applied for oily wastewater with suspended solid. However, the limitation of this hydrocyclone is that it cannot separate oil suspended solid and water within one cycle of operation. Therefore the use of 3-phase hydrocyclone might be a better option for oily wastewater with suspended solid treatment. Nonetheless, the result shows that the suspended solid and oil separation efficiency of 3-phase hydrocyclone were only 49.93% and 30.47%. The reason might be that the pressure used in the experiment was not high enough.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55036
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1022
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1022
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770478921.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.