Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55277
Title: การตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซ็ทที่แตกต่างกัน
Other Titles: ACUTE POWER OUTPUT AND BLOOD LACTATE CONCENTRATION RESPONSES TO POWER ENDURANCE TRAINING PROTOCOLS USING DIFFERENT INTRA-SET REST
Authors: เมธาวุฒิ พงษ์ธนู
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaninchai.I@Chula.ac.th,C.intiraporn@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย ช่วงอายุ 18-25 ปี ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 15 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ทำการทดลองการตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยการฝึกด้วยน้ำหนักท่าแพระเรลสควอท (Parallel squat) ด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ใช้แรงต้านจากแรงดันอากาศ ที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ ของ 1 อาร์เอ็ม (1RM) ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกแรงเอาชนะแรงต้านอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้การถ่วงดุลลำดับ (Counterbalancing) ใน 4 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขที่ 1 ฝึก 30 ครั้ง โดยไม่มีการพัก เงื่อนไขที่ 2 ฝึก 15 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง เงื่อนไขที่ 3 ฝึก 10 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง เงื่อนไขที่ 4 ฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง โดยจะมีการเจาะเลือดก่อนการทดลองและหลังการการทดลอง 5 นาที นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการวิจัย ผลว่าวิธีการฝึกพลังเฉลี่ยโดยการฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง มีค่าพลังอดทนมากกว่าการฝึก 30 ครั้ง โดยไม่มีการพัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังจากการฝึก 5 นาที ยังมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย วิธีการฝึกพลังเฉลี่ยโดยการฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง มีค่าพลังอดทนมากที่สุดและค่าแลคเตทในเลือดน้อยที่สุด สามารถนำไปใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาพลังอดทนได้
Other Abstract: The purpose of this research was to study and compare acute power output and blood lactate concentration responses to power endurance training protocols using different intra-set rest. Method: Fifteen male undergraduate students aged 18-25 from Faculty of Sports Science Chulalongkorn University performed a parallel squat with a pneumatic resistance. We used a weight of 30% of 1RM by letting the participants do it as quickly as they can. By using sequence balancing (Counterbalancing) in 4 conditions of the resistance and using counter balance for all 4 conditions as follows: Condition1: 30 repetitions without rest. Condition2: 2×15 repetitions with 15 seconds of rest between each 15 repetitions. Condition3: 3×10 repetitions with 15 seconds of rest between each 10 repetitions. Condition4: 6×5 repetitions with15 seconds of rest between each 5 repetitions; with blood testing both before and after training for 5 minutes. For every condition we then analyzed the results and compare it to see the differences between the sample groups. Results: The results of the study of 6×5 repetitions with15 seconds of rest between each 5 repetition; were significantly higher than doing the 30 repetitions without rest course at a rate of .05. However, before the experiment, the level of lactate in the blood was not different but after the experiment of 5 minutes. The lactate in the blood was less with the rate of .05. Summary: The results show that the training of 6X5 repetition with 15 seconds of rest between each 5 repetitions; have the most endurance power and less lactate in the blood. This could be used to train in order to improve power endurance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55277
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.788
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.788
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878318739.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.