Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55952
Title: การพัฒนาโปรแกรมสร้างมโนภาพเชิงโต้ตอบด้วยตัวรับรู้ท่าทางสำหรับระบบจัดการพลังงานในอาคารบนพื้นฐาน IEEE1888
Other Titles: Development of interactive visualization program with gesture sensor for ieee1888-based building energy management system
Authors: ปรีชา ขาวสะอาด
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@chula.ac.th
Subjects: การโปรแกรมระบบ
การสร้างมโนภาพ
การใช้พลังงาน
พลังงานไฟฟ้า
ไฟฟ้าแรงสูง
Systems programming (Computer science)
Visualization
Energy consumption
Electric power
High voltages
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาโปรแกรมสร้างมโนภาพเชิงโต้ตอบด้วยตัวรับรู้ท่าทางสำหรับระบบจัดการพลังงานในอาคารบนพื้นฐานของมาตรฐาน~IEEE1888 ในโครงการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานของอาคาร~(CU-BEMS) ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้โปรแกรม processing ในการพัฒนาส่วนแสดงผลหลัก และใช้คลัง(โปรแกรม)~SimpleOpenNi ตรวจจับและติดตามโครงกระดูกของผู้ใช้งานเพื่อรับอินพุตจากผู้ใช้งานสำหรับการโต้ตอบกับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น การสื่อสารระหว่างโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับหน่วยเก็บข้อมูลของโครงการได้นำโพรโทคอล~FETCH มาใช้ในการร้องขอข้อมูลการใช้พลังงานเพื่อนำมาแสดงผล และใช้โพรโทรคอล~WRITE เพื่อส่งข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานไปเก็บไปในหน่วยเก็บข้อมูล โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นถูกติดตั้งร่วมกับหน้าจอขนาด~42 นิ้วพร้อมทั้งตัวรับรู้ท่าทาง~kinect เพื่อการใช้งานจริงในโครงการบริเวณ 3 จุด คือ บริเวณหน้าโถงลิฟท์ของชั้น 12 อาคารเจริญวิศวกรรม~(ตึก4), บริเวณหน้าโถงลิฟท์ของชั้น 13 อาคารเจริญวิศวกรรม~(ตึก4) และบริเวณอาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลจากการทดสอบเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานโปรแกรมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งพบว่าบริเวณหน้าอาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงเป็นพื้นที่ซึ่งระบบถูกกระตุ้นให้เข้าสู่แคนวาสปริยายจากคนที่เดินผ่านมากที่สุดซึ่งมีจำนวน 4950 ครั้ง ตามด้วยบริเวณชั้น 13 อาคารเจริญวิศวกรรมซึ่งมีจำนวน~1561 ครั้ง และบริเวณชั้น~12 อาคารเจริญวิศวกรรมซึ่งมีจำนวน 1301 ครั้ง แต่เมื่อวัดความสนใจโดยเริ่มนับจากคนที่เดินผ่านมาแล้วโบกมือ 1 ครั้งขึ้นไปเพื่อโต้ตอบกับหน้าจอแสดงผลข้อมูลพบว่าบริเวณชั้น 12 อาคารเจริญวิศวกรรมได้รับความสนใจสุงสุดโดยคิดเป็นร้อยละ~54.2 บริเวณชั้น~13 อาคารเจริญวิศวกรรมได้รับความสนใจคิดเป็นจำนวนร้อยละ~44.6 และบริเวณอาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงได้รับความสนใจคิดเป็นจำนวนร้อยละ~37.8 นอกจากนั้นผลจากการทดสอบทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานในการโต้ตอบกับโปรแกรมในแคนวาสต่าง~ๆ ซึ่งประกอบด้วยแคนวาสสรุปรวมสมรรถนะระบบของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, แคนวาสเกมส์แสดงการใช้พลังงาน, แคนวาสข้อมูลประกาศจากทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และแคนวาสแจ้งเตือนการใช้พลังงานไฟฟ้า พบว่าผู้ใช้งานมีการโต้ตอบกับโปรแกรมในแคนวาสของเกมส์แสดงการใช้พลังงานมากที่สุดในทุกจุดติดตั้ง ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบสามารถนำไปใช้ในปรับปรุงและพัฒนาเสถียรภาพของโปรแกรมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นจะมีการติดตั้งชุดอุปกรณ์ร่วมกับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติ่มในบริเวณชั้น 1 ของอาคารภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ของการนำเสนอข้อมูล
Other Abstract: This thesis presents the development of interactive visualization program with gesture sensor for IEEE1888-based building energy management system of the electrical engineering departmental (CU-BEMS) project. The processing language has been used to develop the main program, the SimpleOpenNI library in the processing environment obtaining the coordinate of user skeletons. This data sent to interpret as events and processed in the processing for control application. The communication protocol in this thesis, FETCH protocol is used to request the data for display on the main program for the protocol to send user behavior data the WRITE protocol has been acquire. The developed program is installed with 42-inch display and kinect at the corridor in front of the elevator on 12 and 13 floor of engineering building 4 as well as in front of the high voltage building, the Department of Electrical Engineering, Faculty of Engineering Chulalongkorn University. After tge test, it is resulted there are the possibility to know the user\'s behavior of each installation area. The one-week test from three areas shows that the high voltage building is the most woken up spot by number of users passed through total 4950 times. Following, it reveals the area of engineering building 4 (13 fl) by 1561 times and the area of engineering building 4 (12 fl) by 1301 times. In contrast, in terms of user’s interests comparing in each area, it shows when measured the attention from passing users and waving their hand greater than or equal to 1 time, the 12 floor area is the most interested spot by the waivers total 54.2 %, the 13 floor area 44.6 % and the high voltage building 37.8 % relatively. The user’s behavior on each canvas is another test topic of the study. The developed program includes four main canvas; (1) EE health pad (2) energy game (3) EE information (4)~alarm & alert. Among all canvas, the most interested is “energy game”. All data of the user\'s behavior can be used for further development. Finally, the developed system will be installed to the 1st floor of the electrical engineering department building.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55952
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1428
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570278521.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.