Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร ภู่ประเสริฐ-
dc.contributor.authorวรศิริ เสียงสนั่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-03T03:27:36Z-
dc.date.available2018-01-03T03:27:36Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741439083-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56663-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาขั้นต้นในการสร้างกระบวนการผลิตน้ำประปาแบบใหม่ หรือเรียกว่าระบบไฮบริด ซึ่งประกอบไปด้วยการใช้ไฮโดรไซโคลนทำหน้าที่เป็นถังปฏิกิริยาสำหรับการโคแอกกูเลชัน ฟลอกกูเลชันและการแยกตะกอนในถังเดียวกัน โดยศึกษาถึงตัวแปรต่างๆ ได้แก่ อัตราการจ่ายน้ำชนิดของสารโคแอกกูแลนท์ และความดันของน้ำที่อิ่มตัวด้วยอากาศ ที่ส่งผลต่อการบำบัดน้ำดิบสังเคราะห์ โดยใช้ถังปฏิกิริยาไฮบริด 2 ชนิด คือ ถังปฏิกิริยาทรงกระบอก (ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางสองขนาด) และถังปฏิกิริยาทรงกรวย โดยแต่ละชนิดทำการทดลองแบบแบตซ์และการไหลแบบต่อเนื่อง ผลการวิจัย พบว่า ในการทดลองแบบแบตซ์ ถังปฏิกิริยาทั้ง 2 สามารถสร้างฟลอกชนิดพิเศษที่มีฟองอากาศแทรกอยู่ภายในซึ่งจะทำให้ตะกอนลอยขึ้นได้ โดยที่ชนิดประจุของสารโคแอกกูแลนท์ไม่แสดงผลต่อกลไกที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน แต่สังเกตพบว่าโพลีเมอร์ประจุบวกสร้างฟลอกได้ดีที่สุด สัดส่วนอัตราการไหลของฟองอากาศต่ออัตราการจ่ายน้ำเข้าทั้งหมดที่เหมาะสมต่อการสร้างฟลอกชนิดพิเศษในงานวิจัยนี้ คือ 0.0009 และความดันที่เหมาะสมสำหรับสร้างน้ำที่อิ่มตัวด้วยอากาศคืออย่างน้อย 3.5 บาร์สำหรับถังทรงกระบอก และ 4.0 ขึ้นไปสำหรับถังทรงกรวย ในการทดลองแบบการไหลเวียนต่อเนื่องนั้น ในถังทรงกระบอกเกิดการไหลแบบหมุนวนขึ้นที่อัตราการจ่ายน้ำดิบ 400 ลิตรต่อชั่วโมง และยังพบว่ามีการรบกวนการไหลที่บริเวณจุดเปลี่ยนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถัง ทำให้การไหลแบบหมุนวนอ่อนกำลังลง สำหรับถังทรงกรวยพบว่าเกิดการไหลแบบหมุนวนที่ 300 ลิตรต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพในการลดความขุ่นในการทดลองแบบแบตซ์มีค่าร้อยละ 80 สำหรับถังทรงกระบอกและ ร้อยละ 65- 90 สำหรับถังทรงกรวย การเพิ่มความเร็วของการไหลหมุนวน ทำได้โดยการลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องจ่ายน้ำดิบจาก 0.50 เป็น 0.35 เซนติเมตร โดยจะทำให้ความเร็วแกรเดียนท์เพิ่มขึ้น จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการสร้างฟลอกชนิดพิเศษลดลงเมื่ออัตราการไหลสูงขึ้น เนื่องจากมีการรวมตัวกันเองของฟองอากาศทำให้ฟองอากาศมีขนาดใหญ่เกินไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to study the first step of using hydrocyclones as the reactor to perform coagulation-flocculation, flotation and solid separation in the same time which is called hybrid process. This affects of several parameters such as feed flowrate, type of coagulant and pressurized water pressure were studied. Two typed of geometrical shapes reactor, cylindrical reactor and conical reactor, were tested. In these 2 reactors, there were 2 different operations, batch and continuous. The results from the batch operation were found that both types of reactor could produce the special floc which contained the micro air bubbles inside. The types of coagulants showed no significant effect in term of turbidity decreased but it was obvious that the cationic polymer was the best polymer to produce the special floc. The critical value of air volume flowrate/Inlet flows ratio for producing the special floc in this research was 0.0009. The pressure in the pressurized tank should be at least 3.5 bars for cylindrical hybrid reactor and at least 4.0 bars for conical hybrid reactor in order to float all special floc. In continuous operation, the vortex flow commenced at 400 L/hr by cylindrical hybrid reactor. At the diameter changed point in cylindrical hybrid reactor, the vortex flow was obviously disturbed and decreased water velocity. In conical hybrid reactor, the vortex flow commenced at 300 L/hr. Decreasing the inlet flow diameter from 0.50 to be 0.35 cm. Could improve the vortex flow and increased velocity gradient. On the other hand, when the inlet flow was increased, the amount of special floc decreased because the micro air-bubbles summon up together and increased its size.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.30-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโฟลเทชันen_US
dc.subjectคอลลอยด์en_US
dc.subjectการรวมตะกอนen_US
dc.subjectการจับกลุ่มตะกอนen_US
dc.subjectน้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอนen_US
dc.subjectColloidsen_US
dc.subjectFlotationen_US
dc.subjectFlocculationen_US
dc.subjectCoagulationen_US
dc.subjectSeparators (Machines)en_US
dc.subjectWater -- Purification -- Coagulationen_US
dc.titleกระบวนการไฮบริด : ไฮโดรไซโคลน โคแอกกูเลชัน ฟลอกกูเลชันและการลอยตะกอนในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำen_US
dc.title.alternativeHybrid process : hydrocyclone, coagulation-flocculation and flotation in water treatment processen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaiyaporn.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.30-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vorasiri_si_front.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_ch1.pdf594.56 kBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_ch2.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_ch3.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_ch4.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_ch5.pdf897.35 kBAdobe PDFView/Open
vorasiri_si_back.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.