Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ปิลันธน์โอวาท-
dc.contributor.advisorวิลาสินี อดุลยานนท์-
dc.contributor.authorชเนตตี ทินนาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-06T07:43:37Z-
dc.date.available2018-02-06T07:43:37Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56959-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449-2519 ในประเด็นต่อไปนี้ 1. เพื่อแกะรอยวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงบนพื้นที่สื่อ 2. เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงบนพื้นที่สื่อ 3. เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์กลไกในการทำงานของวาทกรรมเพื่อสื่อความหมายความรุนแรงต่อผู้หญิงในมิติของความไม่ต่อเนื่อง ปฏิบัติการของอำนาจและการต่อสู้ต่อความรุนแรงต่อผู้หญิง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (text) ที่ปรากฏบนพื้นที่การสื่อสารใน นิตยสารผู้หญิง หนังสือพิมพ์วรรณกรรม ภาพยนตร์ และโฆษณาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis) ของ Michel Foucault ร่วมกับทฤษฎีสตรีนิยม และแนวคิดความรุนแรงต่อผู้หญิง ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ปรากฏบนพื้นที่สื่อระหว่างปี พ.ศ. 2449-2519 ได้แก่ วาทกรรมความรุนแรงทางเพศ วาทกรรมพรหมจารี วาทกรรมว่าด้วยการทำแท้ง วาทกรรมว่าด้วยการคุมกำเนิด วาทกรรมความงาม วาทกรรมโสเภณี วาทกรรมผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชายและครอบครัว วาทกรรมความเป็นแม่และเมีย วาทกรรมความรุนแรง ในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว วาทกรรมว่าด้วยการศึกษา และวาทกรรมว่าด้วยอาชีพ การวิเคราะห์วาทกรรมแบบสตรีนิยมสายสื่อที่งานวิจัยเรื่องนี้ได้ต่อยอดขึ้นมา ต้องมองให้เห็นปัจจัยเบื้องหลังวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิง ได้แก่ อุดมการณ์ปิตาธิปไตย ชนชั้น เชื้อชาติ มิติเศรษฐกิจ/ทุนนิยม ความรู้ ประเพณี/วัฒนธรรม/ศีลธรรม การเมือง เพศวิถี อัตลักษณ์ และวาทกรรมชุดต่างๆ ที่มากำกับวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิง ขณะที่ปัจจัยเบื้องหลังที่มีอิทธิพลต่อวาทกรรมภาคต่อสู้ได้แก่ วาทกรรมสตรีนิยมเสรีนิยม วาทกรรมสตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน วาทกรรมสตรีนิยมสายวัฒนธรรมวาทกรรมสตรีนิยมสายสังคมนิยม วาทกรรมสตรีนิยมสายหลังสมัยใหม่ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม วาทกรรมความรัก ความดีชั่วของสตรี วาทกรรมความรู้ ชนชั้น การเมือง วาทกรรมความเสมอภาค วาทกรรมตะวันตก และอุดมการณ์ทุนนิยม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลไกการทำงานของวาทกรรมทั้งวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงและวาทกรรมภาคต่อสู้ที่ปรากฏบนพื้นที่สื่อสะท้อนความไม่ต่อเนื่องของวาทกรรมในลักษณะ การแตกร้าว การปริแตก การสวมรอย การแตกหัก การผันแปร และการกลายพันธุ์ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างก็มีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่สื่อเพื่อผลิตซ้ำวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมในการต่อสู้ต่อความรุนแรงต่อผู้หญิงเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยเสนอให้ใช้แนวคิดความไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ การแตกร้าว การปริแตก การสวมรอย การแตกหัก การผันแปร และการกลายพันธุ์ของวาทกรรม ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่อุดมการณ์หลักในสังคมใช้กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงมาเป็นยุทธวิธีในการสู้กลับและรื้อถอนวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสังคมไทยen_US
dc.description.abstractalternativeThis study is aimed at studying media discourse on violence against women during B.E. 2449-2519 regarding the following issues; 1) to retrace media discourse on violence against women 2) to analyze and criticize factors behind the media discourse on violence against women 3) to analyze and criticize discursive mechanism of violence against women in the dimension of discontinuity, power and resistance. This study is a qualitative research where texts appeared on the space of women magazine, newspaper, literature, movie and advertisement were analyzed, applying the discourse analysis of Michel Foucault, coupled with feminism theory and concept of violence against women. The results show that categories of discourses on violence against women appeared on media spaces during B.E. 2449-2519 are namely discourse on sexual violence, discourse on virginity, discourse on abortion, discourse on contraception, discourse on beauty, discourse on prostitute, discourse on women as the asset of men and family, discourse on motherhood and wifehood, discourse on domestic violence as the matter of privacy, discourse on education and discourse on occupation. The analysis of discourses of feminist media being extended by this research has to search also for factors behind the discourses on violence against women, including patriarchy, class, race, economic dimension/capitalism, knowledge, tradition/culture/morality, politic, sexuality, identity and every single set of discourse controlling discourse on violence against women. Meanwhile, factors influencing to discourse on resistance are discourse on liberal feminism, discourse on radical feminism discourse on cultural feminism, discourse on socialist feminism, discourse on postmodern feminism, concept of social responsibility, discourse on love and conscience of women, discourse on knowledge, class, politic, discourse on equality, discourse on Western and capitalism ideology. Discursive mechanism of violence against women and resistance appeared on media reflected discontinuity of discourse in the form of threshold, rupture, role reversal, break, transformation and mutation. Men and women have been using spaces of media for reproducing discourse on violence against women. Meanwhile, they also take part in resistance to violence against women. The researcher has proposed the concept of discontinuity; threshold, rupture, role reversal, break, transformation and mutation of discourse which is the same way that dominant ideology in society uses to conduct violence against women as a strategy in the resistance and deconstruction of discourse on violence against women in Thai society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2070-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวจนะวิเคราะห์en_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับสตรีen_US
dc.subjectความรุนแรงในสตรีen_US
dc.subjectความรุนแรงในสื่อมวลชน -- ประวัติศาสตร์en_US
dc.subjectสตรีในวรรณคดีen_US
dc.subjectDiscourse analysisen_US
dc.subjectMass media and womenen_US
dc.subjectViolence in womenen_US
dc.subjectViolence in mass media -- Historyen_US
dc.subjectWomen in literatureen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleประวัติศาสตร์วาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสื่อ พ.ศ. 2449-2519en_US
dc.title.alternativeHistory of media discourse on violence against women B.E. 2449-2519en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrawan.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorfcomvcs@phoenix.acc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2070-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanettee_ti_front.pdf12.24 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch1.pdf23.63 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch2.pdf43.7 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch3.pdf18.59 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch4.pdf195.02 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch5.pdf124.94 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_ch6.pdf95.49 MBAdobe PDFView/Open
chanettee_ti_back.pdf21.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.