Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56972
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติการตรวจสอบการเงินและการบัญชี ในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
Other Titles: Study of the state and problems of accounting and financial audit operations in Ratanakosin United Colleges
Authors: วิไล ศรีธนางกูล
Advisors: อุทัย บุญประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Uthai.B@chula.ac.th
Subjects: สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
การสอบบัญชี
Ratanakosin United Colleges
Auditing
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติการตรวจสอบการเงินและการบัญชีในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบการเงินและการบัญชีทั้งหมดในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์และของกรมการฝึกหัดครู สัมภาษณ์หัวหน้าผู้ตรวจสอบจำนวน 8 คน และศึกษาเอกสารจากวิทยาลัยครูและหน่วยงานในกรมรวม 8 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชีในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามหลัก เกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ควรจะเป็น ซึ่งสรุปสาระแต่ละเรื่องได้ดังนี้ ในด้านการสำรวจระบบการควบคุมภายในทางการเงินและการบัญชี ผู้ตรวจสอบส่วนใหญ่ได้ทำการสำรวจเพียงบางเรื่องและบางด้านเท่านั้น ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ผู้ตรวจสอบไม่มีเวลาเพียงพอ ขาดความรู้ มีการสำรวจซ้ำซ้อนกันโดยไม่มีการแบ่งงานและมอบหมายงานให้ชัดเจนก่อนดำเนินการ ส่วนด้านการจัดทำแผนการตรวจสอบมีทั้งแผนการตรวจสอบปกติประจำปีและแผนการตรวจแต่ละครั้งซึ่งรวมถึงแผนการตรวจพิเศษ สาระสำคัญของแผนครอบคลุมเพียงพอแต่ผู้จัดทำทราบข้อมูลซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของการวางแผนการตรวจเพียงบางเรื่องเท่านั้น ปัญหาอุปสรรค์ที่สำคัญคือ ปฏิบัติการตรวจสอบไม่เป็นไปตามแผนขาดข้อมูลพิจารณาวางแผนการตรวจสอบ เวลาของผู้ตรวจสอบวิทยาลัยครูมีน้อยและไม่ตรงกัน สำหรับด้านการดำเนินการตรวจสอบได้พบว่าตรวจสอบไม่ครบทุกเรื่องและไม่ครอบคลุมทุกรายการ เรื่องที่ตรวจทุกครั้ง ได้แก่ เรื่องการรับ-จ่ายเงิน และเรื่องเงินนอกประมาณ วิธีที่ใช้ตรวจสอบคือ การตรวจสอบเอกสาร และการคำนวณตัวเลข ปัญหาอุปสรรคในส่วนนี้คือ จำนวนผู้ตรวจสอบไม่เพียงพอ ผู้ตรวจสอบมีความรู้ในงานตรวจสอบและระเบียบต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ในด้านการรายงานผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีการรายงานผลการตรวจสอบทุกครั้งที่ตรวจสอบ และมีการปรึกษาหารือกับตัวแทน เจ้าหน้าที่รับการตรวจสอบก่อนการรายงานผล สาระสำคัญของรายงานครอบคลุม เพียงพอและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ รายงานผลการตรวจสอบไม่ทันตามกำหนดเวลา ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติบางอย่างไม่ตรงกันในหมู่ผู้ตรวจสอบและกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และขาดความมั่นใจในความรู้สำหรับการเขียนรายงาน ส่วนเรื่องการติดตามผลการตรวจสอบพบว่า มีการติดตามผลการตรวจสอบ และคิดตามโดยตรวจจากการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเมื่อตรวจสอบครั้งต่อไป ปัญหาอุปสรรคในส่วนนี้คือ ผู้ตรวจสอบไม่มีเวลาติดตาม หน่วยงานรับการตรวจสอบไม่ได้แจ้งผลการแก้ไขมาให้ทราบตามเวลาอันสมควร และรายงานผลการตรวจสอบไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควร
Other Abstract: This research was designed to identify the state and problems of accounting and financial audit operations in Ratanakosin United Colleges. Data was collected from all accounting and financial auditors in Ratanakosin United Colleges. The instruments employed were questionnaire, interview guide and document inventory. Findings: The overal accounting and financial audit operations in Ratanakosin United Colleges were not satisfactorily complied with the standard and guidelines officially set up. The study revealed that: (1) The operations of internal accounting and financial control were partially done, due to the auditors’ insufficient time and inadequate knowledge as well as the overlapped inspection which resulted from assigning unclear-up task, no job description for such specific assignment. (2) The auditing programs were regular annual audit and special audit programs, both covered all required areas of audit. Deficiency of the program lied largely on the fact that the program writer did not know all the information necessary for thorough operations. Other important problems were that auditors’ lack of information for auditing plan, lack of time in the part of the auditors and unmatched time schedule and the audit operation plan were not implemented as set. (3) Auditing operations did not cover all needed subjects and items. The most frequently audited were receipts, disbursement and non-budgetary fund by means of thorough document inspection and recomputation. The relevant problems were inadequate number of auditors, insufficient auditing knowledge and general regulation for auditing work. (4) The auditing report had always been written after the consultation among representative and audit officers prior to summitting the reports. The report content covered all necessary details and was satisfactorily done. Problems found were misunderstanding about regulations or practices among auditors and with officers, auditors’ lack of confidence in the knowledge and skills in report writing, and the audit reporting were always behind the schedule. (5) Most of the auditing follow-up had been done at the new series of auditing and the audited divisions did not report their improvement according to the suggestions made within appropriate time. Besides the report of auditing results did not received enough attention from both division administrators and officers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56972
ISBN: 9745698024
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilai_sr_front.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_ch2.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_ch3.pdf797.3 kBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_ch4.pdf12.1 MBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_ch5.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Wilai_sr_back.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.