Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5797
Title: ความสัมพันธ์เชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชน ที่มีเนื้อหารุนแรงและสภาพแวดล้อมทางสังคม ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มวัยรุ่นชาย
Other Titles: The interaction between exposure to violence in mass media and social environment and their relationship with aggressive behavior of male adolescents
Authors: ปนีตา นิตยาพร
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.C@chula.ac.th
Subjects: ความก้าวร้าว
ความก้าวร้าวในวัยรุ่น
การเปิดรับสื่อมวลชน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสื่อมวลชน ที่มีเนื้อหารุนแรงและสภาพแวดล้อมทางสังคม ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มวัยรุ่นชาย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ กลุ่มนักเรียนอาชีวะชาย อายุระหว่าง 16-18 ปี จำนวน 200 คน ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ซึ่งสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ การเปิดรับสื่อมวลชนในที่นี้ จะวิเคราะห์ตามตัวแปร ดังต่อไปนี้ 1. สถาบันครอบครัว: การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด 2. สถาบันครอบครัว: การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 3. สถาบันครอบครัว: การอบรมเลี้ยงดูแบบรักตามใจ 4. สถาบันครอบครัว: ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ 5. สถาบันการศึกษา: ความสัมพันธ์ระหว่างครูอาจารย์และกลุ่มตัวอย่าง 6. กลุ่มเพื่อ: ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับสื่อมวลชนที่มีเนื้อหารุนแรง ไม่ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มตัวอย่างแต่อย่างใด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. การเปิดรับสื่อมวลชนที่มีเนื่อหารุนแรง มีความสัมพันธ์เชิงปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มตัวอย่างเพียงกรณีเดียว คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3. สภาพแวดล้อมทางสังคมในทุกตัวแปร ยกเว้นตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มตัวอย่าง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Other Abstract: To study the interaction between violent-contented mass media exposure and social environment and their relationship with the aggressive behavior of male adolescents. The sample consists of a group of 200 male vocational students at the age of 16-18, whose families are in the lower socio-economic status. In this case, the social environment which is comparably analyzed with violent-contented mass media exposure are as followings: 1. Family : Bringing up by restricted parents 2. Family : Bringing up by neglectful parents 3. Family : Bringing up by doting parents 4. Family : The relationship between parents 5. School : The relationship between the sample group and teachers 6. Peer group : The relationship between the sample group and friends. The findings of the research were as follows: 1. Exposing to the mass media of which content was violent had no direct effect on the sample group's aggressive behavior at 0.05 statistical significant level. 2. There was an interaction relationship between the violent-contented mass media exposure and the social environment, bringing up by neglectful parents with the aggressive behavior of the sample group at 0.05 statistical significant level; whereas, there was no interaction relationship between the mass media and the other 5 factors. 3. All social environment factors except the relationship between parents directly influenced the aggressive behavior of the sample group at 0.05 statistical significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5797
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.285
ISBN: 9743464948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.285
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paneeta.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.