Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58152
Title: ผลฉับพลันของการฟังเพลงไทยที่มีต่อระดับความเครียดและคลื่นสมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: ACUTE EFFECTS OF LISTENING TO THAI MUSIC ON STRESS AND BRAIN WAVES OF CHULALONGKORN UNIVERSITY STUDENTS
Authors: วีรโชติ พึ่งเป็นสุข
Advisors: วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Wipawadee.L@chula.ac.th,wipawadel@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการฟังเพลงไทยที่มีต่อระดับความเครียดและคลื่นสมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 45 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติที่ดีต่อการฟังเพลงไทยตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป จากแบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อเพลงไทยของวัยรุ่น และมีความเครียดระดับปานกลางจากการทดสอบโดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง โรงพยาบาลสวนปรุง กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม มีจำนวนเท่ากันกลุ่มละ 15 คน ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟังเพลงไทยประเภทบรรเลงพร้อมวัดคลื่นสมองเป็นเวลา 25 นาทีและเมื่อจบการฟังเพลงทำการวัดคลื่นสมองต่ออีก 5 นาที ผู้เข้าร่วมการวิจัยในกลุ่มทดลองที่ 2 ฟังเพลงไทยประเภทบรรเลงที่มีการขับร้องพร้อมวัดคลื่นสมองเป็นเวลา 25 นาทีและเมื่อจบการฟังเพลงทำการวัดคลื่นสมองต่ออีก 5 นาที กลุ่มควบคุมนั่งพักพร้อมวัดคลื่นสมองเป็นเวลา 30 นาที ก่อนการทดลองและหลังการทดลองผู้เข้าร่วมการวิจัยทำแบบวัดความเครียดสวนปรุง,วัดอัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิต นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measure) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดของกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลองพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวของกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลองพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดคลื่นสมองอัลฟาของกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลองพบว่าคลื่นสมองอัลฟาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้นคลื่นสมองเบต้าพบว่าไม่แตกต่างกัน 4.ค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดคลื่นสมองอัลฟาของกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบภายในกลุ่ม ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองนาทีที่ 5,10,15,20,25 และนาทีที่ 30 พบว่าค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดคลื่นสมองอัลฟาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้นคลื่นสมองเบต้าพบว่าไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฟังเพลงไทยสามารถลดระดับความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ และยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อคลื่นสมองขณะฟังเพลงส่งผลให้คลื่นสมองอัลฟามีค่าเพิ่มขึ้น
Other Abstract: The purpose of the study was to examine the acute effects of listening to Thai music on stress and brain waves of Chulalongkorn University students. Forty five subjects were selectively sampled to be male and female Chulalongkorn University students, aged between 18-22 years old who scored at least “high” on perception test toward Thai music and “medium” on Suanprung Stress Test. Subjects were divided into two experimental groups and one control group with 15 subjects in each group. The first experimental group was assigned to listen to Thai music without vocal, while the second experimental group was assigned to listen to Thai music with vocal; both sessions were 25 minutes long. The control group sat without listening to Thai music for 30 minutes. The brain waves test required 30 minutes to complete. Before and after the experiment, each subject was required to take the Suanprung Stress Test and was measured heart rates and blood pressures. The obtained data were analyzed by mean, standard deviation, paired t-test, one-way analysis of variance, one-way analysis of variance with repeated measure and Bonferroni method. The significant level was at .05 level. The results revealed that: 1. The average mean score of stress in the first and the second experimental group as well as the control group were found to be significantly different within group and between group at the significant level of .05. 2. The average mean score of heart rates and blood pressures in the first and the second experimental group as well as the control group were found to be significantly different within group at the significant level of .05. While comparing between group were found not to be any significant differences. 3. The average mean score of alpha brain wave after the experiment in the first and second experimental group as well as the control group were found to be statistically different at the significant level of .05 except beta brain wave were found not to be any significant differences. 4. The average mean score of alpha brain wave within group during the experiment at 0, 5th, 10th, 15th, 20th, 25th and 30th in the first and second experimental group as well as the control group were found to be statistically different at the significant level of .05 except beta brain wave were found not to be any significant differences. Conclusion: The results indicated that Thai music listening could reduce the stress level and increase alpha brain wave in Chulalongkorn University students.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58152
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.799
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.799
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678332239.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.