Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58606
Title: การวิเคราะห์ตัวประกอบตัวชี้วัดความปลอดภัยของผู้ป่วย ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Factor analysis of patient safety indicators in accident and emergency department, government hospitals, Bangkok metropolis
Authors: สุภาพร ครุธสอน
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sasinee.W@Chula.ac.th,wwasinee.w@gmail.com
Subjects: โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน
โรงพยาบาล -- มาตรการความปลอดภัย
Hospitals -- Emergency medical services
Hospitals -- Security measures
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวประกอบตัวชี้วัดความปลอดภัยของผู้ป่วยและคัดเลือกตัวแปรที่สามารถอธิบายตัวประกอบตัวชี้วัดความปลอดภัยของผู้ป่วยในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 2 ปีขึ้นไปจำนวน 429 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งพัฒนาจาก 2 ขั้นตอน คือ 1) การทบทวนวรรณกรรม และ 2) จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของอัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ใช้การวิเคราะห์ตัวประกอบ สกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบหลักหมุนแกนตัวประกอบแบบออโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า ตัวประกอบตัวชี้วัดความปลอดภัยของผู้ป่วยในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 10 ตัวประกอบ อธิบายด้วย 67 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 63.770 โดยมีตัวประกอบดังต่อไปนี้ 1) ตัวประกอบที่ 1 สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากทีสุด คือ ร้อยละ 12.497 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 17 ตัวแปร 2) ตัวประกอบที่ 2 จริยธรรมและสิทธิของผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 11.948 มิตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 3) ตัวประกอบที่ 3 การส่งต่อผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 7.023 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 7 ตัวแปร 4) ตัวประกอบที่ 4 การได้รับข้อมูลของผู้ป่วย/ผู้รับบริการสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 6.499 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 9 ตัวแปร 5) ตัวประกอบที่ 5 อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.926 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 6 ตัวแปร 6) ตัวประกอบที่ 6 การประเมนสภาพผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.383 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 5 ตัวแปร 7) ตัวประกอบที่ 7 การดูแลระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.205 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 3 ตัวแปร 8) ตัวประกอบที่ 8 การจัดพื้นที่ในการช่วยเหนือชีวิตผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.722 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 3 ตัวแปร 9) ตัวประกอบที่ 9 การคัดกรองผู้ป่วย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.694 มีตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบ 3 ตัวแปร
Other Abstract: The purposes of this research was to explore the patient safety indicators in accident and emergency department, government hospitals, Bangkok metropolis. The participants were 429 professional nurses who had at least 2 years experience in accident and emergency department. The questionnaire was developed by the researcher in two phase ; 1) integrative the literature review of patient safety, 2) in-depth interviews and content analysis from experts in the area of accident emergency department. The reliability was 0.97 based on Cronbach’s alpha coefficient method. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Principle components extraction and Orthogonal rotation with Varimax method. The research findings were as follows: The were 10 significant factors of patient safety indicators in accident and emergency department that were described by 67 items accounted for 63.770% of variances: 1) Nurse competency of patients care giving was described by 17 items accounted for 12.497% 2) Ethics and patient rights was described by 11 items accounted for 11.948% 3) Referring was described by 7 items accounted for 7.023% 4) Patient care information was described by 9 items accounted for 6. 944% 5) Equipment and medication was described by items accounted for 5.926% 6) Patient assessment was described by 5 items accounted for 4.383% 7) Respiratory care was described by 3 items accounted for 4.205% 8) Resuscitation area designation was described by 3 items accounted for 3.722% 9) Triage was described by 3 items accounted for 3.694% 10) Physical environment was described by 3 items accounted for 3.428%.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58606
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.714
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.714
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supapom_kr_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_ch1.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_ch2.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_ch3.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_ch4.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_ch5.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
supapom_kr_back.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.