Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58648
Title: การพัฒนาแบบจำลองตัวคูณการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะสำหรับประเทศไทย : โมบาย-ไทย
Other Titles: Development of mobile source emission factor model for Thailand : mobile-Thai
Authors: ศิริมา หนูทิม
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wongpun.L@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มลพิษทางอากาศ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ยานพาหนะ -- แง่สิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Environmental engineering
Vehicles -- Environmental aspects
Air--Pollution -- Mathematical models
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองตัวคูณการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะและปรับแก้ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในประเทศไทย เพื่อหาข้อมูลอินพุดที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในแบบจำลองตัวคูณการปล่อยมลพิษที่ได้ทำการปรับแก้แล้ว และเพื่อคำนวณหาตัวคูณการปล่อยมลพิษที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยแหล่งกำเนิดมลพิษที่ใช้ในงานวิจัยคือ แหล่งกำเนิดยานพาหนะ (Mobile Source) ที่ใช้น้ำมันดีเซล เบนซิน แอลพีจี ก๊าซโซฮอล์ และก๊าซธรรมชาติ แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นจะปรับแก้จากแบบจำลอง Mobile6 เวอร์ชัน 2.03 ของ U.S. Environmental Protect Agency (USEPA) โดยที่จะให้ค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษของมลพิษ 4 ตัวหลัก คือ ไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจนและฝุ่นละออง ส่วนที่ต้องปรับแก้ในแบบจำลองมี 3 ส่วน คือ ชนิดของรถ ค่า default ต่าง ๆ และ หน่วยของอินพุตที่จะนำไปใช้ในแบบจำลอง และหน่วยของเอาท์พุตที่ออกจากแบบจำลอง ส่วนอินพุดที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้รันในแบบจำลอง จะต้องเป็นข้อมูลของปีที่ต้องการหาค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษหรือปีที่ใกล้เคียงที่สุด โดยอินพุตมีดังนี้คือ ค่าอุณหภูมิแต่ละชั่วโมง ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่าความดันบรรยากาศ ปริมาณเมฆปกคลุม ค่าความสูงของพื้นที่ ค่า RVP ปริมาณซัลเฟอร์ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ออกซิเจนเนตของเชื้อเพลิง สัดส่วนจำนวนรถยนต์แต่ละประเภทที่จดทะเบียน ระยะทางสะสมของรถแต่ละปี ซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการปรับแก้ และอินพุตที่ใช้ในการรันแบบจำลองจะได้จากหน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมการขนส่งทางบก กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น การวิจัยพบว่า อุณหภูมิ ความเร็วเฉลี่ย จะส่งผลกระทบต่อค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษ HC, CO และ NO[subscript x] ค่าการระเหยของเชื้อเพลิงจะส่งผลกระทบต่อค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษ HC และ CO ความดันบรรยากาศจะส่งผลกระทบต่อค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษ NO[subscript x] เท่านั้น ปริมาณ เมฆปกคลุมและความชื้นสัมพัทธ์จะส่งผลกระทบต่อค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษทั้ง 3 เพียงเล็กน้อย และค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษที่ได้จากการรัน MOBILE-THAI จะมีค่าแตกต่างกับค่าตัวคูณการปล่อยมลพิษที่ได้จากการตรวจวัดจริงของกรมควบคุมมลพิษ แต่มีแนวโน้มไปทางเดียว
Other Abstract: This research aimed to develop mobile source emission factor model for Thailand (MOBILE-THAI) and prepare appropriate local inputs to use in the model. The mobile sources include on-road vehicles using diesel, gasohol, LPG and CNG fuel. The model made changes to the emission factor model MOBILE6 (2.03) of U.S. Environmental Protect Agency (USEPA) which estimates hydrocarbon (HC), carbon monoxide (CO), oxides of nitrogen and particulate matter emission factors. Model development was separated into 3 parts which were types of vehicle, default values and units employed in the model. Inputs which were modified included hourly temperature, relative humidity, barometric pressure, cloud cover, altitude, RVP fuel, sulfur content, oxygenate fuel, fraction of registration vehicle, and annual accumulated mile. All inputs were obtained from government agencies including pollution control department, Land Transport Department and Meteorological Department. The result shows that temperature, average speed has major effects on the emission factor for three pollutants (HC, CO and NO[subscript x]) Reid vapor pressur (RVP) has major effect on HC and CO emission factor, Barometric pressure, Relative humidity has minor effect on NO[subscript x] emission factor and cloud cover has minor effect on the emission for three pollutants. Emission factors from MOBILE-THAI follow the trend of measurement by pollution control department
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58648
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.785
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirima Nootim.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.