Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59605
Title: | CONTINUOUS HYDROTREATING PROCESS OF PALM FATTY ACID DISTILLATE (PFAD) OVER BIMETALLIC NiCu/HZSM-5 CATALYST FOR BIO JET FUEL PRODUCTION |
Other Titles: | กระบวนการไฮโดรทรีทติงแบบต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์จากการกลั่นที่เป็นกรดไขมันปาล์มบนตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่ผสม NiCu/HZSM-5 เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยาน |
Authors: | Phisit Wirikulcharoen |
Advisors: | Suttichai Assabumrungrat Worapon Kiatkittipong |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Engineering |
Advisor's Email: | Suttichai.A@Chula.ac.th,Suttichai.A@chula.ac.th kiatkittipong_w@su.ac.th |
Subjects: | Hydrotreating catalysts Biomass energy Fatty acids ตัวเร่งปฏิกิริยาไฮโดรทรีตติง พลังงานชีวมวล กรดไขมัน |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This research investigated bimetallic NiCu/HZSM-5 catalyst for the production of bio jet fuel via hydrotreating process. The catalysts with different Ni and Cu ratio were characterized by XRD, NH3-TPD, H2-TPR, SEM-EDX and N2-physisorption techniques. Palm fatty acid distillate (PFAD), nonedible by-product from palm oil refining process, was employed as a low-cost feedstock. For catalyst screening, the reaction was performed in an autoclave reactor under batch operation with operating temperature of 375°C, initial H2 pressure of 50 bars and reaction time of 3 h. The results showed that doping Cu could enhance deoxygenation activity while carbon formation was found to be suppressed. 12.5 wt.% Ni and 2.5wt.%Cu doping on HZSM-5 catalyst was found as a suitable catalyst to obtain a high conversion of PFAD (94.8%) with the lowest carbon deposition on the catalyst (approx. 5 wt.%). The selectivity of green fuel is gasoline 14.9%, jet fuel 45.0% and diesel 40.1%. For continuous operation, 12.5 wt.% Ni and 2.5 wt.% Cu were loaded on commercial pellet-type HZSM-5 catalyst. At operating temperature of 400°C, H2 pressure of 40 bar and H2/oil molar ratio of 100, the most suitable LHSV of 2 h-1 condition was found to achieve high conversion (90.1%) with a stable operation. The conversion gradually dropped over 80 h of the operating time (approx. 65.0% conversion) and then suddenly drops to 36.5% conversion at 103 h. |
Other Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมนิกเกิลและทองแดงบนตัวรองรับ HZSM-5 สำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานด้วยกระบวนการไฮโดรทรีทติง ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีอัตราส่วนนิกเกิลและทองแดงต่างกันถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค ดังนี้ เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน โปรแกรมอุณหภูมิเพื่อทดสอบการคายซับของแก๊สแอมโมเนีย โปรแกรมอุณหภูมิเพื่อทดสอบการรีดักชันด้วยแก๊สไฮโดรเจน จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิงและจุลวิเคราะห์ และการดูดซับทางกายภาพด้วยแก๊สไนโตรเจน กรดไขมันปาล์มเป็นส่วนที่ไม่สามารถรับประทานได้และเป็นของเหลือจากกระบวนการกลั่นนํ้ามันปาล์ม ถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการศึกษานี้ สำหรับการคัดเลือกตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ทำปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะภายใต้ อุณหภูมิ 375 องศาเซลเซียส ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 50 บาร์ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงการเติมทองแดงสามารถช่วยการเกิดปฏิกิริยาการดึงออกซิเจนออกและช่วยยับยั้งการก่อตัวของคาร์บอน และพบว่าการเติม นิกเกิลร้อยละ 12.5 โดยน้ำหนัก และ ทองแดงร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก บนตัวรองรับตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 เป็นอัตราส่วนของตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเหมาะสมเพื่อได้รับค่าการเปลี่ยนของกรดไขมันปาล์มสูงถึง ร้อยละ 94.8 กับ มีปริมาณคาร์บอนสะสมอยู่บนตัวเร่งปฏิกิริยาต่ำที่สุดประมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก โดยให้ค่าการเลือกเกิดของผลิตภัณฑ์เป็น แก๊สโซลีน ร้อยละ 14.9 เชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน ร้อยละ 45.0 และ นํ้ามันดีเซล ร้อยละ 40.1 สำหรับการดำเนินการแบบต่อเนื่อง ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลร้อยละ 12.5 โดยน้ำหนัก และ ทองแดงร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ถูกเติมลงบนตัวรองรับตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 ชนิดเม็ดที่จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ที่สภาวะการดำเนินงาน อุณหภูมิ 400 เซลเซียส ความดันแก๊สไฮโดรเจน 40 บาร์ ปริมาณแก็สไฮโดรเจนต่อปริมาณน้ำมัน 100:1 พบว่าค่าอัตราการไหลของสารตั้งต้นต่อปริมาตรของตัวเร่งปฏิกิริยา (LHSV) ที่เหมาะสมเท่ากับ 2 ต่อชั่วโมง ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนสูง (ร้อยละ 90.1) และมีการดำเนินงานที่เสถียร โดยค่าการเปลี่ยนลดลงอย่างช้าๆ จนถึงเวลาที่ดำเนินการไป 80 ชั่วโมงจากเวลาเริ่มต้น (ค่าการเปลี่ยนเท่ากับ ร้อยละ 65.0) และ ลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ ร้อยละ 36.5 ที่เวลา 103 ชั่วโมง |
Description: | Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2017 |
Degree Name: | Master of Engineering |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Chemical Engineering |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59605 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.89 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.89 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870210021.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.