Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59764
Title: | แนวทางการออกแบบปรับปรุง ที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุเขตชุมชนเมืองในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรณีศึกษา ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนคลองพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | DESIGN GUIDELINES AND IMPROVEMENT OF HOUSING,BUILDING AND OUTDOOR SPACES FOR THE ELDERLY LIVING IN CROWN PROPERTY BUREAU AREAS LOCATED IN THE BANGKOK URBAN AREA : A CASE STUDY OF SUP SIN KAO COMMUNITY, SUP SIN MAI COMMUNITY AND KHLONG PHLAPPHLA COMMUNITY, WANG THONGLANG DISTRICT, BANGKOK |
Authors: | เวณิกา ธูปพลทัพ |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย Dwellings -- Design and construction Older people -- Dwellings |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงสร้างทางอายุของประชากรไทยในอดีตได้เปลี่ยนผ่านเป็นโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ชุมชนเมืองไม่สามารถรองรับความต้องการหรือให้ความช่วยเหลือได้ เพราะมีความเป็นเมืองสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาลักษณะทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 2)วิเคราะห์รูปแบบทางกายภาพ พฤติกรรม การใช้งาน และปัญหาการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ 3)เสนอแนะแนวทางออกแบบปรับปรุงทางกายภาพให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ผู้วิจัยเลือกศึกษาพื้นที่ 3 ชุมชนในเขตวังทองหลาง ได้แก่ ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนคลองพลับพลา สัมภาษณ์ผู้สูงอายุจำนวน 110 คน และนำมาคัดเลือกกรณีศึกษา 9 ตัวอย่าง เป็นแนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันยังมีผู้สูงอายุในชุมชนที่ทำอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และคนในครอบครัวอยู่ เนื่องจากฐานะ และรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ติดบ้าน และไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมในพื้นที่ส่วนกลาง กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่จะเป็นการพักผ่อน และทำอาชีพ พื้นที่ที่ผู้สูงอายุใช้เวลาอยู่มากที่สุด คือ โถงหรือห้องนั่งเล่น ระยะเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง พื้นที่สำคัญรองลงมาคือ ห้องนอน และระเบียงหรือเฉลียง ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุร้อยละ 83 ไม่คิดย้ายที่อยู่อาศัย เพราะคุ้นชินกับการอยู่อาศัยในที่เดิม มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อยู่อาศัยกันมานานมากกว่า 30 ปี ในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดการให้ผู้สูงอายุอาศัยในที่เดิม (Aging in place) ในด้านของการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า ผู้สูงอายุที่เคยได้รับอุบัติเหตุในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 31 ส่วนใหญ่ได้รับอุบัติเหตุภายในบ้าน พื้นที่ที่ได้รับอุบัติเหตุบ่อยที่สุด คือ พื้นที่ชานบ้าน เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุออกมานั่งเล่นระหว่างวัน มักเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากมีพื้นต่างระดับ และพื้นผุพัง รองลงมาคือ ห้องน้ำ เนื่องจากพื้นห้องน้ำที่ลื่น และมีธรณีประตู เป็นต้น จากกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 ใน 9 คน พบว่า ผู้สูงอายุนอนบริเวณโถงบ้าน ทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัว และเป็นสัดส่วน ดังนั้น ควรจะต้องมีการกั้นห้องให้ถูกสุขลักษณะ มีส่วนมิดชิด เพื่อใช้กับกิจกรรมการอยู่อาศัยเฉพาะบุคคล จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ควรจัดพื้นที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะบริเวณโถงหรือห้องนั่งเล่นที่ผู้สูงอายุใช้งานบ่อย อีกทั้งเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ควรใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นนำมาออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ และในชุมชนควรมีการส่งเสริมช่างชุมชน เพื่อเป็นตัวกลางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และพื้นที่ภายนอกให้เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนภายในชุมชน |
Other Abstract: | The age structure of the Thai population from the past has been transformed into an elderly population structure. This phenomenon has occurred in Bangkok, in which the community cannot support the needs or help the elderly because of its high urban status. The objectives of this study were: 1) To study the social, economic and housing characteristics of the elderly; 2) To provide analysis of physical patterns, occupational behavior, and occupational problems of the elderly; and 3) To propose physical design for the elderly. The researcher chose to study three areas in Wang Thonglang district: Sup Sin Mai community, Sup Sin Kao community and the Khlong Phlapphla community. The researcher interviewed 110 elderly people and selected the sample as a rotten study. Examples are guidelines for improvements to housing. Elderly people in the community are still living self-employed and with their families because of their low status and income, which is a factor that causes them to stay home without time to do activities in public areas. Most of their daily routine consists of relaxing and working. The area where the elderly spend the most time is the hall area or the living room. The average time is 8 hours, followed by the bedroom and balcony or terrace. According to the interviews, 83 percent of the elderly do not consider housing relocation because they are familiar with the area, have relationships with relatives who live in the area and have lived in the Royal Property for more than 30 years. This is based on the concept of “Aging in Place.” The most accidents that occur for the elderly are inside the house area. The prevalence for the past year was 34 people or 31 percent. The highest area of accidents is the patio area (the area where the elderly go out during the day) because of the different floor levels and floor decay. The second highest is the bathroom because of the slippery bathroom floor, doorsills etc. Based on a case study of the elderly, 5 out of 9 people lived in the living room area of the house. It provides no privacy; therefore, it is important that the room is hygienically clean, in order to be used for individual living activities. The study concluded that it should provide a living space to promote the careers for the elderly and adjust the environment to suit their lifestyles, especially in the hall area or living room in the house, where the elderly often reside. The economy and lifestyle are the main factors affecting the elderly in urban areas. In order to improve the housing, local materials should be used in the community. Community technicians should be promoted as intermediaries to improve housing and external spaces to be sustainable in the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59764 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.699 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.699 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973310825.pdf | 33.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.