Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59975
Title: การปรับแก้สีภาพถ่ายรอยโรคที่ผิวหนังด้วยการควบคุมสมดุลสีเทาโดยใช้แผ่นสีมาตรฐาน
Other Titles: COLOR ADJUSTMENT OF SKIN LESION PHOTOGRAPH BY GRAY BALANCE CONTROLLING USING STANDARD COLOR CHART
Authors: วิศิษฏ์ สมบัติถาวรกุล
Advisors: ชวาล คูร์พิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chawan.K@Chula.ac.th,chawan.k@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการตั้งสมดุลแสงขาวในกล้องดิจิทัลต่อความแตกต่างสีภาพถ่ายรอยโรคผิวหนัง ศึกษาผลของการปรับแก้สีด้วยการควบคุมสมดุลสีเทาและศึกษาผลการวินิจฉัยของแพทย์ต่อความถูกต้องของสีภาพถ่ายรอยโรคผิวหนังที่ผ่านการปรับแก้สีด้วยการควบคุมสมดุลสีเทา กระบวนการวิจัยเริ่มจากสร้างแผ่นสีขึ้นตามแผ่นสีมาตรฐาน X-Rite ColorChecker Classic‎ เพื่อใช้เป็นสีอ้างอิง แล้วใช้กล้องดิจิทัลถ่ายภาพแผ่นสีอ้างอิงนี้โดยตั้งสมดุลแสงขาวแบบ อัตโนมัติ ฟลูออเรสเซนต์ เดย์ไลท์ แฟลช และกำหนดเอง ภายใต้แหล่งแสง 3 ชนิดคือ ฟลูออเรสเซนต์ แฟลชสตูดิโอ และริงแฟลช จากนั้นจึงวิเคราะห์ความแตกต่างสีที่ได้แล้วนำภาพทั้งหมดที่ได้มาปรับแก้สีด้วยการควบคุมสมดุลสีเทาโดยใช้แผ่นสีอ้างอิง หลังจากนั้นจึงหาค่าความแตกต่างสีระหว่างภาพก่อนปรับแก้สีกับหลังปรับแก้สี ต่อจากนั้นจึงถ่ายภาพรอยโรคผิวหนังคู่กับแผ่นสีอ้างอิงจำนวน 62 ภาพแล้วนำภาพที่ได้มาปรับแก้สีด้วยการควบคุมสมดุลสีเทาต่อจากนั้นให้แพทย์ผิวหนังประเมินภาพโดยมองจากจอคอมพิวเตอร์ที่คาริเบทแล้ว จากผลการทดลองการปรับตั้งสมดุลแสงขาวในกล้องเป็นแบบอัตโนมัติจะให้ผลดีที่สุดและเมื่อเปรียบเทียบกับการปรับแก้สีภาพถ่ายโดยการควบคุมสมดุลสีเทาแล้วพบว่าได้ค่าความแตกต่างสีเฉลี่ยก่อนปรับแก้เท่ากับ 4.08 หลังจากทำการปรับสมดุลสีเทาได้ค่าความแตกต่างสีเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และจากที่แพทย์ผิวหนังส่วนใหญ่ประเมินภาพได้ให้คะแนนความถูกต้องของสีกับภาพที่ผ่านการปรับแก้สีด้วยการควบคุมสมดุลสีเทา 4.00 คะแนนและภาพที่ไม่ผ่านการปรับแก้สี 3.45 คะแนน
Other Abstract: This study investigated the influence of white balance setting of digital cameras on color differences of skin lesions, the effects of color adjustment with gray balance control and study the physician's diagnosis of color accuracy, color-corrected skin lesions image with gray balance control. The research procedure began with creating a color chart based on the X-Rite Color Checker Classic which used as a reference color. Then DSLR camera was used to capture the reference chart by setting the camera's white balance to Auto, Fluorescent, Daylight, Flash, and Custom respectively under three types of illuminate such as Fluorescent, Studio Flash, and Ring Flash. After that, the color differences were analyzed and compared.Next color within the images were adjusted by controlling the gray balance using the reference color patch, After that the color differences between before color adjusted and after color adjusted images were compared.The results showed that white balance setting in camera as auto gave the best result. When comparing the result of color adjustment by controlling gray balance, it was found that the mean color differences before color adjustment was 4.08 and after color adjustment was 3.67. Most of the dermatologists evaluated the accurate color reproduction of image by giving score 4.00 to the gray balance control image and 3.45 to the uncontrolled gray balance images.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59975
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.621
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772151023.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.