Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60733
Title: | The comparative effects of moderate intensity exercise and Qigong on lipoprotein-associated phospholipase A2 and endothelial function in metabolic syndrome |
Other Titles: | ผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลางเทียบกับชี่กงต่อไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปส เอทูและการทำหน้าที่ของเยื่อบุผนังหลอดเลือดแดงในกลุ่มอาการเมตาบอลิก |
Authors: | Borwarnluck Thongthawee |
Advisors: | Sompol Saguanrungsirikul Somkiat Sangwatanaroj |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Medicine |
Advisor's Email: | sompol.sa@chula.ac.th Somkiat.S@Chula.ac.th |
Subjects: | Exercise Qi gong Lipoproteins Blood -- Circulation ชี่กง การออกกำลังกาย ไลโปโปรตีน การไหลเวียนเลือด |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This randomized controlled trial examined the effects of moderate intensity exercise and Qigong on level of lipoprotein associated phospholipase A2 (Lp-PLA2) and endothelial function which measured by forearm blood flow in people with metabolic syndrome. Eighty three female participants with metabolic syndrome, age between 40-65 years lived in Bangkok and perimeter were randomly assigned to three groups including 1) moderate intensity exercise (MIE) group (n=28), 2) Qigong group (n=28), and 3) control group with usual activity and health education (n=27). The training group performed training 60 minutes per day, 4 days per week last for 12 week. Data were collected before, 4 week, 8 week, and 12 week after program initiation by measuring the level of Lp-PLA2 and forearm blood flow. Repeated measured ANOVA were used to test the program efficacy. The results revealed that the two exercise groups had statistically significant reduced the level of Lp-PLA2 compared with control group at 12th week (157.53±26.67, 167.25±20.37, and 191.39±50.23 µg/L in MIE, Qigong, and control group respectively). Moreover, the data showed the statistically significant increased forearm blood flow at 8th week compared to the control group as 786.57±155.58, 951.16±144.19, and 630.97±193.24 ml/100 ml tissue in MIE, Qigong, and control group respectively. Also in the 12th week, there was significantly increased the forearm blood flow as 846.47±164.14, 1092.07±172.79, and 638.61±203.81 ml/100 ml tissue in MIE, Qigong, and control group respectively. The findings indicated that after performing the two training program for 12 week, it can reduce the level of Lp-PLA2 and increased endothelial function. Therefore, Qigong is a beneficial program for people with metabolic syndrome since it easy to perform and also benefit to general physical activity that advised for people with metabolic syndrome. |
Other Abstract: | จุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลางเปรียบเทียบ การฝึกชี่กง ต่อระดับไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปสเอทู และการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดแดงซึ่งวัดจากการไหลของเลือดบริเวณแขน ในคนที่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิก การศึกษานี้ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม ในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุระหว่าง 40 ถึง 65 ปีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 83 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม โดย 1) กลุ่มออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลาง จำนวน 28 ราย 2) กลุ่มฝึกชี่กง จำนวน 28 ราย และ 3) กลุ่มควบคุมที่ใช้ชีวิตวิถีเดิมร่วมกับการให้สุขศึกษา จำนวน 27 ราย กลุ่มออกกำลังกายทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับโปรแกรมการฝึก เป็นเวลา 60 นาทีต่อวัน 4 วันต่อสัปดาห์ นาน 12 สัปดาห์ การเก็บรวบรวมข้อมูล 4 ระยะ ได้แก่ ก่อนดำเนินโปรแกรม สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 หลังดำเนินโปรแกรมตามลำดับ โดยการวัดระดับไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปสเอทู และการไหลของเลือดบริเวณแขน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ระดับไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปสเอทูลดลงอย่างมีนัยสำคัญในการฝึกทั้งสองรูปแบบ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 12 สัปดาห์ โดยระดับไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปสเอทู เท่ากับ 157.53±26.67, 167.25±20.37 และ 191.39±50.23 ไมโครกรัมต่อลิตร ในกลุ่มออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลาง กลุ่มฝึกชี่กง และกลุ่มควบคุมตามลำดับ นอกจากนี้พบการไหลของเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 พบว่าการไหลของเลือดบริเวณแขนเพิ่มขึ้นในการฝึกทั้งสองรูปแบบ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยพบว่าการไหลของเลือดบริเวณแขนในสัปดาห์ที่ 8 เป็น 786.57±155.58, 951.16±144.19 และ 630.97±193.24, มิลลิลิตรต่อ 100 มิลลิลิตรของเนื้อเยื่อ ในกลุ่มออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลาง กลุ่มฝึกชี่กง และกลุ่มควบคุมตามลำดับ ส่วนในสัปดาห์ที่ 12 พบการไหลของเลือดบริเวณแขนเป็น 846.47±164.14, 1092.07±172.79 และ 638.61±203.81 มิลลิลิตรต่อ 100 มิลลิลิตรของเนื้อเยื่อ ในกลุ่มออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลาง กลุ่มฝึกชี่กง และกลุ่มควบคุมตามลำดับ จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าภายหลังการฝึกทั้งสองรูปแบบ นาน 12 สัปดาห์สามารถลดระดับไลโปโปรตีนฟอสโฟไลเปสเอทู และเพิ่มการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดแดง ดังนั้นชี่กงจึงเป็นกิจกรรมทางกายอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิก เนื่องจากทำได้ง่ายและมีประโยชน์เทียบเท่ากับรูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำโดยทั่วไป |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Medical Science |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60733 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.278 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.278 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5275364430.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.