Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61032
Title: ปัญหาการประกอบกิจการตลาดสดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร
Authors: ถาปัตย์ โกลาวัลย์
Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Advisors: ทัชชมัย ทองอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: การวางแผนอนามัย
แผงลอย
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดในประเทศไทย และการควบคุมกิจการค้าขายหาบเร่และแผงลอยของประเทศสิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการตลาดสดที่มิชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการประกอบกิจการตลาดสดที่มิชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาได้แก่ ปัญหาการสูญเสียรายได้ของรัฐ และปัญหาด้านสุขลักษณะและอนามัยของตลาดสด ซึ่งแม้กฎหมายไทยจะวางหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ก็ไม่สามารถควบคุมแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางการควบคุมหาบเร่หรือแผงลอยของประเทศสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับการควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดในประเทศไทย โดยประเทศสิงคโปร์กำหนดมาตรการให้ผู้ขายหาบเร่ขายสินค้าได้เฉพาะในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต (Hawker Centres) โดย Hawker Centres ซึ่งเป็นเจ้าของโดยรัฐและภาคเอกชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ (Hawker Department) ดูแลโดยเฉพาะ และผู้ที่จะขายสินค้าใน Hawker Centres ได้ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และขายภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น และการขายของนอก Hawker Centres ถือเป็นความผิดและมีบทลงโทษ มาตรการดังกล่าวเป็นการจัดการควบคุมการค้าขายหาบเร่และแผงลอยที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันปัญหาสุขลักษณะและอนามัย ในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) ประเด็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจตามกฎหมายควบคุมกิจการเพื่อวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของหน่วยงานที่ควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดของประเทศไทย (2) ประเด็นผู้ประกอบการและการขออนุญาตประกอบกิจการเพื่อวิเคราะห์แนวทางการประกอบกิจการตลาดสดโดยหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน (3) ประเด็นบทลงโทษการประกอบกิจการที่มิชอบด้วยกฎหมายเพื่อวิเคราะห์แนวทางการควบคุมทั้งผู้ประกอบการและผู้ขายของในตลาดสด และ (4) ประเด็นการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยของกิจการเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในด้านสุขลักษณะและอนามัยของกิจการตลาดสด ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทั้ง 4 ประเด็นนี้ เพื่อให้ได้แนวทางในการควบคุมกากับการประกอบกิจการตลาดสดของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาเรื่องนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาดังนี้ (1) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการตลาดสดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการตลาดสดและ มีความรู้ด้านสาธารณสุข เพื่อทาหน้าที่กากับควบคุมกิจการตลาดสดทั้งประเทศ (2) ควรมีการจัดตั้งตลาดสดของรัฐในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเช่าสถานที่สาหรับขายของ
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61032
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.58
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.58
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61820 34.pdf975.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.